Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Thai-elderly; Mahasarakham Province Context

ผู้สูงอายุไทย : บริบทของจังหวัดมหาสารคาม

Somporn Pothinam (สมพร โพธินาม) 1, Phit Saensak (พิศ แสนศักดิ์) 2, Jongkol Poonsawat (จงกล พูลสวัสดิ์) 3, Wirat Pansila (วิรัตน์ ปานศิลา) 4, Chanisa Pansila (ชนิศา ปานศิลา) 5, Chanuttha Ploylearmsang (ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง) 6, Siritree Suttajit (ศิริตรี สุทธจิตต์) 7, Teabpaluck Sirithanawuttichai (เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย) 8, Natchaporn Pichinarong (ณัฐจาภรณ์ พิชัยณรงค์) 9




หลักการและ วัตถุประสงค์ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุไทย มีจำนวนและอายุเฉลี่ยมากขึ้น ผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระทบต่อโครงสร้างประชากร ภาวะพึ่งพิง ระบบบริการสุขภาพ จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้สูงอายุเช่นกัน การทบทวนเอกสารช่วยทำให้เกิดองค์ความรู้ เข้าใจ และเห็นช่องว่างของงานวิจัยต่างๆที่ดำเนินการผ่านมา เพื่อทบทวนการศึกษาวิจัยในผู้สูงอายุจังหวัดมหาสารคาม รวม 6 ด้าน คือ ข้อมูลทั่วไป  ครอบครัวกับผู้สูงอายุ ศักยภาพการมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และ สังคม คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผล ต่อคุณภาพชีวิต ความสุขของผู้สูงอายุรวมถึงระบบสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ

วิธีการศึกษา  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยรวบรวมผลการวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคามทุกเรื่องในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีจำนวน 6 เรื่อง จากคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นหญิงหม้าย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้ในระดับต่ำและมีหนี้สิน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้จากบุตรหลานและเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ นอกจากนี้พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง ด้านบริบทของผู้สูงอายุต่อครอบครัวพบว่า ร้อยละ 70.9 เป็นหัวหน้าครอบครัวโดยมีบทบาทในครอบครัวระดับปานกลาง แต่ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในระดับสูงและเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านของการเป็นผู้นำ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของภาคอีสาน รวมถึง หัตถกรรมและการสอน ด้านคุณภาพชีวิตพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ผู้สูงอายุรับรู้คุณภาพชีวิต ความพึงพอใจในชีวิตและสุขภาพทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คือการมีส่วนร่วมในสังคม ชุมชน และครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตัวเอง รวมถึงรายได้ เมื่อพิจารณาด้านความสุขพบว่า ผู้สูงอายุมีระดับของความสุขในระดับสูงเช่นกัน ปัจจัยที่มีผลต่อความสุข คือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกชมรมต่างๆ และมีการเข้าร่วมชมรมในชุมชนของตนเอง และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ในด้านของการรับรู้สวัสดิการของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ มีความเข้าใจในด้านการได้รับเบี้ยยังชีพ และสิทธิการรักษาพยาบาลในระดับดี ผู้สูงอายุในเขตชนบท และส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน และสุขภาพ

สรุป  มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุจังหวัดมหาสารคาม มีโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุมีศักยภาพสูงและมีคุณภาพชีวิตดี มีความพึงพอใจในชีวิต มีความสุขในระดับที่สูง ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน การรับรู้ทางสวัสดิการสังคมด้านอื่นๆในผู้สูงอายุในเขตชนบทมากขึ้น

 

Background and Objectives :  At  present,  elderly Thais  rapidly  grow  both  in  number  and  longevity of  life which  effect    Thai  population  structure,  dependent  ratio,  and  health  services  system.  Mahasarakham  province,  no  doubt  has  been  confronted  these  problems. The  Mahasarakham  elderly  studies  review  the  relevance  to  understanding  the  elderly  in  Mahasarakham  context  including  the exploration of  research  gaps  and  strategy  in regards  to  health  improving  among  the  elderly. To review  Mahasarakham  elderly  studies  we divided into  6  parts;  (1)  general  information,(2)  elderly  and  their  family,  (3)  the  elderly  potential,  (4)  quality  of  life,  satisfaction  and  factors  related,  (5)  the  elderly  happiness  and  (6)  the  elderly  social  welfare.

Methods :  Cross – sectional  descriptive  study  by  reviewing  all  of  Mahasarakham  elderly  studies  in  2007  in  Faculty  of  Medicine,  Mahasarakham  University.Total  studies  were  6  parts  which  all  of  these  are  cross -  sectional  study.

Results  :  Most  of  the  elderly  are  female,  widow,  completed  primary  school, had  low  income  since  the childhood  by  government  standard.  Most  of  the  elders   perceived  their  health  status  as  moderate  level  and  more  than  half  of  the  elders  had  chronic  diseases.  However,  there  were  70.9%  of  all  elderly  samples  who were  family  leaders  and  their  family  role  were  moderate  level.  This  study  found  the  elderly were highly respected in cultural Thai level,  especially  in  the  areas  of  Thai  culture,  Thai  and  E-san  tradition  and  handicrafts.  This  study  also  found  the  elderly  perceived  their  quality  of  life  and  life  satisfaction  as in good  level,  factors  related  were  community  participation,  family  relationship,  health  status,  self  esteem.  The  same  as  happiness  level,  the  elderly  perceived  happiness   level  as  high  level,  factors  related  were  self  esteem.  education  level,  community  club  member,  community  participation  and  number  of  family  member.  Besides,  the  elderly  perceived  their  social  welfare  in  part  of  government  living  allowance  and  health  insurance as high  as  well.  This  study  also  found  urban  elderly  perceived  the  social   welfare  level  better  than  rural  elderly.  Most of  the    elderly  needs  social  welfare  in  aspects  of  financial  and  health  support.

Conclusion  :  Even  through  more  than  half of  Mahasarakham  elderly  have  chronic  diseases,  this  study  found  the  elderly  potentially  perceived  their  quality  of  life,  life  satisfaction,  and  happiness  as  in high  level  and  important  factors  related  such as  community  participation were  satisfactory.  The  elderly  perceived well of  social  welfare  in  respects  to  government  living  allowance  and  health  insurance.  Improving  the  elderly  health  is needed  to  explore  as  well  as  educate  the  elderly  in  the  area  of  social  welfare  especially  among  rural  elderly.

Keywords: Thai-elderly, quality of life

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0