การศึกษา necrotizing fasciitis ย้อนหลัง 418 ราย ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
ทศพร อุทธิเสน
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
A Retrospective Review of 418 Cases of Necrotizing Fasciitis in Sisaket Hospital
Tossaporn Uthisan
Department of Surgery , Sisaket Hospital
หลักการและเหตุผล : Necrotizing fasciitis เป็นโรคติดเชื้ออย่างรุนแรงของผิวหนัง มีอัตราพิการและอัตราตายสูง มักเกิดตามหลังการมีบาดแผลนำมาก่อน สามารถลุกลามได้รวดเร็ว เนื่องจากได้รับการวินิจฉัยล่าช้าและได้รับการผ่าตัดเนื้อตายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ : ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรค Necrotizing fasciitis สาเหตุ เชื้อที่พบ ปัจจัยเสี่ยง ตำแหน่งที่เกิดโรค อาการและอาการแสดง โรคร่วมที่พบ การรักษา ความไวของยาต่อการรักษาโรค และผลการจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนแนวทางการรักษา การป้องกัน และนำความรู้ไปสู่ประชาชนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค สามารถลดอัตราการเจ็บป่วยหรืออัตราตายด้วยโรคดังกล่าว ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research)
วิธีการศึกษา: โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย Necrotizing fasciitis ในโรงพยาบาลศรีสะเกษระหว่างปี พ.ศ. 2547 2549 จำนวน 418 ราย โดยศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรค สาเหตุ เชื้อที่พบ ปัจจัยเสี่ยง ตำแหน่งที่เกิดโรค อาการและอาการแสดง โรคร่วมที่พบ การรักษา ความไวของยาต่อการรักษาโรค และผลการจำหน่ายผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ นำเสนอตามตัวแปรที่รวบรวมและจำแนกตามตัวแปรที่กำหนด
ผลการศึกษา: พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.2 : 1 ช่วงอายุระหว่าง 2 95 ปี ประกอบอาชีพชาวนาร้อยละ 83.0 มารับการรักษามากช่วงเดือน มีนาคม มิถุนายน (ร้อยละ 41.4) รองลงมาเป็นช่วงเดือนกรกฎาคม ตุลาคม (ร้อยละ 40.2) สาเหตุ/เชื้อโรคที่สำคัญของการเกิดโรค Necrotizing fasciitis พบว่า เป็นเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มากที่สุด (ร้อยละ 26.3) ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ พบว่า เกือบหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 24.9) ของผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากการมีบาดแผลเรื้อรัง รองลงมาเป็นการถูกของมีคมบาด/ทิ่มแทง (ร้อยละ 16.2) เกิดอุบัติเหตุจากการชนของแข็งถูกของทับและพลัดตกหกล้มร้อยละ 8.8 พบว่าตำแหน่งที่เกิดเกือบครึ่งหนึ่งเกิดที่บริเวณขา (ร้อยละ49.8) รองลงมาเป็นบริเวณเท้า(ร้อยละ 28.5) มีอาการบวมแดงมากที่สุด (ร้อยละ 44.0) รองลงมามีอาการปวด(ร้อยละ 32.3) มีไข้อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส (ร้อยละ 18.2) ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มม.ปรอทร้อยละ 9.8 ในขณะที่โรคร่วมที่พบส่วนมากได้แก่ ภาวะ hypovolumic shock (ร้อยละ 34.4) septicemia (ร้อยละ 27.3) diabetes mellitus (ร้อยละ 19.1) acute renal failure (ร้อยละ 14.8) สำหรับการรักษาผู้ป่วย พบว่าส่วนใหญ่(ร้อยละ 86.6) ต้องได้รับการผ่าตัดซึ่งเป็นการทำ debridement ถึงร้อยละ 92.5 ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัด และ ความไวของยาต่อการรักษาโรค พบว่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มีความไวต่อยา amikacin ร้อยละ 48.4 ผลการจำหน่าย พบว่า ผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 80.9) มีอาการดีขึ้น รองลงมาเสียชีวิต (ร้อยละ 11.7)
สรุป: การตระหนักและให้ความสำคัญกับอาการของโรค Neccrotizing fasciitis ในระยะแรก การวินิจฉัยที่รวดเร็วและได้รับการผ่าตัดเนื้อตายที่เพียงพอ จะช่วยลดอัตราการตายได้
Background: Necrotizing fasciitis is a life-threatening soft-tissue infection. Prompt diagnosis and immediate aggressive surgical debridement of all compromised tissues are critical to reducing morbidity and mortality in these rapidly progressive infections
Objective : The purposes of descriptive research were to analyse the Necrotizing fasciitis in Sisaket Hospital during the year 2004 to 2006, including 418 patients , in terms of incidence, clinical feature, microbiology, location of infection, risk factors, sign symptoms, co-morbidity ,the type of therapy used (debridement or amputation), treatment, drug sensitivity and outcome.
Setting : Sisaket Hospital
Research Design : Retrospective descriptive research
Materials and Methods : The study retrospectively investigated the medical records of 418 patients who were diagnosed and treated for necrotizing fasciitis during the year 2004 to 2006 at our hospital.
Results : The incidence in the year 2004 to 2006 of male to female ratio 1.2 : 1. Age 2-95 years.The most of their occupation were farmer(83.0%), The highest number of patients came to the hospital in March to June. Pseudomonas aeruginosa was the common causative organism(26.3 %). Risk factors was the chronic wounds (24.9%), injury from sharp materials (16.2%) and minor lacerated wound (8.8%). The common location necrotizing fascitis was the subcutis of the leg (48.8%) and foot (28.5%). The comorbidity included hypovolumic shock (34.4%), septicemia (27.3%), diabetes mellitus (19.1%), acute renal failure (14.8%). Pain and swelling occurred in most patients (44.0 %), and the presence of erythema and edema was variable ; co-morbidity. Treatment included (86.6 %) ; debridement (92.5 %) and amputation to control infection. Eighty-six point six percent of the patient were operated. An enhanced bactericidal response to amikacin was noted. There were 49 deaths (11.7%).
Conclusions: Early recognition and treatment of necrotizing fasciitis and operative débridement was demonstrated to reduce mortality among patients with this condition. A high index of suspicion is important in view of the paucity of specific cutaneous findings early in the course of the disease.
. . .
Full text.
|