Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Study of Weight Excess of Year 1–4 Students’ School Bag at Khon Kaen University Primary Demonstration School

สัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม

Watchara Ruttanaseeha (วัชระ รัตนสีหา) 1, Arsarn Sahunin (อาสาฬห์ สหุนิล) 2, Panida Supad (พนิดา สุปัด) 3, Padcha Chuasathuchon (พัดชา เชื้อสาธุชน) 4, Raweewan Thanetphonkul (รวีวรรณ ธเนศพลกุล) 5, Renuka Techabunyarat (เรนุกา เตชะบุณยรัตน์) 6, Ekkapong Parima (เอกพงษ์ ปริมา) 7, Pattapong Kessomboon (ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์) 8, Narumon Sinsupan (นฤมล สินสุพรรณ) 9




หลักการและเหตุผล: ประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันภาพของนักเรียนที่ต้องแบกกระเป๋านักเรียนใบใหญ่ไปโรงเรียนทุกวัน คงเป็นภาพที่ปรากฏต่อสายตาของหลายๆ คน การแบกหนังสือที่หนักเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียนในอนาคต ซึ่งตามมาตรฐานสากลแนะนำว่าน้ำหนักกระเป๋านักเรียนไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว  และเรื่องนี้เคยเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่ระยะหนึ่ง แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมในจังหวัดขอนแก่น  คณะผู้วิจัยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในประเด็นดังกล่าว

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) สัดส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–4 ที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว 2) ความสัมพันธ์เบื้องต้นของปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักกระเป๋านักเรียนเกินมาตรฐาน

รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม

ประชากรศึกษาและกลุ่มตัวอย่าง: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1–4 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม จำนวน 635 คน ซึ่งจากการคำนวณและสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบได้ขนาดตัวอย่าง คือ 212 คน

เครื่องมือ: 1) เครื่องชั่งมาตรฐาน 2) แบบสัมภาษณ์ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยสองส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไป และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ 3) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมคณะผู้วิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล: ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS-PC Version 15 และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา  คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ ร่วมกับสถิติเชิงวิเคราะห์ Pearson Chi-square, Student T-test, Mann-Whitney U test, Odds ratio และ Multiple logistic regression โดย p-value < 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัย:  อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามคือ ร้อยละ 99.1 (210 /212 ) สัดส่วนผลการวิจัยหลักนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวมีถึง ร้อยละ 81.4  (95%CI: 75.4,  86.3) โดยสัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวมี ร้อยละ 16.2 (95%CI:11.6, 22.0) การวิเคราะห์เบื้องต้นของปัจจัยที่สัมพันธ์กับน้ำหนักกระเป๋าเกินมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ เพศหญิงและกระเป๋าชนิดล้อลาก (adj.Ors 2.6และ14.2ตามลำดับ) นักเรียนทั้งหมดที่มีอาการปวดมีถึง ร้อยละ30.0 (95%CI:24.0, 36.6) แต่พบว่าไม่มีปัจจัยใดที่สัมพันธ์กับอาการปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) นักเรียนส่วนใหญ่ใช้กระเป๋าล้อลากมากที่สุด (ร้อยละ 58.1)  ซึ่งสาเหตุที่นักเรียนใช้กระเป๋าล้อลากมากที่สุด เพราะ 1) กระเป๋าสะพายหลังหนักเกินไป (ร้อยละ 61.5)   2) ผู้ปกครองซื้อให้เนื่องจากกังวลเรื่องสุขภาพ (ร้อยละ 49.2)  3) กระเป๋านักเรียนมีความจุมากขึ้นกว่ากระเป๋าสะพายหลัง (ร้อยละ 23.8) 4)  กระเป๋าล้อลากรูปแบบสวย (ร้อยละ 15.6)

สรุป:  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–4 โดยภาพรวมพบว่า 4 ใน 5 ใช้กระเป๋าน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยเด็กผู้หญิงใช้กระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมากกว่าเด็กผู้ชายและครึ่งหนึ่งของนักเรียนใช้กระเป๋าล้อลากแทนกระเป๋าสะพายหลัง  ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ากระเป๋าสะพายหลังหนักเกินไป ดังนั้นจากจำนวนนักเรียนที่ใช้กระเป๋าล้อลากมากขึ้น จึงเป็นประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องอาจนำไปศึกษาถึงผลดีผลเสียในด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพต่อไป

Background: In Thailand from the past until now we saw that Thai students usually carry huge bags to school exceeding the recommended bag weight of less than 10% of body weight. This overloading adversely affects health of students.  The issue has become of public interest for a while, but no follow-up studies have been done. Therefore, we are motivated to conduct such a research in Khon Kaen. 

Objectives: To study 1) proportion of students with bag weight exceeding the recommended weight at the Khon Kaen University primary demonstration school   2) the factors related to the excessive bag weight.

Study design: A descriptive study was conducted.

Setting: The Demonstration school, Khon Kaen University.

Study population and sample: The samples of 212 students were randomly selected from 635 study population.  

Tools: A calibrated digital weighing scale, an interviewed questionnaire and direct observation were applied to collect the data.

Data analysis: SPSS-PC version 15 was used to analyze the frequencies, percentage, mean (SD), median (IQR) and 95% Confidence Interval Student T – test, Mann-Whitney U test, Pearson Chi – square and Multiple logistic regression were also used to analyze the association between the excessive school bag weight and some interesting factors.

Results: The response rate was 99.1% (210/212). showed that 81% (95%CI: 75.4, 86.3) of the students carried school bags that weighted ≥ 10 % of their body weights. In addition, 16.2% (95%CI: 11.6, 22.0) of the students carried school bags that weighted at least 20 % of their body weights.  The variables that were statistically significantly related to the excessive bag weights were female and wheeled bag (adj.ORs were 2.6 and 14.2 respectively). Musculoskeletal symptoms were reported by 30% (95%CI: 24.0, 36.6) of the students. No factor had statistically significant (p-value< 0.05) association with the pain. Concerning bag types, 58.1% used wheeled bag. The most common  reason for using wheeled bag was concerns about the bag weight (61.5%), a gift from parents (49.2%), carrying capacity of wheeled bag (23.8%) and fashioned life style (15.6%).

Conclusion: The problem of overloaded school bags is still existed. Eighty one per cent of the students carried school bags that weighted exceeding the recommended weight. Girls tended to carry heavier bag than boys. Wheeled bags were associated with the excessive weight. Safety and long term health effects of using heavy school bags should be studied in the future.

Keywords:  school bag, weight excess

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Study groups of mother or relatives whose level of education are higher Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children. (กลุ่มมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมปีที่ 4 จะเลี้ยงดูแลเด็กได้ดีกว่ากลุ่มมารดาผู้เลี้ยงดูเด็กที่มี การศึกษาประถมปีที่ 4 หรือต่ำกว่า และศึกษาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและ เด็กวัยเรียนในชนบท )
 
Cold and Cough Medications in Children : Uses and abuses (ยาแก้หวัด แก้ไอเด็ก : Uses and abuses)
 
Clinical Use of Proton Pump Inhibitors in Children (การใช้ยา proton pump inhibitor ทางคลินิกในเด็ก)
 
Factors Related to Treatment of Patients with Cleft lip / Cleft palate in Srinagarind and Khon Kaen Hospital (ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่น)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Child Health
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0