Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Internal Evaluation of Survey and Situation Assessment for Health Promotion in Public Health Education Institute, Thailand

การติดตามประเมินผลภายในโครงการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ในประเทศไทย

Chulaporn Sota (จุฬาภรณ์ โสตะ) 1, Nonglak Phanthajarunithi (นงลักษณ์ พันธจารุนิธิ) 2, Songpol Tonee (ทรงพล ต่อนี) 3, Virat Pansila (วิรัติ ปานศิลา) 4, Sompoch Ratioral (สมโภชน์ รติโอฬาร) 5, Yuvadee Rodjakpai (ยุวดี รอดจากภัย) 6, Maliwan Yuthitham (มะลิวัลย์ ยุติธรรม) 7




วัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาการติดตามประเมินผลภายในของโครงการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษา ด้านสาธารณสุข

         2.) เพื่อประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ

รูปแบบการศึกษา    เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและผู้ดำเนินการ การพัฒนาสถาบันสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัย นเรศวร  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยหัวเฉียว  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยบูรพา  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   จึงมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถาบันสาธารณสุขศาสตร์ ให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยการสัมภาษณ์  การสังเกต รวบรวมข้อมูลเอกสาร  นำมาวิเคราะห์เพื่อบรรยายโดยจัดหมวดหมู่  (Content  analysis)

ผลการศึกษา   หลังจากที่แผนงานพัฒนาสถาบันสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ได้ดำเนินการไป ประมาณ 1 ปี ในมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่มีสถาบันการศึกษาสาธารณสุข  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะและได้มีการจัดประชุมแกนนำและดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านต่างๆ โดยเมื่อแกนนำจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการอบรม ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพแล้ว ได้ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมโครงการต่างๆขึ้น กิจกรรมที่พบมากที่สุดได้แก่ การออกกำลังกาย  การรณรงค์ลดบุหรี่ และเครื่องดื่มที่ม่แอลกอฮอล์   กิจกรรมที่ดำเนินการน้อยได้แก่ การจัดการความเครียด ทั้งที่พบว่าเป็นปัญหาส่วนใหญ่ในทุกมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยทุกแห่งได้มีการจัดทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา โดยครอบคลุมด้านนโยบาย  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านพัฒนาทักษะส่วนบุคคล  และด้านพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและมีส่วนน้อยคือด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

พฤติกรรมสุขภาพ ของบุคากรและนักศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอมากที่สุด ส่วนใหญ่ออกกำลังกายเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนมากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำพวกผักและผลไม้มากที่สุด ส่วนอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพที่รับประทานบ่อย ได้แก่อาหารประเภททอด  ไข่แดงและผลิตภัณฑ์จากไข่แดง อาหารกรุบกรอบ และพยายามลดอาหารที่ทำลายสุขภาพ   จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่มีความเครียดสูง  ซึ่งมีสาเหตุจากการทำงานและการเรียนมากที่สุดรองลงมาได้แก่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ  มีการสูบบุหรี่และดื่มสุราน้อย  มีการตรวจสุขภาพแต่ไม่สม่ำเสมอมากที่สุด  

ผลการตรวจสุขภาพบุคลากร  ส่วนใหญ่พบว่าบุคลากรมีปัญหาสุขภาพที่คล้ายคลึงกันในทุกมหาวิทยาลัย เช่น ปัญหาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ   โรคภูมิแพ้  ไมเกรน   ระดับไขมันในเลือดและโคเลสเตอรอลสูง กว่าปกติ   ฮีมาโตคริตต่ำ   ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษา

ข้อเสนอแนะ ที่ทำให้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นสิ่งที่ท้าทาย ควรแสริมสร้างพลังอำนาจแก่แกนนำอย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์  ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายรูปแบบและมีมาตรการการจูงใจที่เหาะสมและพยายามผลักดันให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรและทำให้การสร้างเสริมสุขภาพเป็นวิถีชีวิต

สรุป  สถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขพบว่าเกิดนวัตกรรมต่างๆ ทั้งด้านนโยบายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  คณะกรรมการ กิจกรรมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ การเรียนการสอน  การวิจัยและบริการวิชาการสังคมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านต่างๆ ถึงแม้ยังไม่ครอบคลุม แต่ได้เห็นความริเริ่มได้อย่างชัดเจน ตลอดจนการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาพ

   คำสำคัญ   การติดตามประเมินผล   การสร้างเสริมสุขภาพ        สถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข

 

Objectives : 1.To study the Internal  evaluation  of survey and  situation assessment for health  promotion in     Public   Health Institute to be healthy workplaces.

                      2. To environment  assessment  of     healthy workplaces.

Design : Qualitative research was  conducted.

Method :Samples were administrators  and lecturers who responsible for health promotion  enhancement to be healthy university in seven Universities including

Naresuan university, Khon Kaen university, Mahasarakam university, Burapa university, Huachiew university, Sukhothaithumathirat  university and Walailuk university. Data collection was performed by  interviewing  and document studying which induced  observation as well as content analysis.

Results :  After  1 year implementation of the plan for Public Health Education Institutes for  health promotion. Healthy faculty committee of all Universities  were set and performed  for health promotion activities. The activities      mostly were physical  activities, cigartte smoking control  and alcohol consumption reduction. The uncommon activities was stress management  while this problem  was high. All university conducted health promotion activities according to the Ottawa Charter. Almost coverage  build healthy public, create supportive environment,  develop personal skills,  reorient health services  but  seldom   was done for strengthen community action. Most  staffs and students were  spent time for  physical activities but not regularity, food consumption highly  emphasize on   vegetable and fruit but  frequent consurption of high risk food were oil, egg  and  borax food, They highly stress, cause from working learning and economic, rare case for alcohol and tobacco abuse .They    physical  check up but not consistency.

        Physical examination results found that the most problem were peptic ulcer, allergic diseases ,  migraine, high cholesterol .including  low heamatocrit. The successful  was  challenged   depend on sustainable and consistency, require empowering of the committee, effective public relationship , motivation technique including  integrate cultural organization as  well as way of life for health.

Conclusion :  In addition the improved environment  inside and outside the building  for health, committee, activities, research, academic service, learning process  in health promotion including health promotion  modification in various aspects although not still coverage, but there clearly appear initiation as well as physical examination and environment approving.

Keywords: health promotion, assessment, Public Health Education Institute

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Exercise in Older Adults (การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ)
 
Health Care of the Golden Age Women (การรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง)
 
The Development of Health care Systems for the Movement Disability Patient at Sakon Nakhon Hospital (การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว ของสถานบริการเครือข่ายสุขภาพ โรงพยาบาลสกลนคร )
 
Self-care Behaviors of Chronic Otitis Media Patients at Out-Patient Department in Srinagarind Hospital (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Health Care Delivery
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0