หลักการและเหตุผล: พืชผักพื้นบ้านหลายชนิดที่คนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับประทานอยู่เป็นประจำนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากนัก
วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ระงับปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชผักพื้นบ้านอีสาน 10 ชนิด
วิธีการ: การตรวจหาฤทธิ์ระงับปวดโดยใช้ writhing test และ tail flick test สำหรับการตรวจฤทธิ์ต้านอักเสบ ใช้ rat hind paw edema model และทดสอบสถิติด้วย students t test
ผลการศึกษา: การทดสอบใช้สารสกัดพืชผักพื้นบ้านด้วยน้ำ ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัวของหนูเพศผู้ 1 กิโลกรัม การทดสอบฤทธิ์ระงับปวดโดยการใช้ writhing test พบว่าสารสกัดจาก ใบตำลึง, ใบย่านาง, ผักติ้วแดง, ผักกาดฮีน, มะระขี้นก, ผักชะพลู และผักชีลาว มีผลลดการเกิด writhing ในหนู 35-64 %(p<0.05) จากนั้น คัดเลือกสารสกัดที่มีฤทธิ์มากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ ใบตำลึง, ใบย่านาง, ผักติ้วแดง และผักกาดฮีน มาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยใช้ carrageenen เป็นสารกระตุ้น พบว่าสารสกัดทั้ง 4 ชนิดไม่มีฤทธิ์ต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง และจากการทดสอบฤทธิ์ระงับปวดด้วย tail flick test พบว่าสารสกัดจากใบตำลึงและใบย่านาง มีฤทธิ์ระงับปวด
สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปว่า พืชผักพื้นบ้านอีสานบางชนิด ได้แก่ ใบตำลึง, ใบย่านาง, ผักติ้วแดง และผักกาดฮีน มีฤทธิ์ระงับปวด แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งสารสกัดจากใบตำลึงและใบย่านางอาจจะออกฤทธิ์ระงับปวดต่อระบบประสาทส่วนกลาง
Background: Northeast region of Thailand is one of the rich source of vegetables, the favorite Thai food in daily diet. There are very few pharmacological studies in folk vegetables.
Objectives: This study described screening tests for the analgesic and anti-inflammatory activities of 10 local vegetables inhabitated in the Northeast region of Thailand.
Method: Analgesic activity was assessed by writhing test and tail flick test. Anti-inflammatory activity was assessed by rat hind paw edema model.
Results: The water extract of vegetables at 1 g/kg administered orally in Swiss albino male mice was used to test for analgesic activity in the acetic acid-induced writhing test model. The extracts from Coccinia grandis (L.) Voigt., Tiliacora triandra Diels., Barringtonia acutangula Gaerth., Brassica juncea (Linn.) Czern&Coss., Limnophila aromatica (Lomk) Merr., Piper samentosum Roxb. Ex. Hunter and Anethum graveolens Linn. elicited significant inhibition of writhing reflex by 35-64% (p<0.05) when compared with diclofenac (72% inhibition) The four most potent extracts were further tested for anti-inflammatory activity. However, none of them possessed any anti-inflammatory effect in carragenan-induced rat paw edema assay. Nevertheless, the extracts from Coccinia grandis (L.) Voigt. and Tiliacora triandra Diels. showed weak analgesic activity in tail flick test.
Conclusions: It was concluded that the Northeast Thailand local vegetables such as Coccinia grandis and Tiliacora triandra show some analgesic property and none has anti-inflammatory action. . . .
Full text.
|