หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักโภชนาการที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานโภชนาการในโรงพยาบาลระดับจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในนักโภชนาการทุกคนที่ปฏิบัติงานโภชนาการในโรงพยาบาลระดับจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 แห่ง รวม 76 คนโดยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และผลทดสอบนำร่องพบว่าแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช 0.96
ผลการศึกษา : ประชากรมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51±0.37) มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.58 ±0.67) พบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของนักโภชนาการ (p-value.< 0.05) และแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับนักโภชนาการ (r=0.57, p < 0.001) โดยมีปัจจัยจูงใจ (r=0.53, p < 0.001) เรียงตามลำดับได้ดังนี้คือด้านลักษณะงาน ความรับผิดชอบ การยอมรับนับถือ ความสำเร็จในการทำงาน และความก้าวหน้าในตำแหน่ง ส่วนปัจจัยค้ำจุน (r =0.51, p < 0.001) ได้แก่ด้านสถานภาพการปฏิบัติงาน นโยบายและการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การปกครองบังคับบัญชา สำหรับปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะพบว่าร้อยละ 40 มีปัญหาด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร
สรุป ผู้บริหารที่ต้องการให้การปฏิบัติงานของนักโภชนาการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนแรงจูงใจ ในขณะเดียวกันควรแก้ไขปัญหาด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร
คำสำคัญ: แรงจูงใจ นักโภชนาการ มาตรฐานการปฏิบัติงาน
Background and objective: The purpose of this study was to study motivation of nutritionists in northeastern provincial hospital in performing under nutritional working standard.
Methods : This is a Cross sectional descriptive research. The studied population consist of 76 nutritionists working in 19 northeastern provincial hospitals of Thailand. The research instruments were the questionnaires and focus group discussion technique. The validity was checked by 3 experts and with the Cronach coefficient of 0.96.
Results: The motivation affecting the administration was at high level (X=3.51±0.37). The performance under nutritional working standard was found at high level (X=3.58 ±0.67). There was a positive correlation between the motivation and nutritionists who work under the nutritional working standard of the Northeast hospital at medium level (r = 0.57,p < 0.001); motivation factor was (r = 0.53, p-value < 0.001); hygiene factor was found at medium (r =0.51 p < 0.001) Fro the problem and recommendation, The problem of administration and organization development was found 40 percent.
Conclusion: The motivation of nutritionists in Northeastern provincial hospitals who work under the nutritional working standards was in high level. It can be organized in the serial order according to the correlation as follow the characteristic of work, responsibility, the progress of the position, working status, policy and administration and the relationship among the workers in the aspect of administration and control respectively.
Keywords: Motivation, Nutritionist, Working standards
. . .
Full text.
|