หลักการและวัตถุประสงค์: การแพ้ยาซ้ำในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยามาก่อนอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ระดับความรู้ ความเข้าใจต่อการแพ้ยาที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่อความใส่ใจในการแพ้ยา และการพกบัตรแพ้ยาของผู้ป่วย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อการแพ้ยา และพฤติกรรมการพกบัตรแพ้ยาของผู้ป่วยแพ้ยาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนาเป็นเวลา 3 เดือน โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาจากฐานข้อมูลเภสัชกรรม และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น anaphylaxis, maculopapular rash, erythema multiforme, Stevens-Johnson syndrome และ toxic epidermal necrolysis
ผลการศึกษา: จากแบบสอบถามทั้งหมด 288 ฉบับพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 137 คน (ร้อยละ 47.9) มีความรู้ในระดับปานกลาง (mean±S.D. 3.19±1.03; คะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยร้อยละ 38.8 ของผู้ป่วยไม่สามารถระบุชื่อยาที่แพ้ได้ครบถ้วน ส่วนคำถามที่ผู้ป่วยไม่ได้คะแนนมากที่สุด คือ ความสำคัญของบัตรแพ้ยา คือ 245 คน (ร้อยละ 85.7) ผู้ป่วยสามารถระบุวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดการแพ้ยาได้มากที่สุดคือ 247 คน (ร้อยละ 86.4) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.1) พกบัตรแพ้ยาติดตัวทุกครั้ง และร้อยละ 73.3 แสดงบัตรแพ้ยาทุกครั้งที่ไปรับบริการตามสถานพยาบาล นอกจากนี้ผู้ป่วยถึงร้อยละ 40.3 ซื้อยารับประทานเองตามรถขายเร่หรือร้านขายของชำ
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดการแพ้ยา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมากกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถระบุชื่อยาที่แพ้ได้ และละเลยในการพกบัตรแพ้ยาติดตัวเป็นประจำ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง อาจช่วยส่งเสริมความรู้เรื่องการแพ้ยา และการพกบัตรแพ้ยาของผู้ป่วย
คำสำคัญ: การแพ้ยา, บัตรยา, อาการไม่พึงประสงค์จากยา
Background and Objective: The recurrence of drug allergy was classified as preventable drug related problem might result in life- threatening allergic symptoms. The difference in drug allergy knowledge and understanding might lead to an awareness of drug allergy and drug allergy card carried by patients. The aim of the study was to assess the knowledge, understanding of drug allergy and drug allergy card carrying behavior of patients with drug allergy in Srinagarind Hospital.
Methods: A 3-month cross- sectional descriptive study was conducted. Self- administered questionnaires was distributed by post to drug allergic patients from pharmacy database and patients who were diagnosed with anaphylaxis, maculopapular rash, erythema multiforme, Stevens- Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis.
Results: A total of 288 questionnaires were evaluated. There were 137 patients (47.9%) had moderate knowledge level (mean±S.D. 3.19±1.03; total score of five). Moreover, 38.8% of the patients were unable to address the name of allergic drug and 85.7% of them answered the importance of drug allergy card incorrectly. The management of drug allergy was answered correctly in 86.4% of the patients. The majority of patients (76.1%) always carried their drug allergy cards and about 73.3% of the patient always showed their drug allergy card at health care services. Furthermore, 40.3% of the patients had received their drugs from non- healthcare professionals.
Conclusion: Most of the patients knew the management of drug allergy. However, one- third of patients failed to recall the name of allergic drug and neglected to carry drug allergy card all the time. The continuing patient education might improve drug allergy knowledge and drug allergy card carrying behavior.
Keywords: knowledge, understanding, behavior, drug allergy, drug allergy card
. . .
Full text.
|