หลักการและวัตถุประสงค์ : โรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสมสามารถควบคุมโรคไม่ให้กำเริบได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนหรือส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและเหมาะสมในการควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ และอาศัยในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ด้วยสถิติ Pearsons Chi-square test และ Fishers exact test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ร้อยละ 59.5 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 61-70 ปี (S.D.=11.0) ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวอยู่ในระดับดี เพียงร้อยละ 44.3 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 32.9 ส่วนทัศนคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 63.3 ด้านการบริโภคอาหาร พบว่า ผู้ป่วยบริโภคปลา ผัก และอาหารประเภทนึ่งเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.3, 53.2 และ 25.3 ตามลำดับ ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่าการบริโภคอาหารก่อนและหลังการเกิดโรคมีความแตกต่างกัน คือ ผู้ป่วยบริโภคผัก และปลามากกว่าเดิม และมีการหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันมาก และจากการให้ผู้ป่วยประเมินตนเอง พบว่า ผู้ป่วยยังคงมีปัญหาในการควบคุมอาหาร ร้อยละ 27.8 และมีดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ภาวะโภชนาการเกิน (BMI >22.9) ร้อยละ 60.7 ส่วนค่าเส้นรอบเอว และเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก มากกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 60.7 และ 79.7 เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว พบว่า การออกกำลังกาย และเส้นรอบเอว มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05
สรุป: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวมีความรู้อยู่ในระดับดี และปานกลาง ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ดีขึ้น ภายหลังการเกิดโรค แต่ยังพบว่าผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ และเพิ่มความรุนแรงของโรค ดังนั้นจึงควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะมีผลดีในการควบคุมโรคของผู้ป่วยต่อไป
คำสำคัญ: ความรู้ ทัศนคติ การบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว
Background and Objective: Atherosclerotic heart disease is not a curable disorder. But properly behavior changing food consumption can control disease. The researchers are interested in investigating food consumption behavior and nutritional status of the atherosclerotic heart disease patients in order to gain basic information for changing or promoting proper food consumption behavior to control disease.
Methods: This descriptive study in seventy-nine atherosclerotic heart disease patients who lived in Khon Kaen province and attended the Outpatient Department of Queen Sirikit Heart Center were included in the study. Research instruments were questionnaires and nutritional status assessment form descriptive statistics. The results were presented as percent, pregnancy and mean. The association between defined factors and nutritional status was determined by Pearsons chi-square test and fishers exact test.
Results: Fifty nine point five percent of the atherosclerotic heart disease patients were male with age-range between 61-70 years old. (S.D.=11.0), The quantity of 44.3% had good knowledge whereas 32.9 had fair knowledge. 63.3% had good attitude. Regarding food consumption frequencies, 63.3%, 53.2% and 25.3% consumed fish, vegetable and steaming dishes daily. There was different food consumption comparing before and after being diagnosed. After diagnosis, patients consumed more vegetables and fish as well as avoiding high fat dish. According to patients self assessment report, 27.8% still reported problem on diet control and 60.7% had body mass index as over-nutrition (BMI>22.9). The percentages of 60.7% and 79.7% had waist circumferences and waist-hip ratio greater than normal. To investigate factors associated with over-nutrition in atherosclerotic heart disease patients, it was found that exercise and waist circumference were associated with atherosclerosis heart disease patietnsover-nutrition statiscally significant at p-value <0.05.
Conclusion: The atherosclerotic heart disease patients knowledge were rated as good and fair. The patients were improving their consumption behavior after the diagnosis but there were some overnutrition patients with improper food habits, so additional knowledge should be provided in order to change their habits which will be good for their health status.
Key words: Knowledge, Attitude, Food consumption, Nutritional status, Atherosclerotic heart disease patient
. . .
Full text.
|