Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Retrospective study on the use of bitter melon for type 2 diabetes at Dansai Crown Prince Hospital, Thailand

การศึกษาย้อนหลังการใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ประเทศไทย

Anjana Fuangchan (อัลจนา เฟื่องจันทร์) 1, Tippawadee Seubnukarn (ทิพพาวดี สืบนุการณ์) 2, Darin Jungpattanawadee (ดาริน จึงพัฒนาวดี) 3, Paveena Sonthisombat (ปวีณา สนธิสมบัติ) 4, Kornkanok Ingkaninan (กรกนก อิงคนินันท์) 5, Pinyupa Plianbangchang (ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง) 6, Stuart T. Haines (สจ๊วต เฮนส์) 7




หลักการและวัตถุประสงค์: มะระขี้นกเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ปัจจุบันงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและผลข้างเคียงของการใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย  

วิธีการศึกษา: ผู้ทำการศึกษาได้เก็บข้อมูลการใช้มะระขี้นกย้อนหลังจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2544 ถึง กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยข้อมูลของระดับน้ำตาลในเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลข้างเคียงต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ระหว่างการใช้มะระขี้นก

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้อยถึงปานกลาง (187.8+47.0 มิลิกรัม/เดซิลิตร) จำนวน 82 คน มีประวัติได้รับมะระขี้นกขนาด 800-1,600 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับยาเบาหวานเดิม อาการข้างเคียงที่พบระหว่างการใช้มะระขี้นกมีน้อย ที่พบได้มากที่สุด คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่วนการประเมินความสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกจะพิจารณาในผู้ป่วยจำนวน 42 คน ที่ขณะใช้มะระขี้นกไม่มีการเปลี่ยนแปลงยาเบาหวานเดิม (ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียและ/หรือเมทฟอร์มิน) พบว่า หลังจากใช้มะระขี้นกร่วมกับยาเบาหวานเดิมเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารมีค่าลดลง 26.9+40.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (p<0.001) โดยมีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารอยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย (<130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) 19 คน (ร้อยละ 45.2)

สรุป: ข้อมูลจากการทบทวนการใช้มะระขี้นกในผู้ป่วยเบาหวานย้อนหลังเป็นเวลา 8 ปี แสดงให้เห็นว่า มะระขี้นกอาจเป็นสมุนไพรทางเลือกที่อาจนำมาใช้ร่วมกับยาเบาหวานแผนปัจจุบันในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงระดับน้อยถึงปานกลาง

คำสำคัญ: มะระขี้นก, ระดับน้ำตาลในเลือด, เบาหวาน, ยาลดน้ำตาลในเลือด

 

 Background and Objective: Bitter melon (Momordica charantia) has been widely used as an herbal medicine for lowering blood glucose levels. To date, there have been very few clinical studies to determine the efficacy of bitter melon in diabetes patients. This study was conducted to describe the use of bitter melon in diabetes patient by evaluating the hypoglycemic effect and adverse events at  Dansai Crown Prince Hospital, Thailand.

Methods: This retrospective study reviewed medical records and database of type 2 diabetes patients receiving bitter melon from January, 1999 to February, 2008. Fasting plasma glucose levels, laboratory data and adverse events were extracted from existing records.

Results: Bitter melon 800-1,600 mg/day was added to the treatment regimens of 82 diabetic patients with mildly to moderately uncontrolled blood glucose levels (187.8+47.0 mg/dL). Adverse events were found in few cases. The most common adverse event was hypoglycemia. The blood glucose lowering effect of bitter melon was assessable in 42 patients. After adding bitter melon to the current regimens of the patients (sulfonylureas + metformin) for at least 14 days, fasting plasma glucose was reduced by 26.9+40.8 mg/dL (p<0.001). Atter the addition of bitter melon, 19 patients (45.2%) achieved target therapeutic range of FPG levels.

Conclusion: The retrospective study for the 8 year usage of bitter melon at Dansai Crown Prince Hospital suggested that bitter melon may be a useful adjunctive treatment to decrease blood glucose levels in patients with mildly to moderately uncontrolled diabetes.

Keyword: Momordica charantia, bitter melon, hypoglycemic effect, diabetes mellitus

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

 
Diabetic Control, Proteinnuria and Diabetic Retinopathy in Diabetes Clinic at Petchabun Hospital (การควบคุมเบาหวาน การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะและเบาหนาวเข้าจอประสาทตาในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลเพชรบูรณ์)
 
Self-care Practices of Non-Insulin Dependent Diabetic Patients (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)
 
Self – Care of Non – insulin Dependent Diabetic Patients with Early Diabetic Retinopathy. (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาาทตาระยะเริ่มแรก)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Diabetes
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0