หลักการและเหตุผล โรงพยาบาลสกลนคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล จึงได้พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและสร้างเสริมศักยภาพให้คนพิการและครอบครัวเกิดทักษะในการดูแลตนเอง สามารถเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงศ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวของสถานบริการสุขภาพเครือข่ายโรงพยาบาลสกลนคร
วิธีการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมวิเคราะห์สถานการณ์, ประเมินความต้องการของ ผู้รับบริการและหน่วยงาน, พัฒนาบุคลากร,วางแผนจัดการระบบ, ดำเนินการตามแผน และร่วมประเมินผลการดำเนินงาน รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบโดย 1) จัดบริการสำหรับคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) 2) กระบวนการดูแลสุขภาพครอบคลุมองค์รวมและต่อเนื่อง ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมความพร้อม ระยะฝึกทักษะ และระยะให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้าน 3) จัดบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 042- 715392 และ 042-715346 4) ประยุกต์กายอุปกรณ์ที่สามารถผลิตเองได้จากวัสดุในท้องถิ่น ราคาย่อมเยา คุณภาพเทียบเท่ากายอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศได้แก่ เตียงออกกำลังแขนขา เตียงนอนขจัดแผลกดทับ Handgrip บริหารนิ้วมือ และรอกบริหารข้อไหล่
สรุป ผลลัพธ์การดูแลพบว่า ผู้รับบริการจำนวน 58 ราย ทุกรายได้รับการดูแลจากสถานบริการใกล้บ้าน ระดับความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ไม่พบภาวะแทรกซ้อนภายหลังจำหน่าย ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วัน หลังจำหน่าย และระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นทุกราย
คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพ, การพัฒนาระบบ, คนพิการทางการเคลื่อนไหว
Background and Rationale : Sakon Nakhon Hospital realize the importance of a quality service which corresponded with the vision of the hospital. Therefore, we have developed a health care system for the movement disability patient. The system emphasized on patient by development of patient and family skill to perform the self-care, which were able to confront with any problems appropriately and end up with a good quality of life.
Objectives: To improve the quality and potential health care for the movement disability patient.
Methods: It is a participatory action research which emphasized on the participation of stakeholder for situation analysis. The study with access to needs of service receivers and providers together with human resource development, system management planning, execution and joint process assessment. Data were collected and analyzed in both qualitative and qualitative methods.
Results: The study indicated that the development of health care system for the movement disability patients should be as follow. 1) One stop service, 2) holistic and continue health care process for 3 phases which are preparation phase, skill improvement phase and home care phase, 3) 24 hour phone service for health consulting at 042-715392 and 042-715364 and 4) Apply physical equipment which can be made locally at a low cost and compatible quality with the imported ones such as suspension bed, bed for eliminate bed sore, handgrip for finger exercise and pulley for shoulder exercise.
Conclusion: The developed health car system, after applied with 58 clients, revealed that all of the participants that received the nearby service station have the highest satisfactory level, no complication found after the service and no re-admission within 28 days after service with the improvement of life quality.
Key words: health care, system development, movement disability patient . . .
Full text.
|