ภาวะตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage) หมายถึงภาวะที่มีเลือดออกทันทีปริมาณมากกว่า 500 มล.หลังคลอด มีโอกาสเกิดได้สูงถึงร้อยละ 18 ของการคลอดในประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้ว1,2 เลือดที่ออกมากกว่า 1,000 มล.มีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ถึงแม้จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็มีโอกาสเกิดภาวะตกเลือดที่รุนแรงได้ถึงร้อยละ 33 ภาวะนี้จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้ว และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาทั่วโลก4-7 และพบว่ามากกว่าครึ่งของมารดาที่เกิดภาวะนี้จะเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ประมาณการณ์ว่าจะมีมารดา 140,000 รายที่เสียชีวิตทั่วโลกเนื่องจากภาวะตกเลือดในแต่ละปี 1 คนในทุก 4 นาที8 ข้อมูลสถิติจากสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่าการเสียชีวิตของมารดาจากภาวะตกเลือดหลังคลอด ปี พ.ศ.2544 2545 และ 2546 คิดเป็นร้อยละ 42.1, 33.9 และ 27.7 ตามลำดับ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีอุบัติการณ์ของภาวะนี้ช่วงปี พ.ศ.2541-2550 พบร้อยละ 3.2 แต่ไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิต
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังภาวะตกเลือดหลังคลอด ได้แก่ orthostatic hypotension, ภาวะซีด และอาการอ่อนเพลียซึ่งอาจมีผลต่อการดูแลบุตร ภาวะซีดหลังคลอดทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น9 จึงจำเป็นต้องให้เลือดทดแทนซึ่งก็เพิ่มภาวะเสี่ยงจากการให้เลือดด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเนื่องจากตกเลือดรุนแรง อาจจะเกิดภาวะ anterior pituitary ischemia ซึ่งทำให้น้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้า10 ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย dilutional coagulopathy และเสียชีวิตได้ ภาวะตกเลือดหลังคลอดที่เกิดหลังคลอด มากกว่า 24 ชั่วโมง(delayed postpartum) เกิดจากรกค้างหรือมีรอยแผลที่ตำแหน่งรกลอกตัว จากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเพิ่มการดูแลรักษาครรภ์และเฝ้าระวังอันตรายจากการตกเลือดในขณะตั้งครรภ์ให้มากขึ้น เนื่องจากการตอบสนองของมารดาที่ทนต่อการเสียเลือดน้อยกว่าร้อยละ 30 ทำให้สัญญาณชีพอาจจะปกติจึงทำให้การวินิจฉัยภาวะนี้อาจผิดพลาดหรือล่าช้า
สาเหตุของการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด พบได้ร้อยละ 10 ของการคลอดุ11 เมื่อแบ่งตามพยาธิกำเนิดได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) placental abnormalities 2) coagulation disorders 3) laceration and trauma 4) uterine atony และ 5) retained uterine contents12 หรือใช้แนวทาง 4Ts (tone, tissue, trauma, thrombin)12,13 เพื่อค้นหาสาเหตุ ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการตกเลือด(ตารางที่ 3) ได้แก่ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และรกค้าง มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าภาวะอื่น 13-14 เท่า มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เคยรับการผ่าตัดคลอด การตั้งครรภ์และหรือการคลอดหลายครั้ง อายุ(>35 ปี) มารดาอ้วน เคยมีประวัติ PPH รายได้ต่ำ prolong third stage (>30 นาที) preeclampsia มีภาวะซีดเมื่ออายุครรภ์ 24 และ 29 สัปดาห์ กับช่วงก่อนคลอด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ชนิดของการให้ยาระงับความรู้สึก การใช้เครื่องมือช่วยคลอดทางช่องคลอด และการกระตุ้นการคลอด14-19
ตารางที่ 1 สาเหตุและอุบัติการณ์ของภาวะตกเลือดหลังคลอด . . .
Full text.
|