Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

An Invention of Accessory Device for Paranasal Sinuses Radiography

การประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกในท่ายืน

Banjong Keonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 1, Petcharakorn Hanpanich (เพชรากร หาญพานิชย์) 2, Pornchai Shinkhamharn (พรชัย ชินคำหาญ) 3




หลักการและเหตุผล :   ภาพรังสีธรรมดา(Plain  film)  โดยเทคนิคการถ่ายภาพท่าวอเตอร์ ( Water)  และท่าคาล์ดเวล  (Caldwell)สำหรับผู้ป่วยในรายที่มีการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก (Paranasal Sinusitis) ในท่ายืนจะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นร่องรอยของโรคได้ดี  เนื่องจากพยาธิสภาพที่มีลักษณะเป็นของเหลวและอากาศจะแยกออกจากกันชัดเจน     แต่โรงพยาบาลชุมชนโดยทั่วไปที่มีแท่นยืนบักกี้ (Bucky stand)    มักจะไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพรังสี 2 ภาพในฟิล์มแผ่นเดียวกันได้ และแม้ว่าโรงพยาบาลบางแห่งมีอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกชนิดที่สามารถถ่ายภาพรังสีทั้ง 2  ท่าในฟิล์มแผ่นเดียวกันได้  แต่ก็จะไม่สามารถนำมาใช้ถ่ายภาพรังสีในท่ายืนได้    จึงต้องถ่ายภาพรังสีทั้งสองเทคนิคด้วยการใช้ฟิล์มขนาด  8 x 10  นิ้ว จำนวน 2 แผ่น  ซึ่งนอกจากจะไม่ประหยัดแล้วยังทำให้ได้ภาพรังสีที่ไม่มีความคมชัด   และการเปิดลำรังสีให้ครอบคลุมเต็มแผ่นฟิล์มยังทำให้ผู้ป่วยได้รับผลคูณของปริมาณรังสีกับพื้นที่ที่รับรังสีมากเกินความจำเป็น   การสร้างอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้

วัตถุประสงค์    เพื่อสร้างอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกที่มีสามารถใช้ได้กับแท่นยืนบักกี้ที่มีอยู่แล้ว โดยถ่ายภาพรังสีทั้ง  2 ท่าในฟิล์มแผ่นเดียวกันและช่วยลดพื้นที่ในการรับรังสีให้แก่ผู้ป่วย  

รูปแบบการศึกษา : เชิงทดลอง

สถานที่ทำการศึกษา : หน่วยรังสีวินิจฉัย  ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการ  :  การดำเนินการแบ่งเป็น 3  ขั้นตอน  ขั้นตอนแรกเป็นการวางแผนและออกแบบอุปกรณ์  หลังจากนั้นจึงทำการสร้างอุปกรณ์ตามที่ได้ออกแบบไว้  แล้วทำการทดสอบประสิทธิผลของอุปกรณ์  ได้แก่    ความสามารถในการถ่ายภาพ 2 ท่าในฟิล์มเดียวกัน   การเปรียบเทียบเงามัวนอกลำรังสีเมื่อใช้ และไม่ใช้อุปกรณ์เสริม  และการเปรียบเทียบผลคูณของปริมาณรังสีกับพื้นที่ที่รับรังสี (dose area product)  เมื่อใช้และไม่ใช้อุปกรณ์เสริม 

ผลการวิจัย : 1.อุปกรณ์เสริมที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้กับแท่นยืนบักกี้ช่วยให้สามารถถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกในท่ายืนได้   ภาพรังสีที่ได้มีขอบเขตของลำรังสีชัดเจน ไม่มีเงามัวนอกขอบเขตของลำรังสี และ. ช่วยให้ลดผลคูณของปริมาณรังสีกับพื้นที่ที่รับรังสีจากการถ่ายภาพรังสีแบบที่ใช้สองฟิล์มได้ถึง 70.9  % 

สรุปผลวิจัย : อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถสวมเข้ากับแท่นยืนบักกี้ได้

พอดี  จึงสามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพรังสีโพรงอากาศข้างจมูกในท่ายืนได้      ตัวอุปกรณ์สามารถเคลื่อนย้ายหรือถอดออกเพื่อจัดเก็บได้เมื่อเลิกใช้งานแล้ว  สามารถใช้แบ่งถ่ายภาพรังสี ในฟิล์มขนาด 8 x10 นิ้ว ได้ 2 ภาพในฟิล์มแผ่นเดียวกัน   ภาพรังสีที่ได้จากการใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นช่วยในการแบ่งขอบเขตของภาพในฟิล์มที่ชัดเจนและไม่เกิดเงามัวนอกลำรังสี       นอกจากนั้นยังสามารถลดผลคูณของปริมาณรังสีกับพื้นที่ที่รับรังสีได้ถึง   70.9 %     เมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายภาพรังสีแบบที่ใช้สองฟิล์ม

Background   Plain  films  from the Water’s view and the Caldwell’ s view   in  an erect  projection  can  help  physicians see the pathology of  sinusitis through the differences between clear fluid  and air level. However, the Bucky stand which is a common device used in most of the community hospital in Thailand cannot  take two views in  one  film.( Although some supporting devices can do this, their limitation is suitable only for a supine  projection.) Thus, a radiographer usually uses two films for this purpose with causing unclear image. This leads to more cost, more radiation dose. As a result, an innovative device is needed to solve these problems.

Objective   To invent an accessory device for paranasal  sinuses radiography in order to be equipped with the Bucky stand and  able to take two radiograph in an erect projection in one film. And  also  it can help  to reduce the field size of radiation exposure. 

Design :  An experiment  study

Setting : The  X ray room No. 3 at  Srinagarind  Hospital, Faculty of  Medicine, Khon Kaen University.

Material & Method :   The following three procedures are employed. First, planning and Designing  a device.  The second, inventing a device.  Finally, testing its effectiveness in these aspects:  taking two radiographs  in  one  film, comparing the outline sharpness with and without the device, and comparing dose area product with and without the device.

Result :   The findings reveal  that the device can be conveniently fitted to the Bucky stand.   It can  be  use  for erect projection  and provides better sharpness outline images than those without this device. This  device  can  also  help to reduce dose area product by 70.9% comparing with the two–film.

Conclusion :    This device can be easily attached to the Bucky stand facilitating needed  sinus  radiography in the erect  projection. It is very handy as it is easy to fixed and removed. It  supports  taking the  Water’s  view  and  Caldwell’s  view in  one film.  Moreover, quality of the radiographic  image has greatly been  improved by the device.  By  DAP meter  measurement, through this device, the radiation dose area product  significantly decreases by  70.9 % compared with two-view method. 

 

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0