หลักการและวัตถุประสงค์: การวางยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดสมองมักต้องการให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการสลบโดยเร็ว แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางส่วนจำเป็นต้องคาท่อช่วยหายใจภายหลังการผ่าตัด ดังนั้นจึงต้องการศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคาท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับผ่าตัดศัลยกรรมประสาท
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วย 325 ราย ที่มารับการวางยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดทางระบบประสาท ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงเดือนเมษายนถึงธันวาคม 2548 ศึกษาแบบ retrospective descriptive ข้อมูลจากใบบันทึกการวางยาระงับความรู้สึก ใบระเบียนประวัติผู้ป่วยในและนอก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การคาท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยหลังจากผ่าตัดศัลยกรรมประสาท เเละปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์การคาท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยหลังจากผ่าตัดศัลยกรรมประสาทคิดเป็นร้อยละ57.8 (95% CI 52.3, 63.3) โดยพบปัจจัยที่ทำให้การคาท่อช่วยหายใจคือ ASA status มากกว่า 2 เป็นการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน ระยะเวลาผ่าตัดนานกว่า 2 ชั่วโมง การผ่าตัดเนื้องอกสมอง การผ่าตัด aneurysmการให้เลือดระหว่างการผ่าตัด อุณหภูมิกายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 องศาเซลเซียส
สรุป: อุบัติการณ์การคาท่อช่วยหายใจหลังการผ่าตัดศัลยกรรมประสาทสูง มีสาเหตุจากหลายปัจจัยซึ่งบางปัจจัยสามารถป้องกันได้ ดังนั้นการปรับปรุงแผนการวางยาระงับความรู้สึกและการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดอาจนำไปสู่การลดอุบัติการณ์และการพัฒนาคุณภาพของการวางยาระงับความรู้สึก
Background and objectives: Anesthesia technique for neurosurgery always requires rapid recovery post opesative. However, some patients have a delay recovery from anesthesia after the operation which require retained endotracheal tube. Aim of this study is the retained endotracheal tube incidence after neurosurgical anesthesia and the associated factors.
Methods: The authors studied the records (anesthetic records, in-patient records, investigation data) of patients who received anesthesia for neurosurgery at Srinagarind Hospital, Khon Kaen, Thailand during April to December 2004. The authors looked out for the incidence of retained endotracheal tube after neurosurgical anesthesia (we could not remove endotracheal tube in operation room or post anesthetic care unit) and looked for the associated factors (i.e. surgical associated factors, anesthetic associated factors, and patient associated factors).
Results: The authors gathered the information of 325 patients who received anesthesia for neurosurgery. The incidence of the retained endotracheal tube after neurosurgery was 57.8% (95% CI 52.3, 63.3). The incidence was more common in patients who obtained ASA physical status > 2, who had an emergency surgery, the operation time > 2 hrs, tumor removal operations, undergone aneurysm surgeries, multiple blood transfusion, and their body temperature < 35˚C.
Conclusion: This study found the high incidence of the retained endotracheal tube after neurosurgical anesthesia (57.8%). Some conditions could be prevented to reduce the incidence. We could improve postoperative care by controlling preventable causes and appropriate post operation care management for unpreventable cause.
Key words: anesthesia, extubation, neurosurgical anesthesia, postoperative period, retained endotracheal tube . . .
Full text.
|