Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Inhaled Anesthetic Delivery System Problems During General Anesthesia at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

ปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์บริหารยาดมสลบ ในขณะระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Akkharawat Sinkueakunkit (อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ) 1, Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 2, Tippawan Muknumporn (ทิพยวรรณ มุกนำพร) 3, Pumpuang Kingsangwal (พุ่มพวง กิ่งสังวาล) 4, Penwisa Naewthong (เพ็ญวิสา แนวทอง) 5




หลักการและวัตถุประสงค์: ระหว่างการวางยาสลบ ปัญหาที่เกิดจากระบบบริหารยาดมสลบทำงานผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาถึงอุบัติการณ์และความรุนแรงของปัญหาที่เกิดจากระบบบริหารยาดมสลบทำงานผิดปกติ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพื่อหามาตรการและวิธีป้องกันต่อไป

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบไปข้างหน้า ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ป่วยทุกรายที่มารับการวางยาสลบและผ่าตัด ในปี พ.ศ. 2548 ทั้งหมดได้รับการบันทึกลงในแบบบันทึกการวางยาสลบตามปกติ เมื่อพบปัญหาที่เกิดจากระบบบริหารยาดมสลบ ผู้วางยาสลบจะบันทึกปัญหาเบื้องต้นลงในแบบบันทึกการวางยาสลบ และรีบแจ้งผู้ทำการศึกษาทราบ เพื่อทำการบันทึกรายละเอียดลงในแบบบันทึกอุบัติการณ์ จากนั้นนำไปวิเคราะห์อุบัติการณ์และความรุนแรงของปัญหา แจกแจงโดยใช้ร้อยละ

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยมารับการวางยาสลบและผ่าตัด ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 8,904 คน พบปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์บริหารยาดมสลบ 16 ราย (ร้อยละ 0.18) โดย 1 ใน 3 ของปัญหาเกิดจากเครื่องช่วยหายใจทำงานผิดปกติ ส่วนสาเหตุพบว่า 1 ใน 2 เกิดจากผู้วางยาสลบตรวจสอบเครื่องมือก่อนใช้งานไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระหว่างการเปลี่ยนผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดรายต่อๆ ไป แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อผู้ป่วย

สรุป: พบอุบัติการณ์และความรุนแรงของปัญหานี้ต่ำมาก เนื่องจากมีการตรวจสอบระบบบริหารยาดมสลบก่อนใช้งานทุกวัน มีการบำรุงรักษาเครื่องมือที่สม่ำเสมอ ร่วมกับมีเครื่องมือเฝ้าระวังที่เพียบพร้อมและทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่รุนแรงจากความผิดพลาดของผู้วางยาสลบได้ ดังนั้น จึงควรหาวิธีป้องกันเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวลง เช่น ผู้วางยาสลบต้องตรวจสอบเครื่องมือก่อนใช้งานให้ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะระหว่างการเปลี่ยนผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดรายต่อๆ ไป เป็นต้น

Background and Objective: During general anesthesia, inhaled anesthetic delivery system problems may contribute to anesthetic morbidity and mortality. The magnitude and pattern of these problems had not been established at Srinagarind Hospital. The objectives of this study are to identify the incidence and severity of common problems of inhaled anesthetic delivery system and find strategies for prevention.

Methods: Prospective, descriptive study at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. All patients received general anesthesia in the year 2005.  Details of anesthetic management in all patients were recorded on the anesthetic charts on a routine basis. When inhaled anesthetic delivery system problems had occurred, the anesthesia provider responsible for the cases wrote a short description of the event on the anesthetic charts and reported to the authors to record more details in the incidence form for further analysis about the incidence and severity.

Results: There were 8,904 consecutive general anesthetic patients in 2005. Sixteen inhaled anesthetic delivery system problems were recorded (0.18 %). One-third of problems involved the anesthetic ventilators. Human error was a contributing factor in a half of the cases. No patient suffered any lasting morbidity.    

Conclusions: The incidence of inhaled anesthetic delivery system problems was very low and not severe during the study period. This was probably due to the improvement in routines for preoperative equipment checks, regular equipment calibration and good monitoring system in our hospital. However, there is still a potential for serious problems and strategies to prevent human error should be implemented. In addition, an improved check between cases should be encouraged to reduce the occurrence of the problems.

Keywords: anesthesia, complications, inhaled anesthetic delivery system

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0