หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้มีผู้ป่วยสูงอายุมารับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นด้วย แต่การระงับปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อจำกัดหลายประการที่อาจทำให้การระงับปวดหลังผ่าตัดไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ซึ่งข้อมูลการระงับปวดหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์นั้นยังไม่เคยทำการศึกษามาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการระงับปวดและผลการระงับปวดในวันแรกหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการศึกษา: Cross-sectional descriptive study
สถานที่ทำการศึกษา: ห้องพักฟื้นและหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยอายุ > 65 ปี ที่มารับการผ่าตัดในเวลาราชการโดยรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและสอบถามข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการระงับปวด ระดับความปวดในขณะพัก ผลการระงับปวดโดยรวม ความพึงพอใจในการระงับปวดที่ได้รับ และอาการแทรกซ้อนจากการระงับปวด
ผลการศึกษา: สอบถามผู้ป่วยทั้งหมด 91 ราย อายุเฉลี่ย 72.0 + 5.7 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 ได้รับการวางยาสลบ และร้อยละ 56.1 ได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดร้อยละ 63.8 ได้รับการฉีดยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำ มีเพียงร้อยละ 20.9 ที่ได้รับบริการจากหน่วยระงับปวดโดยการใช้เครื่อง PCA การประเมินความปวดด้วย numerical rating scale ในขณะแรกรับที่ห้องพักฟื้น ก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย และที่หอผู้ป่วยหลังผ่าตัดวันแรก ทำได้ระหว่างร้อยละ 62-95.6 (เฉลี่ยร้อยละ 75.5) โดยพบผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับปานกลางถึงปวดมากร้อยละ 29.4, 23.1 และ 18.8 ตามลำดับ มีผู้ป่วยร้อยละ 8.9 บอกว่าการระงับปวดไม่ได้ผลเลย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่ไม่พอใจในการระงับปวดที่ได้รับ ส่วนอาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือคลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 12.2)
สรุป: ผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดพบมีอาการปวดปานกลางถึงปวดมาก ร้อยละ 29.4 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการฉีดยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำ มีเพียงร้อยละ 20.9 เท่านั้นที่ได้รับการระงับปวดจากหน่วยระงับปวดของภาควิชาวิสัญญีวิทยา
Background: Recently, the proportion of elderly persons is rising worldwide leading to increase amount of surgical patients of this age group. The evidences about pain control clearly supported that elderly persons received under-treatment. Whatever, data from our institute is limited and needs to be determined.
Objective: To survey postoperative pain management and its outcomes in elderly patients at Srinagarind Hospital.
Study design: Cross-sectional descriptive study.
Setting: Post anesthesia care unit (PACU) and surgical wards, Srinagarind Hospital.
Materials and Methods: Pain management and its outcomes were evaluated in patients over 65 years old underwent elective general surgery for a two months period. Data were collected from medical records and from patient assessment including method of pain treatment, pain intensity (at rest), pain relief, patients satisfaction and side effects of the treatment.
Results: Ninety-one patients with the mean age of 72.0 + 5.7 years were evaluated. Most of them (72.5%) received general anesthesia and 56.1% underwent intra-abdominal surgery. Intravenous injection was the most common technique used for pain control (63.8%) while PCA pump was used about 20.9%. Pain assessment using NRS was achieved in between 62-96% (average 76%). The proportion of patients experienced moderate to severe pain during arrival at the PACU, at discharged from the PACU and at 24 hours after operation were 29.4%, 23.1% and 18.8%, respectively. The most common side effect was nausea and vomiting (12.2%). Only 8.9% of patients reported that pain was not relief and 1.1% of patients unsatisfied with the treatment received.
Conclusion: About 29.4% of the elderly patients experienced moderate to severe pain after surgery.
Most of them received pain treatment by intravenous injection while only 20.9% received acute pain service from the acute pain unit of Anesthesiology department.
Keyword: older patients, postoperative pain management
. . .
Full text.
|