หลักการและเหตุผล: การประเมินประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุมุ่งเน้นที่การลดการเสียชีวิตและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุที่อาจป้องกันได้ ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักช่วงกลาง
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาประเมินการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุกระดูกต้นขาหักช่วงกลางในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบตามแผน
สถานที่ทำการศึกษา: หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยทุกคนที่มารับบริการ สาเหตุจากการบาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 3,000 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549- 31 พฤษภาคม 2549 คัดกรองมาเฉพาะกระดูกต้นขาหักช่วงกลาง
วิธีการเก็บข้อมูล: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกของหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน บัตรตรวจผู้ป่วยนอก เวชระเบียนผู้ป่วยใน
การวัดผล: วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 3,000 ราย กระดูกระยางค์ล่างหัก 129 ราย รับเป็นผู้ป่วยใน 80 ราย กระดูกต้นขาหักช่วงกลาง จำนวน 8 ราย( 9 ข้าง 1รายที่กระดูกต้นขาหัก 2ข้าง)ได้รับการผ่าตัดดามกระดูกต้นขาทุกราย ร้อยละ 100 ตามเกณฑ์การประเมิน ในรายที่มีการบาดเจ็บหลายแห่งหรือหลายระบบ จะใช้เวลาในห้อง Resuscitation นานกว่า 3 ชั่วโมงมีจำนวน 2 ราย โดยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บรุนแรง Injury Severity Score (ISS)> 27 มีระยะเวลาเฉลี่ยในการอยู่โรงพยาบาลนานกว่า คือ 18.5 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับ ISS < 13 เฉลี่ย 9 วัน ในรายที่มีการบาดเจ็บหลายระบบได้รับการผ่าตัดในช่องท้องร่วมด้วยพบตับมีรอยฉีกขาด ได้รับการเย็บซ่อม และทุกรายที่กระดูกต้นขาหักช่วงกลางรอดชีวิตทั้งหมด
สรุป: การประเมินผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักจากอุบัติเหตุเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการบาดเจ็บร่วมที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อน ในรายที่มีการบาดเจ็บรุนแรงหรือบาดเจ็บหลายแห่งหรือหลายระบบ การประเมินและการทำหัตถการต่างๆที่จำเป็นต่อการกู้ชีพ ควรกระทำโดยเร็ว จะสามารถลดการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุที่ป้องกันหรือรักษาได้ ระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาล แปรผันตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ
คำสำคัญ: ประเมินการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ, กระดูกต้นขาหักช่วงกลาง
Objective: To study trauma audit in mid-shaft femoral fractures in Srinagarind hospital.
Study Design: Prospective, descriptive study.
Setting: Accident & Emergency (A&E) Unit in Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.
Patients and Methods: All patients who had injuries in the A&E unit total 3,000 cases during January 1, 2006 and May 31, 2006. Fractures of mid-shaft of the femur were selected.
Data Collection: Trauma audit recording form developed by A&E Unit, database of trauma registry, inpatient medical records and card for the medical records
Measurement: Descriptive statistics, including number, percentages and means.
Results: In total trauma cases of 3,000, there were 129 cases of fracture of the lower extremities. Eighty were admit for treatment. Fractures of mid-shaft of the femur were diagnosed in 8 patients (9 femurs which one patient had bilateral femoral fractures). All patients who had femoral fractures were operated and fixed, pass the trauma audit filter. However, in cases of multiple fractures or multiple injuries spent longer period in the resuscitation room than the standard time that suggested. In severe cases, Injury Severity Score (ISS) > 27 had longer hospital stay, mean18.5 days, compared with non-severe cases ISS <13, mean 9 days. Multiple Injuries had abdominal injuries from liver laceration and repaired. All fracture of femur patients were survived and had no serious complication.
Conclusion: Trauma audit in fracture of mid-shaft of the femur is important in case of serious injuries. Multiple injuries, multiple fractures or severe injuries should be assessed as quickly as possible in order to resuscitate or do the emergency procedures. It will reduce the death and complications that can be prevented. Hospital stay is related to the severity of injuries.
Keywords: Trauma audit, mid-shaft femoral fracture.
. . .
Full text.
|