หลักการและเหตุผล: การประเมินและบันทึกความปวดอย่างเป็นระบบเหมือนสัญญาณชีพอื่น มีส่วนช่วยให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดดีขึ้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีการประเมินและบันทึกความปวดอย่างเป็นระบบในบางหอผู้ป่วยแต่การใช้ทั้งโรงพยาบาลยังไม่มีการศึกษามาก่อน
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อพัฒนาระบบการประเมินและการบันทึกความปวดหลังการผ่าตัดให้เป็นสัญญาณชีพที่ห้า
2. เพื่อประยุกต์ใช้แบบบันทึกความปวดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา
สถานศึกษา: หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ 2 แห่ง และหอผู้ป่วยศัลยกรรม 1 แห่ง ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1: ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านทัศนคติของพยาบาล และระบบการประเมินความปวดในหอผู้ป่วยทดลอง ระยะที่ 2: พัฒนาแบบบันทึกความปวด ระยะที่ 3: ทดลองใช้และปรับปรุงแบบบันทึกความปวดในหอผู้ป่วยทดลอง ระยะที่ 4: ขยายผลการทดลองใช้แบบบันทึกความปวดไปยังหอผู้ป่วยอื่น และระยะที่ 5: ประยุกต์ใช้แบบบันทึกความปวดในระดับโรงพยาบาล
การวัดผล: วิธีการประเมินและการบันทึกความปวดที่ใช้ก่อนและหลังการศึกษา จำนวนครั้งที่มีการบันทึกความปวดก่อนและหลังการศึกษา ความเห็นของพยาบาลต่อแบบบันทึก (graphic sheet) ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ที่มีช่องบันทึกความปวดได้ และความเห็นด้านการบันทึกความปวดของพยาบาล
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในหอผู้ป่วยทดลอง 1 แห่ง พบว่าพยาบาลบางส่วนมีความเข้าใจเครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดไม่ถูกต้อง และจากการ audit nurse note ของผู้ป่วย 136 ราย ก่อนการใช้ graphic sheet พบว่าจำนวนครั้งของการบันทึกระดับความปวดมีน้อย หลังการใช้ graphic sheet พบว่ามีการบันทึกเพิ่มขึ้นทุกเวร(43.2% vs 57.3%, P= 0.039) และจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการประเมินและบันทึกความปวดลดลง (12.1% vs 2.2%, P = 0.008) โดยพยาบาลส่วนใหญ่ (87.5%) ใช้เวลาบันทึกน้อยกว่า 1 นาที และ 62.5% บอกว่าเป็นการเพิ่มภาระงานเพียงเล็กน้อย จากการขยายผลการศึกษาไปยังหอผู้ป่วยทดลองอีก 2 แห่ง พบว่าในระยะแรกมีการประเมินและบันทึกความปวดใน 24 ชั่วโมงแรกได้เพียง 67% หลังจากได้ให้ความรู้เพิ่มเติมทำให้การประเมินและบันทึกความปวดเพิ่มขึ้นเป็น 98% ผลของการศึกษานี้ทำให้ graphic sheet ที่ปรับปรุงใหม่ได้รับการยอมรับให้ใช้แทนแบบเดิมทั้งโรงพยาบาล
สรุป: ได้พัฒนาแบบบันทึกที่สามารถใช้บันทึกความปวดให้เป็นสัญญาณชีพที่ห้าในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และได้ทดลองใช้ในหอผู้ป่วยสามแห่งพบว่าสามารถใช้งานได้ดี สามารถบันทึกความปวดได้เพิ่มขึ้น จึงได้ประยุกต์ใช้แบบบันทึกนี้ในทุกหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลแทนแบบบันทึกเดิม
Background: Pain assessment and documentation can be used as vital sign for the improvement of postoperative pain management; however, these systems have never been adopted for use at Srinagarind Hospital.
Objectives:
1. To develop a systematic postoperative pain assessment and documentation as the fifth vital sign; and,
2. To implement a revised graphic sheet for pain documentation at Srinagarind Hospital.
Design: Descriptive study
Setting: Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
Methods: Researchers explored the ward nurses attitudes and practices vis-à-vis the pain assessment and documentation in a pilot ward. Subsequently, systematic pain assessment and documentation using the old graphic sheet, originally developed for recording four other vital signs, were re-designed to include the new sign, tested and revised for its practicality. The revised graphic sheet was re-tested in two other wards and finally the system was implemented throughout the hospital.
Measurement: Pain assessment tools, frequency of pain documentation and the number of patients assessed before and after the study were recorded. The ward nurses were asked to give their comments on the practicality of the new system for pain assessment and documentation.
Results: In the pilot ward, misunderstanding regarding the pain assessment tools was found among some ward nurses. The frequency of pain assessment and documentation significantly increased after using the revised graphic sheet (43.2% vs. 57.3%, p=0.039). The prevalence of no pain assessment also decreased significantly (12.1 vs. 2.2%, p=0.008). Most of the nurses (87.5%) could complete the pain record form within one minute. The new system, as reported by 62.5% of the ward nurses, nominally increased their workload. Re-testing this system in the other two wards increased the number of pain assessments and documentations on the first post-operative day from 67% to 98 %. The revised graphic sheet was then accepted by the policy makers for use throughout the hospital.
Conclusion: The system of post-operative pain assessment as the fifth vital sign was developed. A revised graphic sheet was used for pain documentation and accepted for routine use. The new system increased the number of pain assessments and documentations of post-operative patients.
. . .
Full text.
|