Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Natural History of the Common cold with Respect to Day-care Attendance at a University Hospital in Khon Kaen, Thailand

ธรรมชาติของโรคหวัดในเด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดูในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในขอนแก่น

Kasama Bhudhisawasdi (กษมา พุทธิสวัสดิ์) 1, Thitiporn Leelasethe (ธิติพร ลีลาเศรษฐ์) 2, Jamaree Teeratakulpisarn (จามรี ธีรตกุลพิศาล) 3




หลักการและวัตถุประสงค์: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรหลานของบุคลากร แต่ผู้ปกครองส่วนหนึ่งพบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันป่วยด้วยโรคระบบหายใจบ่อยกว่าเด็กทั่วไป การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และธรรมชาติของโรคหวัดในเด็กที่รับการเลี้ยงดูในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา :           เป็นการติดตามอัตราการเกิดโรคหวัด โรคแทรกซ้อน และธรรมชาติของโรคหวัดในเด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดูในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ซึ่งผู้ปกครองเซ็นยินยอมเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 90 คน เป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2546 ถึง ตุลาคม 2547 โดยผู้ปกครองและพี่เลี้ยงเด็กจะเป็นผู้บันทึกอาการของโรคหวัดและอาการร่วมต่างๆในสมุดบันทึกประจำตัวเด็กแต่ละคนทุกวันตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ผู้วิจัยจะตรวจสอบสมุดบันทึก และสัมภาษณ์ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงทุก 2 สัปดาห์เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน

ผลการศึกษา : เด็กที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 90 คน อายุระหว่าง  8 – 53 เดือน (เฉลี่ย 31 + 0.9 เดือน) ป่วยเป็นหวัดเฉลี่ย 12 ครั้ง/คน/ปี เด็กจำนวนร้อยละ 77 เป็นหวัดมากกว่า 8 ครั้ง/ปี แต่ละครั้งที่เป็นหวัดจะมีอาการเฉลี่ย 5 + 5.4 วัน โรคแทรกซ้อนที่พบ คือ ไซนัสอักเสบร้อยละ 12 และหูชั้นกลางอักเสบร้อยละ 0.1 พบอุบัติการณ์สูงในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ พบอัตราการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมร้อยละ 6 การเข้าอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี คือ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเป็นหวัดบ่อยๆ มากกว่า 8 ครั้ง/คน/ปี (Odds ratio, 95% confidence interval; 12, 1.53-95.6)

สรุป : เด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดูในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันมีอุบัติการณ์การเป็นหวัดค่อนข้างสูง อาการส่วนใหญ่หายภายใน 1 สัปดาห์ พบโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือไซนัสอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหวัดบ่อยคือการเข้ารับการเลี้ยงดูตั้งแต่อายุน้อยกว่า 2 ปี  

 

Background and Objective:  Srinagarind Hospital set up a pre-school day-care center to support working parents in the campus. However, some parents personally complained of frequent respiratory illnesses among their children attending day-care.  This study was conducted to determine the incidence and natural history of common cold among children attending Srinagarind Hospital Day-Care Center, Khon Kaen University.

Methods:  This was a one-year cohort comprising 90 children (with parental consent) assessed between August 2003 and October 2004.  All of the respiratory symptoms and interventions of each child were recorded daily by day-care workers and parents on the weekends. The investigators checked for missing data every 2 weeks.

Results:  The enrolled children, between 8 and 53 months of age (mean+SD; 31+0.9 months), suffered an average 12 colds per person-year.  The majority (77%) had more than 8 episodes per year.  The mean duration of each episode was 5 days (SD=5.4).  Complications included sinusitis (12%) and otitis media (0.1%).  The number of children with common colds peaked during the cold season (between November and February).  The rate of inappropriate antibiotic therapy was 6%.  ‘Being under 2 years of age’ was the primary risk factor for getting frequent colds (more than 8 per year; Odds ratio, 95% confidence interval; 12, 1.53-95.6).

Conclusions:  This study demonstrates an increased frequency of upper respiratory tract infections among children attending a day-care center. Simple common colds are usually self-limiting and usually last not more than one week. The most common complication was sinusitis. Children attending day-care before their second birthday are at significant risk of getting frequent colds. 

Key words:  common cold, day-care attendance, natural history

 

     

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Study groups of mother or relatives whose level of education are higher Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children. (กลุ่มมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมปีที่ 4 จะเลี้ยงดูแลเด็กได้ดีกว่ากลุ่มมารดาผู้เลี้ยงดูเด็กที่มี การศึกษาประถมปีที่ 4 หรือต่ำกว่า และศึกษาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและ เด็กวัยเรียนในชนบท )
 
Cold and Cough Medications in Children : Uses and abuses (ยาแก้หวัด แก้ไอเด็ก : Uses and abuses)
 
Clinical Use of Proton Pump Inhibitors in Children (การใช้ยา proton pump inhibitor ทางคลินิกในเด็ก)
 
Study of Weight Excess of Year 1–4 Students’ School Bag at Khon Kaen University Primary Demonstration School (สัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Child Health
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0