Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Iron Deficiency Anemia and Energy and Nutrients Intake of Vegetarian Adolescents in Ratchatani Asoke Community, Ubon Ratchathani Province

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และการได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี

Suwanna Maenpuen (สุวรรณา แม่นปืน) 1, Benja Muktabhant (เบญจา มุกตพันธุ์) 2, Yupa Thavornpitak (ยุพา ถาวรพิทักษ์) 3




หลักการ และวัตถุประสงค์ : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่นอาจส่งผลในด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้จากเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 94 คน (ชาย 51 หญิง 43) อายุ 10–19 ปี โดยคัดกรองแล้วไม่เป็นธาลัสซีเมีย การประเมินภาวะโลหิตจางใช้เกณฑ์ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่ามาตรฐานของ WHO ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กใช้เกณฑ์ ซีรั่มเฟอร์ไรติน< 15 µg/l ร่วมกับภาวะโลหิตจาง ส่วนภาวะพร่องธาตุเหล็กใช้เกณฑ์ ซีรั่มเฟอร์ไรติน<15 µg/l และไม่มีภาวะโลหิตจาง ส่วนพลังงานและสารอาหารที่ได้รับประเมินโดยใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 7 วันติดต่อกัน โดยความเพียงพอของพลังงาน และสารอาหารปกติที่ได้รับใช้เกณฑ์ ≥ 70% ของ RDA จดบันทึกทั้งหมด 86 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2552

ผลการศึกษา : ระยะเวลาในการบริโภคอาหารมังสวิรัติของเด็กวัยรุ่นที่ศึกษามีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3 ปี (Q1- Q3= 2-5)  ร้อยละ 89.5 ไม่บริโภคอาหารกลางวัน ส่วนความชุกโดยเฉลี่ยของการเกิดภาวะโลหิตจางพบร้อยละ 42.6 โดยเพศชายมีภาวะโลหิตจาง (ร้อยละ 43.1) ใกล้เคียงกับเพศหญิง (ร้อยละ 41.9) สำหรับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กพบร้อยละ 24.5 โดยพบในเพศหญิง (ร้อยละ 30.2) มากกว่าชาย (ร้อยละ 19.6) ส่วนภาวะพร่องธาตุเหล็กพบโดยเฉลี่ยร้อยละ 18.1 ในเพศชายร้อยละ 15.7 และหญิงร้อยละ 20.9 สำหรับปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่ได้รับ พบว่าเด็กวัยรุ่นได้รับพลังงาน และโปรตีนมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 50.9 (Q1-Q3=40.3-61.2) และ 49.7 (Q1-Q3= 39.1-59.2) ตามลำดับ ส่วนธาตุเหล็กมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 34.4 (Q1-Q3=23.9-48.7) และวิตามินซีมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 72.5 (Q1-Q3= 50.5-108.8) สัดส่วนการกระจายพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เท่ากับร้อยละ 67.4, 11.1 และ 21.5 ของพลังงานทั้งหมด ตามลำดับ

สรุป : เด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติมีความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และภาวะพร่องธาตุเหล็กสูง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิง ดังนั้นควรให้ความสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการเสริมธาตุเหล็ก และเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, ภาวะพร่องธาตุเหล็ก, อาหารมังสวิรัติ, เด็กวัยรุ่น

Background and Objective : Iron deficiency anemia  is  an  important  public health problem especially among children and adolescents who are  still  growing  and  developing. This  cross-sectional  study  aimed  to  determine  the prevalence  of  iron  deficiency  anemia, energy and nutrients intake  among vegetarian adolescents.

Methods : Ninety four vegetarian adolescents (51 males, 43 females) living in the Ratchatani Asoke community, Ubon Ratchathani Province  aged between 10 to 19 years participated in this study. All adolescents were screened for thalassemia by OF and DCIP. Anemia was defined as Hb values lower than the WHO standard. Iron deficiency anemia (IDA) was defined as serum ferritin (SF) <15µg/l concurrent with anemia. Iron depletion (ID) was defined as SF lower than 15µg/l with non anemia. Nutritional intake was calculated from 7 day dietary food records of 86 adolescents. Energy and nutrients’ adolescents were analysed by comparing with Thai recommended dietary allowance (RDA). The data were collected from  February to April 2009.

Results : The median duration of consuming vegetarian diet of the respondents was 3 years (Q1- Q3=2-5). Most of then (89.5%) skipped lunch. The prevalence of anemia among vegetarian adolescents was high at 42.6%, with a similar proportion found for males (43.1%) and females (41.9%). The prevalence of IDA, was 24.5%, with higher proportion among females (30.2%) in comparison to males (19.6%). The prevalence of ID was 18.1%, with 15.7% for males and 20.9% for females. The median amount of energy and protein intake were 50.9% (Q1-Q3= 40.3-61.2) and 49.7% (Q1-Q3= 39.1-59.2) of RDA, respectively. The median amount of iron intake was only 34.4% (Q1-Q3=23.9-48.7) of   RDA and the median vitamin C intake was 72.5% (Q1-Q3 = 50.5-108.8) of RDA. Energy intakes expressed as a percentage of total energy of carbohydrates was found to be 67.4%, 11.1% of protein and 21.5% of fat.                                                  

Conclusion :  The prevalence of IDA and ID among the vegetarian adolescents was high. Special attention in this respect must be given among female adolescents. The ways and means must be found to correct the situation, in advocating diets with high iron content and also iron supplementation might be considered.

Keyword : Iron Deficiency Anemia, Iron Depletion, Vegetarian, Adolescents

 

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Study groups of mother or relatives whose level of education are higher Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children. (กลุ่มมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมปีที่ 4 จะเลี้ยงดูแลเด็กได้ดีกว่ากลุ่มมารดาผู้เลี้ยงดูเด็กที่มี การศึกษาประถมปีที่ 4 หรือต่ำกว่า และศึกษาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและ เด็กวัยเรียนในชนบท )
 
Cold and Cough Medications in Children : Uses and abuses (ยาแก้หวัด แก้ไอเด็ก : Uses and abuses)
 
Clinical Use of Proton Pump Inhibitors in Children (การใช้ยา proton pump inhibitor ทางคลินิกในเด็ก)
 
Study of Weight Excess of Year 1–4 Students’ School Bag at Khon Kaen University Primary Demonstration School (สัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Child Health
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0