Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Management of Hypertension in the General Practice Clinic: Post-Marketing Surveillance with a fixed Combination of Perindopril and Indapamide

การรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป: การประเมินความปลอดภัย อาการไม่พึงประสงค์ และประสิทธิภาพในการใช้ยาสูตรผสมแบบคงที่ของเพอรินโดพริลและอินดาปาไมด์

Kriangsak Phimda (เกรียงศักดิ์ พิมพ์ดา) 1, Roongrueng Limpaiboon (รุ่งเรือง ลิ้มไพบูลย์) 2, Jintana Sattayasai (จินตนา สัตยาศัย) 3




หลักการและวัตถุประสงค์ : ยาลดความดันโลหิตสูตรผสมแบบคงที่ของเพอรินโดพริลและอินดาปาไมด์เป็นยาที่มีการใช้กันทั่วไป คณะผู้ศึกษาต้องการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาสูตรผสมดังกล่าวช่วงระยะสั้นในผู้ป่วยคนไทย

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบพรณาเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความทนต่อยาลดความดันโลหิตสูตรผสมแบบคงที่เพอรินโดพริล/อินดาปาไมด์ (4/1.25 มิลลิกรัม) จากผู้ป่วยนอกจำนวน 476 รายจากโรงพยาบาล 18 แห่งในประเทศไทยระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึง เดือนพฤษภาคม 2552    

ผลการศึกษา :  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 476 ราย เมื่อแยกตามระดับความดันโลหิตจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง (ร้อยละ 39.3) มีระดับความดันโลหิตที่ 145.7/86.1 มม.ปรอท ระยะที่สอง (ร้อยละ 51.5)  มีระดับความดันโลหิตที่ 167.5/98.7 มม.ปรอท  และกลุ่ม prehypertension (ร้อยละ 9.2)  ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับยาสูตรผสมแบบคงที่เพอรินโดพริล/อินดาปาไมด์ (4/1.25 มิลลิกรัม) และประเมินประสิทธิภาพที่ 1 และ 3 เดือน หลังได้รับยา    ร้อยละ 86.6 ของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงระยะที่หนึ่ง สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ภายในเดือนที่ 1 และ 3 โดยความดันโลหิตลดลง[p<0.001]   15.8/7.7 และ 12.1/5.7 มม.ปรอท ตามลำดับ ร้อยละ 88.5 ของผู้ป่วยระยะที่สอง สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ภายในเดือนที่ 1 และ 3 โดยความดันโลหิตลดลง [p<0.001]  25.6/14.1 และ 34.6/19.9 มม.ปรอท ตามลำดับ อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่พบได้ประมาณร้อยละ 0.2 ได้แก่อาการไอแห้ง มึนงง และภาวะโปแทสเซียมในเลือดต่ำ

สรุป :  การลดความดันโลหิตด้วยยาสูตรผสมแบบคงที่ เพอรินโดพริล/อินดาปาไมด์(4/1.25 มิลลิกรัม) มีประสิทธิภาพดีในการนำมารักษาผู้ป่วยคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป โดยผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี 

คำสำคัญ :  ยาลดความดันโลหิตชนิดสูตรผสมแบบคงที่เพอรินโดพริล/อินดาปาไมด์ (4/1.25 มิลลิกรัม) (FCPI),   ยาลดความดันโลหิตสูง, โรคความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูงระยะที่หนึ่ง, ความดันโลหิตสูงระยะที่สอง

 

Background and objectives: A fixed-dose combination of perindopril and indapamide (FCPI) is currently used as antihypertensive agent. We studied the short-term efficacy and safety of FCPI in Thai hypertensive patients.

Methods: The study was a post-marketing surveillance and safety monitoring in a prospective, observational, multicenter trial in ambulatory hypertensive patients recruited in daily hypertension and diabetes clinics in 18 hospitals in Thailand. The study assessed the efficacy and tolerability of FCPI (4/1.25 mg) given once daily for 3 months during October 2008 to May 2009.

Results: Of the 476 hypertensive patients, 39.3 % had stage 1 hypertension with mean baseline BP of 145.7/86.1 mmHg and 51.5 % had stage 2 hypertension with mean baseline BP of 167.5/98.7 mmHg and 9.2 % were prehypertensive. In stage 1 hypertension, BP control was achieved in 86.6% of patients by month 3, and BP reduction was significant at month 1 (12.1/5.7 mmHg [p<0.001]) and at month 3 (15.8/7.7 mmHg [p<0.001]), respectively, compared with baseline. In stage 2 hypertension, BP control was achieved in 88.5% patients by month 3 (132.9/78.8 mmHg), and BP reduction was significant at month 1 (25.6/14.1 mmHg [p<0.001]) and at month 3 (34.6/19.9 mmHg [p<0.001]), respectively, compared with baseline. Overall, blood pressure was below 140/90 mmHg in 74% of patients at month 1. Adverse drug reactions reported in about 0.2 % of patients were dry cough, dizziness and hypokalemia.

Conclusion: The fixed-dose combination of perindopril and indapamide (4/1.25 mg) was effective and well tolerated in daily clinical use for BP control in Thai hypertensive patients.

                           

Keywords: Fixed-dose combination of perindopril and indapamide (FCPI); antihypertensive; hypertension; stage 1 hypertension; stage 2 hypertension; type 2 diabetes

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Cancer Chemoprevention from Dietary Phytochemical (เคมีป้องกันมะเร็ง :กลไกการป้องกันของยาและสารจากธรรมชาติ)
 
Role of Natural Products on Cancer Prevention and Treatment (บทบาทของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในการป้องกันและรักษามะเร็ง)
 
Prescription-Event Monitoring: New Systematic Approach of Adverse Drug Reaction Monitoring to New Drugs (Prescription-Event Monitoring: ระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาใหม่ )
 
The use of Digoxin in Pediatrics (การใช้ยาดิจ๊อกซินในเด็ก)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Pharmacology
 
Hypertension
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0