Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service

การพัฒนาคุณภาพงานบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยใช้ผลงานระหว่างสถาบันเป็นเกณฑ์

Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 1, Sahattaya Paiboonworachart (สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ) 2, Wimonrat Sriraj (วิมลรัตน์ ศรีราช) 3, Ladda Wongpankamol (ลัดดา วงษ์พันธ์กมล) 4, Suthannee Simajareuk (สุธันนี สิมะจารึก) 5, Somboon Thienthong (สมบูรณ์ เทียนทอง) 6




การพัฒนาคุณภาพงานบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยใช้ผลงานระหว่างสถาบันเป็นเกณฑ์

มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์1, สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ2, วิมลรัตน์ ศรีราช1 , ลัดดา วงษ์พันธ์กมล2, สุธันนี สิมะจารึก1, สมบูรณ์ เทียนทอง1

1, ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service 

Malinee Wongswadiwat1, Sahattaya Paiboonworachart2, Wimonrat Sriraj1, Ladda Wongpankamol2, Suthannee Simajareuk1, Somboon Thienthong1

1 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand, 40002

2 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand, 50200

หลักการและเหตุผล: ในปัจจุบันการรักษาอาการปวดหลังผ่าตัดมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของผู้ป่วยและลดอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากความปวด หน่วยระงับปวด (Acute Pain Service; APS) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้พัฒนา หน่วยระงับปวด มาในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่ยังไม่เคยนำผลงานมาเทียบเคียงกัน เพื่อหาจุดเด่นของแต่ละสถาบันมาพัฒนาการทำงานของหน่วยAPS ของทั้งสองสถาบันต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ APS ของทั้งสองสถาบัน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบพรรณนา ในระยะเวลา 1 ปี (2548) จากแบบบันทึกข้อมูลการดูแลระงับปวดหลังผ่าตัดของสองสถาบันในปี พ.ศ.2548 เป็นเวลา 1ปี โดยข้อมูลที่ต้องการศึกษาคือ สัดส่วนการให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดต่อการให้บริการระงับความรู้สึก จำนวนวันเฉลี่ยของการให้บริการ วิธีการให้การระงับปวด การประเมินความปวด อาการแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ระบบและมาตรฐานของการบริการ โดยเน้นเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก   โดยข้อมูลที่ได้นำเสนอและวิเคราะห์โดยใช้ descriptive statistic

ผลการศึกษา: สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยหน่วย APS ต่อการให้บริการระงับความรู้สึกของ มข.เท่ากับ ร้อยละ12.3 ส่วนของ มช.เท่ากับ ร้อยละ 7.1  มข.ให้บริการระงับปวดแก่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดในช่องท้องมากที่สุดถึง ร้อยละ 60 ส่วน มช.ให้บริการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และช่องอก มากที่สุดถึงร้อยละ 76 จำนวนวันเฉลี่ยในการให้การดูแลผู้ป่วยเท่ากันทั้งสองสถาบันคือ 2.0+1.0วัน  สัดส่วนผู้ป่วยที่รับบริการระงับปวดทั้งสองสถาบันเป็นอันดับที่สองคือผู้ป่วยผ่าตัดทาง ออร์โธปิดิกส์ คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และ ร้อยละ 20.7 ของ มข.และมช.ตามลำดับ เทคนิคในการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ของมข.มีหลายเทคนิค คือ IV PCA (ร้อยละ59) IV opioid infusion (ร้อยละ30) epidural (ร้อยละ6.8) และ spinal morphine with IV PCA (ร้อยละ5.2) ส่วนของมช.เทคนิคหลักคือ IV PCA (ร้อยละ97) โดยผลการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์พบว่า ผู้ป่วยมี severe pain ขณะพัก ร้อยละ9.5 ของมข. และร้อยละ 6 ของมช.โดยไม่พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดของหน่วยงานทั้งสองสถาบันอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ร้อยละ 94-97 ส่วนการเปรียบเทียบระบบและมาตรฐานของการบริการพบว่าแต่ละแห่งมีจุดเด่นที่ต่างกัน

สรุป: การศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วย APS ของสองสถาบัน โดยเปรียบเทียบในผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก พบมีความแตกต่างกันในหลายด้าน เช่นเทคนิคการบริการระงับปวด ผลการระงับปวด ระบบและมาตรฐานของการบริการ ฯลฯ ซึ่งจุดเด่นที่ได้จากทั้งสองสถาบันสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วย APS ต่อไป

 Background:  Currently, post-operative pain management is considered an integral part of recovering and reducing complications related to pain.  Acute pain service (APS) has been established worldwide in order to improve the effectiveness of patient care.  The Departments of Anesthesia at Khon Kaen and Chiang Mai Universities (KKU and CMU, respectively)    developed an APS system each at approximately the same time.  Collaboration of the two institutions to benchmark their APS data will help them move forward vis-à-vis post-operative pain management.

Objectives:  Comparing the results of the respective APS systems between Khon Kaen and Chiang Mai Universities.

Design:  Retrospective, descriptive study

Methods:  The 2005 calendar year data, from the respective APS databases, were reviewed, allowing a comparison of post-operative pain management at KKU and CMU hospitals. We focused on the percentage of post-operative orthopedic patients care through the APS system compared with (1) APS service, (2) days of service, (3) method of pain management, (4) pain assessment, (5) complications, (6) the APS system and (7) patient satisfaction. The data were analyzed using descriptive statistics.

Results:  Patients who received APS accounted for 12.3 and 7.2 percent of KKU and CMU patients, respectively.  The greatest proportion of patients at KKU receiving APS was for intra-abdominal surgery (60%) while at CMU it was for cardiovascular and thoracic surgery (76%).  Both institutions provided an average 2.0±1.0 days of service. Surgery on extremities (orthopedics) ranked second at both institutions (26.8 and 20.7 percent, respectively).  KKU used variety techniques for controlling pain among orthopedic patients:  viz., IV PCA (59%), IV opioid infusion (30%), epidural (6.8%) and spinal morphine with PCA (5.2%), while the primary modality for pain control at CMU was IV PCA (97%).  Resting pain for CMU patients was less than that reported by KKU patients (6 vs. 9.5 percent, respectively); however, dynamic pain was not assessed at CMU. Serious complication was not found and patient rated satisfy with APS approximately 94% and 97% (CMU, KKU).

Conclusion:  The delivery of APS for orthopedic surgery patients at two regional university hospitals in Thailand were studied and benchmarked. There was some difference in the strengths of the APS system between the two institutions; such as, techniques of pain treatment, pain scores and system for pain management. Strengths and weaknesses observed during this benchmarking exercise will be used to improve the delivery of APS at both institutions.

 

Keywords: Acute Pain Service; Benchmark; Post-Operative Pain; University Hospital

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0