หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลุกลามเฉพาะที่จะได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดซิสพลาตินทุกสัปดาห์ร่วมกับรังสีรักษา แต่พบว่ามีรายงานเกี่ยวกับความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบโลหิตในผู้ป่วยไทยอยู่น้อยมาก
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบถึงความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบโลหิต และผลการรักษาเบื้องต้นจากการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยยาเคมีบำบัดซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษา ที่ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี
วัสดุและวิธีการศึกษา: กลุ่มผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และแบบบันทึกการให้รังสีรักษา ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 แล้วนำมาวิเคราะห์ ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดซิสพลาติน 40 mg/m2 ทุกสัปดาห์ ร่วมกับการให้รังสีรักษาประมาณ 7500-9000 cGy บริเวณอุ้งเชิงกราน
รูปแบบการศึกษา: เชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
สถานที่ทำการศึกษาวิจัย: ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษา ที่ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานีจำนวน 95 ราย แต่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 89 ราย พบว่ามีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี (พิสัย 34-71) ผู้ป่วยส่วนมากเป็นมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma (ร้อยละ 79.8) โดยมีระยะของโรคเป็นระยะ IB2 ร้อยละ 19.1 ระยะ IIA ร้อยละ 6.7 ระยะ IIB ร้อยละ 38.2 ระยะ IIIA ร้อยละ 2.2 ระยะ IIIB ร้อยละ 31.5 และระยะ IVA ร้อยละ 2.2 ตามลำดับ มีผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดซิสพลาตินทุกสัปดาห์อย่างน้อย 5 รอบ ร้อยละ 80.9 พบความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบโลหิตจำนวนร้อยละ 78.7 โดยจัดเป็นเกรด 3-4 ร้อยละ 14.4 ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำร้อยละ 64.0 (เกรด 3-4 ร้อยละ 9.0) ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ต่ำร้อยละ 40.4 (เกรด 3-4 ร้อยละ 7.8) ภาวะโลหิตจางร้อยละ 57.3 (เกรด 3-4 ร้อยละ 1.1) ไม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกรด 3-4 มีผู้ป่วยเพียง 1 ราย ที่มีภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำซึ่งสามารถรักษาได้ ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากให้ยาครบพบว่ามีผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาโดยสมบูรณ์ร้อยละ 86.5 ตอบสนองต่อการรักษาบางส่วนร้อยละ 13.5
สรุป: การให้ยาเคมีบำบัดซิสพลาตินทุกสัปดาห์ร่วมกับรังสีรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี พบว่ามีความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบโลหิตร้อยละ 78.7 (เกรด 3-4 ร้อยละ 14.4) ซึ่งสามารถยอมรับและดูแลรักษาได้ มีผู้ป่วยตอบสนองทางคลินิกต่อการรักษาโดยสมบูรณ์สูงถึงร้อยละ 86.5
Background: Weekly cisplatin concurrent chemoradiation is a treatment in locally advanced cervical cancer. However, there are only few reports in Thai women about hematologic toxicities of this treatment.
Objectives: To evaluate prevalence of hematologic toxicities and early response accompanying weekly cisplatin concurrent chemoradiation in cervical cancer patients.
Methods: Medical records of cervical cancer patients treated between January 2003 to December 2005 were reviewed retrospectively. Patients were treated by weekly cisplatin 40 mg/m2 accompanying with radiotherapy of total dose 7500-9000 cGy.
Design: Retrospective descriptive study
Setting: Ubonrajchathani Cancer Center, Ubonrajchathani
Results: 89 out of 95 patients diagnosed as locally advanced cervical cancer and treated by weekly cisplatin in concurrent with radiotherapy were eligible and included for analysis. Mean age was 47.5 years (range, 34-71 years). The major histologic types were squamous cell carcinoma (79.8%), and distribution according to International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) stage was IB2 19.1%, IIA 6.7%, IIB 38.2%, IIIA 2.2%, IIIB 31.5% and IVA 2.2%, respectively. 80.9% of patients received five or more cycles of weekly cisplatin. Prevalence of hematologic toxicities was 78.7% and grade 3-4 were found in 14.4% of the patients. There were leukopenia 64.0% (9% grade 3-4), neutropenia 40.4% (7.8% grade 3-4), anemia 57.3% (only 1.1% grade 3-4) and no grade 3-4 thrombocytopenia. Only one patient (1.1%) had febrile neutropenia and this was manageable. There was no significant factor associated with clinical response in this study. Clinical response was evaluated. Complete response was 86.5%, partial response was 13.5%.
Conclusions: Prevalence of hematologic toxicities accompanying with weekly cisplatin concurrent chemoradiation was 78.7% and grade 3-4 were found in 14.4% of the patients. Hemotologic toxicities were acceptable and managable. Complete clinical response rate was high. . . .
Full text.
|