หลักการและเหตุผล: วิธีการรักษามะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการผ่าตัด ซึ่งจะหายขาดได้ถ้าเป็นระยะเริ่มแรก ในกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้เพราะมีการลุกลาม และแพร่กระจายของรอยโรคมากแล้ว จนถึงปัจจุบันยังไม่พบวิธีการมาตรฐานในการรักษา ยาเคมีบำบัดที่มีการศึกษา และมีข้อมูลยืนยันมากที่สุดในการรักษาโรคนี้ คือ 5-FU ไม่ว่าจะใช้เป็นยาตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับยาตัวอื่นที่จะมาช่วยเสริมฤทธิ์ในการรักษา พบว่าใช้ได้ผลประมาณร้อยละ 20-30 ยา Capecitabine เป็นยา 5-FU ชนิดหนึ่งที่สามารถบริหารด้วยการรับประทานได้ และได้ผลดีสำหรับมะเร็งระบบทางเดินอาหาร คณะผู้วิจัยได้นำยาชนิดนี้มาศึกษาถึงผลของยา และความปลอดภัยในการใช้เป็นยาตัวแรกสำหรับการรักษามะเร็งท่อทางเดินน้ำดีในระยะท้ายที่ไม่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้
วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบนำร่อง โดยใช้ผู้ป่วย 12 รายที่ได้รับยา Capecitabine โดยในแต่ละรอบจะได้รับยาในขนาด 1,250 mg/m2 วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน เว้น 1 สัปดาห์ นับเป็นหนึ่งรอบการรักษา การประเมินผลของการรักษาจะทำหลังได้รับยาเคมีบำบัดครบ 3รอบ และ 6 รอบ โดยดูการตอบสนองต่อการรักษา(response rate) ค่าเฉลี่ยของการกระจายโรค(time to progression ,TTP) และค่าเฉลี่ยระยะเวลารอดชีวิต (overall survival) ผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อยาแบบ partial response และ stable disease หลังได้รับยา 3 รอบ จะได้รับยาต่อจนครบ 6 รอบ แต่ถ้าผู้ป่วยมีการแพร่กระจายของโรคก็จะหยุดให้ยา
ผลการวิจัย: ในผู้ป่วย 12 ราย มี 9 รายที่ได้รับยาครบ 3 รอบ สาเหตุที่มีผู้ป่วยได้รับยาไม่ครบเนื่องจาก progressive disease (PD) 2 ราย และขาดการติดตามการรักษา 1ราย ในผู้ป่วยที่ได้รับยาครบ 4 รอบ พบว่ามี partial response 2 ราย และ stable disease 3 ราย ในผู้ป่วยที่ partial response ยังคงมี partial response หลังได้รับยาครบ 6 รอบ ค่า median TTP เท่ากับ 4.4 เดือน (95% CI, 1.5-7.3) ผลข้างเคียงของยาพบน้อยมาก และสามารถหายได้หลังจากหยุดยาแล้ว มีผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย เนื่องจาก PD และอีก 7 รายยังคงมีชีวิตอยู่ขณะที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุป: ยา Capecitabine เป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะท้ายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี โดยพบว่ามีผลข้างเคียงต่ำ
Background: Cholangiocarcinoma is the most common malignancy in North-Eastern Thailand. While surgery is the only curative method in patients with early stage disease, chemotherapy is rarely curative in advanced patients. 5-FU based combinations are commonly used, resulting in response rates of 20-30 %. Capecitabine is an oral fluoropyrimidine that generates 5-FU in the tumor site, is highly active and well tolerated in patients with gastrointestinal cancers. Therefore we evaluated the efficacy and safety of Capecitabine as first line therapy in patients with advanced cholangiocarcinoma.
Methods: Our study was an assign stepping evaluation. In the first step 12 patients received six cycles of Capecitabine 1250 mg-m2 twice daily on days 1st -14th , every 3 weeks. The primary endpoint was overall response rate (evaluated after the 3rd and 6th cycles of Capecitabine); secondary endpoints were time to progression (TTP) and overall survival (OS). Patients with partial response (PR) or stable disease (SD) after 3 cycles received 6 cycles of treatment. Patients are to be enrolled in the second step if there is at least one response in the first 12 patients.
Results: Of the 12 patients enrolled in the first step, 9 completed 3 cycles of Capecitabine. Reasons for not completing were progressive disease (PD) after 1 and 2 cycles (n=2) and lost follow up after 1 cycle (n=1). Intention to treat analysis after 3 cycles of Capecitabine showed 2 PR (17%) and 3 SD (25%). One patient with initial PR still has a PR after completing 6 cycles of therapy. Median TTP is 4.4 months (95% CI, 1.5-7.3). Median survival has not yet been reached. Stomatitis was the most common adverse event reported (58%, 7 of 12) and 2 patients (17%) developed grade ¾ adverse events (diarrhea, hand-foot syndrome, skin cutaneous ulceration and stomatitis). All adverse events were manageable and resolved after Capecitabine dose reduction. There were 5 deaths considered due to PD and 7 patients were still alive at the time of analysis.
Conclusion: Capecitabine appears to be well tolerated and has modest efficacy in patients with inoperable cholangiocarcinoma, which is highly resistant to chemotherapy. Further investigation with larger numbers of patients is warranted to confirm the benefit of Capecitabine.
Keywords : Capecitabine , cholangiocarcinoma , advanced . . .
Full text.
|