Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Effectiveness of Spinal Morphine Plus Intravenous Patient-Controlled Analgesia on Postoperative Pain Controlled at Srinagarind Hospital

ผลการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยวิธีฉีดมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังร่วมกับการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวผู้ป่วยเอง ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 1, Janjira Kuanratikul (จันทร์จิรา ควรรติกุล) 2, Somboon Thienthong (สมบูรณ์ เทียนทอง) 3, Sasiwimol Ponjanyakul (ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล) 4, Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 5, Wimonrat Sriraj (วิมลรัตน์ ศรีราช) 6




หลักการและวัตถุประสงค์ : การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการระงับปวดโดยฉีดยามอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังร่วมกับใช้เครื่องควบคุมยาระงับปวดทางหลอดเลือดดำด้วยตัวผู้ป่วยเอง (Spinal MO + IV PCA) ได้ผลดีกว่าการฉีดยาระงับปวดทางหลอดเลือดดำเป็นครั้ง หรือใช้เครื่องควบคุมยาระงับปวดทางหลอดเลือดดำด้วยตัวผู้ป่วยเองเพียงอย่างเดียว   ภาควิชาวิสัญญีวิทยา ได้มีการทำ spinal MO + IV PCA มาตั้งแต่ปี พ.. 2547 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องการศึกษาผลการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยวิธีฉีดยามอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังร่วมกับให้ผู้ป่วยใช้เครื่องควบคุมยาระงับปวดด้วยตัวเอง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากแบบบันทึกการระงับปวดในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยวิธี Spinal MO + IV PCA ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2547 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2549 ข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ อายุ เพศ ชนิดการผ่าตัด ขนาดยามอร์ฟีนที่ฉีดเข้าช่องไขสันหลัง ระดับความปวดในวันแรกหลังผ่าตัดทั้งในขณะพักและขณะเคลื่อนไหว อาการแทรกซ้อน ความพึงพอใจในการระงับปวดของผู้ป่วย และ ประสิทธิภาพในการระงับปวดหลังผ่าตัด โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ได้ผลดีคือไม่ปวด ถึงปวดเล็กน้อย (pain score 0-4) และ ได้ผลไม่ดี คือปวดปานกลางถึงปวดมาก (pain score 5-10)

ผลการศึกษา :  มีผู้ป่วยที่ได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยวิธี Spinal MO + IV PCA จำนวน 260 คน อายุเฉลี่ย 49.6 + 10.5 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 69 ได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง (ไม่นับรวมผ่าตัดคลอดและผ่าตัดไต) ขนาดยามอร์ฟีน 0.3 มก. คือปริมาณที่นิยมใช้มากที่สุดที่ใช้ฉีดเข้าช่องไขสันหลังถึงร้อยละ 57 ทั้งนี้ขนาดยายังขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด  ประสิทธิภาพในการระงับปวดด้วยวิธีนี้พบว่าในขณะผู้ป่วยพักได้ผลดี ร้อยละ 64.2  ส่วนในขณะผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวได้ผลดีร้อยละ 35.4   ไม่พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนด้านกดการหายใจ แต่พบอาการคลื่นไส้รุนแรงร้อยละ 1.5  ผู้ป่วยร้อยละ 92 พอใจในวิธีการระงับปวดที่ได้รับ

สรุป :  การใช้วิธีฉีดยามอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังร่วมกับวิธีให้ผู้ป่วยใช้เครื่องควบคุมยาระงับปวดด้วยตัวเองในวันแรกหลังการผ่าตัด ได้ผลดีในการระงับปวดในขณะผู้ป่วยพัก แต่การระงับปวดในขณะที่ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

Background and Objective: Effective pain control can minimize post operative complications especially for pulmonary complications. Previous reports showed pain management using combined spinal morphine (spinal MO) plus patient-controlled analgesia (IV PCA) was more effective than either intravenous or PCA alone. This technique had been conducted in our institute since 2004 but its effect on postoperative pain control was not reported. Aim to study the effect of spinal morphine plus  IV PCA on postoperative pain control

Methods: The author conducted this descriptive study at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, by retrospectively reviewing all medical record of surgical patients who received spinal morphine plus PCA for postoperative analgesia between January 2005 and December 2006. Data extracted were age, gender, types of operation, dosage of spinal morphine, pain scores (both at rest and during movement) on the first post operative day, adverse effects, and patient’s satisfaction.Effect of the pain control were classified as; effective (pain score 0-4) and ineffective (pain score 5-10)

Results: Two hundred and sixty two records were analyzed. There were 63% female with a mean age of 49.6±10.5 years. Most of patients (69%) underwent abdominal surgery (excluded cesarean section and kidney surgery). Median dosage of spinal morphine was 0.3 mg depending on types of surgery. There were 62% of cases received effective analgesia at rest whereas 35.4% received while movement. No respiratory depression was reported but 1.5% of patients experienced severe nausea and vomiting. However, 92% of patients were satisfied with the treatment received.  

Conclusion: Spinal morphine plus PCA is effective for pain control in the first postoperative day only for at rest, but not during movement.

 

Keywords: postoperative pain, spinal morphine, patient-controlled analgesia

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0