Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Survey of Leaked Pressure in Anesthetized Pediatric Patients with Uncuffed Endotracheal Tube

การสำรวจค่า leak pressure ของท่อช่วยหายใจชนิด Uncuffed ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการระงับความรู้สึกชนิด general anesthesia with endotracheal tube

Duenpen Horatanaruang (เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง) 1, Sunchai Theerapongpakdee (สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี) 2, Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 3




หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการระงับความรู้สึกมักจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจชนิด uncuffed การใช้ท่อช่วยหายใจที่เล็กหรือใหญ่เกินไปอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยทั่วไปในทางปฏิบัติวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลจะใช้สูตรคำนวณเพื่อกะประมาณขนาดของท่อช่วยหายใจที่จะใช้ จากนั้นจะใช้ประสบการณ์ของตนในการบอกว่าท่อช่วยหายใจขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป ยังไม่เคยมีการศึกษาว่าการใช้วิธีการดังกล่าวทำให้เลือกขนาดท่อช่วยหายใจได้เหมาะสมหรือไม่

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์การใช้ขนาดของท่อช่วยหายใจชนิด uncuffed ที่ไม่เหมาะสมจากการวัด leak pressure

รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าโดยวิธีการสำรวจ

สถานที่ทำการศึกษา:  ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ประชากร: ผู้ป่วยเด็กอายุ 0-8 ปี ที่เข้ารับการระงับความรู้สึก และใส่ท่อช่วยหายใจ   

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กทุกรายได้รับการระงับความรู้สึกตามมาตรฐาน โดยหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จ ผู้วิจัยทำการวัดค่า leak pressure โดยค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-40 ซม.น้ำ สังเกตภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจในห้องพักฟื้น บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย จำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจ ค่า leak pressure ระยะเวลาที่คาท่อช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการคำนวณเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 98 ราย  เพศชาย 67 ราย เพศหญิง 31 ราย อายุเฉลี่ย 2.3 ± 2.2 ปี พบว่ามีผู้ป่วยที่มี leak pressure > 40 ซม.น้ำ จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.49 (95%CI: 17,33) และผู้ป่วยที่มี leak pressure < 20 ซม.น้ำ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.31 (95%CI: 10,23) ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคืออาการเสียงแหบ (hoarseness) ร้อยละ 27.35 (95%CI: 20,37) ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่อทางเดินหายใจที่รุนแรง

สรุป: ผู้ป่วยเด็กอายุ 0-8 ปี ที่เข้ารับการระงับความรู้สึกได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจชนิด uncuffed ในขนาดที่ไม่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 39.80 และภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการเสียงแหบร้อยละ 27.55  ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกขนาดของท่อช่วยหายใจที่เหมาะสม ร่วมกับการวัดค่า leak pressure จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยยิ่งขึ้น

Background :  Generally, an uncuffed endotracheal tube is used for general anesthesia in pediatric patients; thus, an inappropriate tube size intubation can lead to complications.  In clinical practice, tube size selection can be done using a formula for estimating the size for each patient. An appropriate tube size should allow a leak at airway pressures (leak pressure) between 20-40 cmH2O, but leak pressure is not routinely monitored. 

Objective :  To study the incidence of inappropriate tube size used in pediatric patients receiving general anesthesia by using leak pressure test.

Design :  Prospective, descriptive study.

Setting :  Operating room, Srinagarind Hospital

Subject :  Pediatric patients between 0 and 8 years of age undergoing general anesthesia with uncuffed endotracheal tube.

Methods :  After anesthesia was induced and the patient was intubated, leaked pressure was measured. Leak pressure between 20 and 40 cmH2O was considered appropriate. We recorded each patient’s characteristics, number of attempts to intubate, leak pressure, duration of intubation, and respiratory complication. The result were analyzed using descriptive statistics and were presented as means, percentages and 95% confidence intervals (95%CI).

Results:  We enrolled 98 patients averaging 2.3±2.2 years of age (67 males and 31 females). Patients with inappropriate leak pressure numbered 39 (39.80%), of which 24.49% (95%CI: 17,33) were in the group where leak pressure was ≥40 cmH2O and 15.31% (95%CI: 10,23) in the group where leaked pressure was <20 cmH2O. The most frequent complication was hoarseness 27.55% (95%CI: 20,37).  No patients had any serious respiratory complications.

Conclusion :  Pediatric patients between 0 and 8 years of age, undergoing general anesthesia with an uncuffed endotracheal tube had a 39.80% incidence of inappropriate endotracheal size used. Hoarseness was the most common complication (27.55%). Tube size selection should be done carefully and include leak pressure test.

Keywords :  Uncuffed endotracheal tube; Leak pressure; General anesthesia; Pediatric patients

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
Pediatrics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0