Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Skin Radiation Dose of Patient Undergoing Chest Radiography in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

ปริมาณรังสีที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่ได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Wichai Witchathorntrakun (วิชัย วิชชาธรตระกูล) 1, Somsak Wongsanon (สมศักดิ์ วงษ์ศานนท์) 2, Banjong Kheonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 3




หลักการและวัตถุประสงค์: จากการนำรังสีเอกซ์มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคนั้น องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยทางรังสีต่างๆได้เสนอแนะให้มีการ      สำรวจปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสี เพื่อเฝ้าระวัง และ ประเมินความเสี่ยงถึงอันตรายที่อาจได้รับจากปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพทางรังสีทรวงอก เมื่อเทียบกับปริมาณรังสีอ้างอิงของหน่วยงานในต่างประเทศ

 วิธีการศึกษา: ทำการวิจัยเชิงสำรวจและทดลอง ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศรี-นครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผิวทางเข้าของผู้ป่วย จากข้อมูลค่าเทคนิคปัจจัยการแผ่รังสีที่ใช้ ในการถ่ายภาพจากผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก   จำนวน 400 ราย ระหว่างเดือน มกราคม - มิถุนายน 2552 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสีของกลุ่มตัวอย่างกับปริมาณรังสีที่ใช้อ้างอิง  

ผลการศึกษา:  พบว่าปริมาณรังสีที่ผิวหนังผู้ป่วย จากการตั้งเทคนิคการฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยในการตรวจวินิจฉัยทรวงอกมีค่าเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 เท่ากับ 0.2 และ 0.23 มิลลิเกรย์ ซึ่งไม่เกินค่าปริมาณรังสีอ้างอิงค่ามาตรฐาน IAEA และงานวิจัยอื่นๆ

สรุป:    ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผิวผู้ป่วยได้รับในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกท่า PA ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่าปริมาณรังสีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าทุกงานวิจัย การศึกษาปริมาณรังสีที่ผิวทางเข้าที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นวิธีที่สามารถวัดได้ง่ายและสะดวก สามารถนำมาปรับการกำหนดค่าเทคนิคในการถ่ายภาพรังสี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยลง และน่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่อาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทั่วไปอื่นๆ  เช่น  การถ่ายภาพรังสีช่องท้อง กระดูกสันหลัง เป็นต้น

คำสำคัญ : ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวหนัง

Rationale and objectives: The implementation of X-rays used in medical benefits within the hospital to assist in the diagnosis bodies controlling radiation safety have suggested that a survey of patients receive from the imaging radiation. For surveillance and risk assessment of hazards that may be the dose that patients receive from the imaging radiation in Chest radiography compared with the reference dose of agencies in different countries.
 
Methods: An analytical descriptive study is done by using radiation units of Srinagarind Hospital Department of Diagnostic Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University and calculating technique to estimate Entrance Skin Dose (ESD) from radiographic procedures.  The data receive from

400  patients using technical factors in imaging of patients to radiation for chest radiography. Started from January - June 2009 and then were analyzed the relationship between the sample radiation dose and reference radiation dose.

 Results: This study found that the entrance skin dose found in skin patients. Set of techniques for patients irradiated for chest radiography. The results revealed that the mean and the third quartile (75th percentile) dose were 0.2 and 0.23 mGy, respectively, which fairly smaller than the dose IAEA standard reference and other research.
Conclusion: The average skin dose patients received in the general chest X-ray imaging. Compared with the reference dose level research found that dose levels lower than any research. Study the radiation dose to the skin of patients received radiation from common imaging method can be measured easily and conveniently. We supposed this study can be adjusted to configure the imaging techniques for recievering  less radiation used as a guide to study the dose patients receive from other general imaging radiation, such as general abdominal imaging or spinal imaging.


Keywords:
Entrance skin dose

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0