หลักการและเหตุผล : ภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อช่วยหายใจเกิดจากการใส่ลมเข้าไปใน cuff มากเกินไปร่วมกับมีการซึมผ่านของ N2O เข้าไปใน cuff ในระหว่างให้ยาระงับความรู้สึก ทำให้ค่าความดันใน cuff เพิ่มขึ้นมากเกินไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความดันใน cuff ของท่อช่วยหายใจ 4 ชนิด ในขณะให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว
แบบวิจัย : การศึกษาแบบไปข้างหน้า เชิงวิเคราะห์
วัสดุและวิธีการ : จำนวนผู้ป่วยในการศึกษามีทั้งหมด 208 ราย และแบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่ Mallinckrodt: hicontour, Curity, Mallinckrodt:hilo และ Rusch ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณศีรษะและลำคอ มีปัญหา full stomach ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ก่อนการผ่าตัดหรือมีความดันในช่องท้องสูง หลังจากผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและทำ just seal แล้ว จะวัดค่าความดันใน cuff โดยใช้ manometer และติดตามไปตลอดทุก 30 นาที จนการผ่าตัดเสร็จ และถ้าค่าความดันใน cuff มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 30 ซม.น้ำ จะดูดลมออกและบันทึกปริมาตรของลมที่ได้ เมื่อการผ่าตัดเสร็จจะบันทึกปริมาตรลมที่ดูดออกจาก cuff ก่อนถอดท่อช่วยหายใจ
ผลการศึกษา : ค่าความดันเฉลี่ยใน cuff ของท่อช่วยหายใจ 4 ชนิด ในช่วงเวลาต่างๆ มีค่าไม่เกิน 30 ซม.น้ำ และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบจำนวนของท่อช่วยหายใจทั้ง 4 ชนิดที่มีค่าความดันใน cuff มากกว่าหรือเท่ากับ 30 ซม.น้ำ พบว่ามีค่าแตกต่างกันที่ช่วงเวลา 30 และ 60 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( Mallinckrodt:hicontour, Curity, Mallinckrodt:hilo, Rusch: ที่เวลา 30 นาที, ร้อยละ 17.3, ร้อยละ 17.3, ร้อยละ 1.9, ร้อยละ 9.6 ; ที่เวลา 60 นาที, ร้อยละ 21.6, ร้อยละ 35.3, ร้อยละ 8.0, ร้อยละ 6.1,ตามลำดับ) ภาวะแทรกซ้อนที่พบคือ เจ็บคอและเสียงแหบ แต่อุบัติการณ์ดังกล่าว ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างท่อช่วยหายใจทั้ง 4 ชนิด
สรุป : ค่าความดันใน cuff ของท่อช่วยหายใจชนิด Mallinckrodt: hilo และ Rusch มีค่าความดันในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเยื่อบุหลอดลมดังนั้นท่อช่วยหายใจทั้ง 2 ชนิด จึงสามารถใช้ได้ปลอดภัยในระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกภายใต้การติดตามค่าความดันใน cuff ตลอดเวลา
คำสำคัญ: ค่าความดันใน cuff, ท่อช่วยหายใจ
Background : Tracheal intubation is associated with many complications including overinflation of the endotracheal tube cuff and increase in the endotracheal tube from diffusion of nitrous oxide into the cuff. The purpose of this study was to evaluate intracuff pressure of four brands of endotracheal tube in intubated patient undergoing general anesthesia.
Design : A prospective analysis study
Materials and methods : Two hundred and eight ASA class I -III patients undergoing elective surgery were blinded and equally allocated into four groups (Mallinckrodt-hicontour, Curity, Mallinckrodt-hilo and Rusch). Head and neck surgery, BMI ≥ 35 kg/m2, risk of pulmonary aspiration and previously intubated patients were excluded. After monitoring the patients and the induction of anesthesia, the tracheal was intubated with a routine size tube. The intracuff pressure was measured using a manometer after just seal method which was continued every 30 mins until the operation had finished. Then if the intracuff pressure was ≥ 30 cmH2O, the observer relieved the pressure in the cuff and recorded the volume of air. At the end of the operation the deflated volume was recorded followed by extubation.
Results : The average intracuff pressure of the four brands of endotracheal tube at any one time was < 30 cmH2O and were not statistically significant. There were, however significant differences in the proportion of the intracuff pressure of the four endotracheal tube brands of ≥ 30 cmH2O. (Mallinckrodt-hicontour, Curity, Mallinckrodt-hilo, Rusch: at 30 min, 17.3 %, 17.3 %, 1.9 %, 9.6 %; at 60min, 21.6 %, 35.3 %, 8.0 %, 6.1 %, recpectively.)
Conclusions : The intracuff pressure of Mallinckrodt: hilo and Rusch brands were less than the threshold to produce tracheal pressure necrosis. Therefore, the two brands of endotracheal tube can be use safely during general anesthesia with intracuff pressure monitoring.
Keywords : intracuff pressure, endotracheal tube
. . .
Full text.
|