Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Efficacy of Axillary Block for Urgency Upper Extremity Orthopedic Procedures in Pediatric Patients in Udonthani Hospital

ประสิทธิภาพของการระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block ในผู้ป่วยเด็กแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อที่มารับการรักษาแบบกึ่งฉุกเฉินในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี

Hathairawee Hawharn (หทัยระวี ห้าวหาญ) 1




หลักการและเหตุผล: การวางยาสลบผู้ป่วยเด็กแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อที่มารับการรักษาแบบกึ่งฉุกเฉินเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการสูดสำลักสารจากกระเพาะเข้าปอด การใช้เทคนิค axillary block ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมในเด็ก มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำ peripheral nerve block น้อยมาก ช่วยลดปริมาณยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด  และลดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ general anesthesia 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดหรือหัตถการทางศัลยกรรมกระดูกและข้อแบบกึ่งฉุกเฉิน  บริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมา

รูปแบบการศึกษา:  การศึกษาเชิงบรรยาย

สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี จ.อุดรธานี

วิธีการศึกษา:  ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในตั้งแต่ระดับศอกลงมาถึงมือมารับการทำหัตถการหรือผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉิน (urgency) ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี  ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2550  จำนวนผู้ป่วย 112 คน ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการทำ  axillary block ด้วยเทคนิค perivascular/transarterial

การวิเคราะห์ข้อมูล:  ใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย:  พบว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อการทำหัตถการหรือการผ่าตัดได้ดีร้อยละ 90.1 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ร้อยละ 42.8 ได้รับยา premedication  เพื่อให้มีความร่วมมือ มีผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนเป็น general anesthesia ร้อยละ 0.9 และต้องให้ยาระงับปวดกลุ่มไอพิออยด์เสริมระหว่างผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 8.9  ในห้องพักฟื้นมีป่วยที่อาการปวดและต้องให้การรักษาร้อยละ 1.8  โดยสรุปพบภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 2.7 ได้แก่มีคลื่นไส้อาเจียนร้อยละ 1.8 และอาการหนาวสั่นร้อยละ 0.9 ทั้งหมดตอบสนองดีต่อการรักษา ไม่พบอันตรายต่อเส้นประสาท และภาวะพิษจากยาชา

สรุป: การใช้เทคนิค axillary block ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉินบริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมานั้นมีประสิทธิภาพดี สำหรับเด็กเล็กอาจใช้ร่วมกับยา premedication สามารถลดปริมาณยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด  รวมถึงให้ผลระงับปวดในช่วงหลังผ่าตัด และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการใช้เทคนิค general anesthesia 

 

Background: General anesthesia for emergency/urgency upper extremity orthopedic procedures  in pediatric patient may risks of  increase pulmonary aspiration and airway complications. Axillary block is simple  to perform and with minimal complications, which may be used as a sole technique or combined with sedation for these patients and has benefit in postoperative pain control and minimized complication of general anesthesia.

Objective: To study the efficacy and complications of axillary block anesthesia in  emergency upper extremity orthopedic procedures  in pediatric patients.

Design:  A prospective descriptive study

Setting: Udonthani Hospital, Udonthani, Thailand.

Methods : A total of 112 pediatric patients  who underwent  emergency/urgency surgical procedures to the distal humerus, elbow , forearm and hand between July-December 2007.  A total of 112 of pediatric patients aged between 1 to 14 year-old had axillary block  (perivascular/transarterial technique).

Analysis:  Descriptive analysis.

Results: Ninety percent had adequate anesthesia and 42.8% need premedication for coorperation .Only 0.9% had been  changed anesthetic technique to general anesthesia due to fail block. About 8.9 % had inadequate anesthesia and need narcotic supplement during operation. In  PACU 1.8% of patients need narcotic for pain treatment. Over all 2.7% of patients have complication; nausea/vomiting 1.8% and shivering 0.9% and all of them response to treatment. No any local anesthetic toxicity or neurologic damage was found.

Conclusion: The axillary block may be successfully used for urgency surgical procedures in upper extremity from distal humerus in pediatric patients. This technique is sufficiency for post-operative pain control in PACU and can avoid complications from general anesthesia.

Keywords :  efficacy, axillary block, pediatric patients, upper extremity.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
Pediatrics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0