Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Self-care Behaviors of Chronic Otitis Media Patients at Out-Patient Department in Srinagarind Hospital

พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Junpen Neukong (จันทร์เพ็ญ เหนือกอง) 1, Kanda Rengpattanakit (กานดา เร่งพัฒนกิจ) 2, Amornrat Pongjanyakul (อมรรัตน์ พงศ์จรรยากุล) 3




หลักการและเหตุผล: โรคหูน้ำหนวกเป็นโรคของหูชั้นกลางที่พบได้ทุกเพศทุกวัยและเป็นปัญหาที่สำคัญ   อีกปัญหาหนึ่งทางสาธารณสุข เนื่องจากถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำที่ถูกต้อง  อาจทำให้เกิดโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง  มีการติดเชื้อซ้ำบ่อยครั้ง  ซึ่งความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคอาจทำให้ผู้ป่วยพิการทางการได้ยิน  และถึงกับเสียชีวิตได้ 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย

สถานที่ทำวิจัย: ห้องตรวจ หู คอ จมูก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังที่มาตรวจที่ห้องตรวจ หู คอ จมูก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล  ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 – 31 กรกฎาคม 2549 จำนวน 135 คน

วิธีการศึกษา: ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม สัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง ที่มารับบริการที่ห้องตรวจ หู คอ จมูก โรงพยาบาลศรีนครินทร์  จากนั้นนำแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ

การวัดผล: ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW เพื่อหาค่าร้อยละของข้อมูลทั่วไป และวิเคราะห์พฤติกรรม   การดูแลตนเองโดยรวมและรายข้อ โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังส่วนใหญ่ มีภูมิลำเนาในจังหวัดขอนแก่น อาศัยอยู่ในเขตชนบท ระยะเวลาที่เป็นโรคมากกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่กำลังมีหนองไหลจากหู และใน 1 ปี มีการเกิดซ้ำเฉลี่ย 2.80 ครั้งต่อปี พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม เช่น การได้รับอาหาร น้ำ อากาศที่เพียงพอ  การรักษาไว้ซึ่งการขับถ่ายและการระบายที่ปกติ  การมาตรวจตามนัด  การปฏิบัติตัวในการรับประทานยาและหยอดยาครบตามขนาดและวิธีการ  การไม่ใช้วัสดุแข็งแคะหูด้วยตนเอง  การไม่ซื้อยาหยอดหูเองและใช้สมุนไพรหยอดหูเป็นต้น อยู่ในระดับดี ( =2.17, S.D. =0.82)

สรุปผล: จากการศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี ( =2.17, S.D. =0.82) เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเป็นโรคนาน และเคยได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สุขภาพมาแล้ว ทำให้สามารถดูแลตนเองได้ดี

คำสำคัญ: โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง พฤติกรรมการดูแลตนเอง

 

Background: Otitis media is a common middle ear disease that affects patients of all age groups. It is an important health problem because inappropriate self-care can lead to chronic infection and severe complications such as hearing loss or mortality.

Objective: To study the self-care behavior of chronic otitis media patients

Study design: Descriptive research

Setting: Out patient of otolaryngology department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Sampling: Purposive sampling of 135 chronic otitis media patients.

Method: The data were collected using a questionnaire developed by the researcher based on Orem’s   self-care theory, during 1stJanuary 2005 to 31stJuly 2006. The data were analyzed by SPSS/FW program using percentage, means and standard deviation

Results: Most of chronic otitis media patients lived in rural areas of Khon Kaen province. Duration of disease of  more than one year, have discharge from external ear and have infection 2.80 events per year. Self-care behavior as a whole was in good level ( =2.17, S.D. =0.82). The self-care behaviors were the maintenance of sufficient food intake, water and air, the provision of care associated with elimination process and excrement, the the prevention of hazards of ears. follow up, taking medicine, avoid picking out the ear wax by themselves and avoiding self-medication and herbal medicine.

Conclusion: Self-care behavior of chronic otitis media patients was in good level ( =2.17,  S.D. =0.82). This may be explained in part by the chronicity of disease in most of the patients and continuous patient education that they received, resulting in good self-care behavior.

Key words: chronic otitis media, self-care behavior

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Neonatal Hearing Screening (การตรวจการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด)
 
Laryngeal Cancer in Srinagarind Hospital (มะเร็งกล่องเสียงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Conservation Laryngectomy : Experience in Srinagarind Hospital (ประสบการณ์การผ่าตัดกล่องเสียงแบบอนุรักษ์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
Fractured Inner Tracheostomy Tube : an Unusual Tracheobronchial Foreign Body (การแตกหักของ inner tracheostomy tube : สิ่งแปลกปลอมในหลอดลมที่พบน้อย)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Otorhinolaryngology
 
Health Care Delivery
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0