Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Pediatric Pain Assessment at Recovery Room in Srinagarind Hospital

การประเมินความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ห้องพักฟื้นของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 1, Duenpen Horatanaruang (เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง) 2, Wimonrat Krisanaprakonkrit (วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ) 3, Yuwadee Huntula (ยุวดี หันตุลา) 4, Suthannee Simajareuk (สุธันนี สิมะจารึก) 5




 หลักการและเหตุผล: ความปวดเฉียบพลันเป็นปัญหาที่พบบ่อยภายหลังผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 1 ถึง 6 ปี เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกระดับความปวดของตนเองต่อผู้ดูแลได้ ความปวดจำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากความปวดไม่ได้รับการบำบัดจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระบบประสาทส่วนกลางได้ การประเมินความปวดควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย ในผู้ป่วยเด็กใช้การสังเกตพฤติกรรมเป็นวิธีการประเมินความปวดได้ ซึ่งในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้ใช้วิธีประเมินแบบ FLACC scale ประเมินความปวดในผู้ป่วยเด็ก

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการนำมาใช้โดยหาอัตราการประเมินความปวดวิธี FLACC scale ในผู้ป่วยเด็กที่ห้องพักฟื้น และความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนน FLACC กับการรักษา

รูปแบบการศึกษา:  ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา

 สถานที่ศึกษา: ห้องพักฟื้น ภาควิชาวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา: โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกของผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ในห้องพักฟื้นจำนวน 180 รายตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป ข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้แก่ เพศ อายุ ระดับ ASA ชนิดของการผ่าตัดและหัตถการ วิธีการที่ใช้ประเมินความปวด อัตราการใช้ FLACC scale ในการประเมินความปวด สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินและจำนวนครั้งที่ทำการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงเป็นค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็ก 180 ราย เพศชายร้อยละ 65 และร้อยละ 34 มีอายุระหว่าง 4 ถึง 6 ปี ผู้ป่วยเด็กร้อยละ 67 ในห้องพักฟื้นได้รับการประเมินความปวด ซึ่งเด็กที่ได้รับการประเมินนั้นวิธีการประเมินที่พยาบาลผู้ดูแลใช้มากที่สุดคือการประเมินวิธี FLACC scale ร้อยละ 98 ทั้งนี้พบว่าสาเหตุหลักของการที่ผู้ป่วยเด็กไม่ได้รับการประเมินขณะที่ได้รับการดูแลในห้องพักฟื้น เนื่องจากผู้ป่วยหลับคิดเป็นร้อยละ 46 ในด้านการรักษาอาการปวดพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 61 ได้รับการประเมินก่อนให้ยาระงับปวด อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยร้อยละ 21 ที่ระดับคะแนน FLACC มากกว่า 2 แต่ไม่ได้รับยาระงับปวด สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินความปวดก่อนการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยร้องไห้คิดเป็นร้อยละ 89 ค่าเฉลี่ยของคะแนน FLACC ก่อนและหลังให้การรักษาคือ 3.64 + 6.25 และ 3.27 + 8.26 ตามลำดับ

สรุป: การประเมินความปวดผู้ป่วยเด็กในห้องพักฟื้นมีอัตราการประเมินมากขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราการประเมินไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกรายตามที่คาดไว้ และยังคงมีผู้ป่วยเด็กบางรายที่มีค่าคะแนน FLACC มากกว่า 2 โดยไม่ได้รับการรักษาใดเลย จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการให้ความรู้แก่บุคลากรและการรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้ให้มากกว่านี้เป็นวิธีการที่อาจจะช่วยเพิ่มคุณภาพการประเมินและประสิทธิภาพในการรักษาความปวดแก่ผู้ป่วยเด็กในห้องพักฟื้นต่อไป   

Background: Acute pain is a common postoperative problem, especially among pediatric patients (between 1 and 6 years of age). Since children cannot report their pain to health care providers, pain needs to be promptly assessed as untreated pain may lead to sustained changes in the central neural system. Behaviour is also a useful measure and indicator of pain in children. In the Post Anesthetic Care Unit (PACU) at Srinagarind Hospital, the Face, Legs, Activities, Cry, Consolability (FLACC) scale is used for pain assessment.

Objectives: To determine the proportion of pediatric patients who have undergone the FLACC pain assessment scale in the PACU and the correlation between FLACC scale and treatment.

Design: Retrospective descriptive study

Setting: PACU, Department of Anesthesiology, Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

Materials & method: 180 pediatric (under 6 years of age) patients’ records in the PACU were reviewed since June 2005. Outcome measurements including sex, age, ASA status, type of operation and procedure, type of pain assessment, number of FLACC scale (0-10) used for pain assessment, causes of non-assessment and number of assessment were recorded. The results were analyzed using descriptive statistics and presented as means and percentages.

Results: Among the 180 pediatric patients, 65% were male and 34% were in middle childhood. 67% of pediatric patients in the PACU were assessed by FLACC pain scale. Almost all nurses (98%) used FLACC scale to assess pain in their pediatric patients. It was found that patients’ sleep (46%) at the time of admission to the PACU was the common cause of non-assessment. In term of pain treatment, 61% of the patients were assessed for their pain before treatment, however 21% of the patients having pain (FLACC>2) did not receive any pain treatment. The most common cause (89%) of non-assessment was due to patients’ crying. The mean of FLACC scale before and after treatment were 3.64 + 6.25 and 3.27 + 8.26, respectively.

Conclusion: The pediatric pain assessment was used in the PACU more frequently than previously surveyed; however the use rate was not 100% (as expected) and some of patients having pain (FLACC>2) did not receive any treatment. As a result, education and personnel support might be useful in order to improve the quality of pain assessment and treatment in the PACU.

Key words :  Pediatric pain assessment, FLACC scale, PACU    

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
Pediatrics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0