หลักการและเหตุผล เนื้อหาของข้อสอบรวบยอด (comprehensive examination) ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้เป็นเครื่องมือตัดสินว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่นั้น ต้องเป็นความรู้ในระดับที่จำเป็นต้องรู้ (essential knowledge) เราใช้ข้อสอบร่วมระหว่างกลุ่ม 4 สถาบัน มาตั้งแต่ปี 2543 ฝ่ายวิชาการจึงเห็นสมควรทำการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาของภารวิชาคลินิกที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และสรุปเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ภาควิชาที่รับผิดชอบการสอนในรายวิชาต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา หน่วยส่งเสริมพัฒนาทางวิชาการและการศึกษาหลังปริญญา ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประชากรที่ศึกษา ข้อสอบชนิด Multiple Choice Questions (MCQ) 2 ฉบับๆ ละ 150 ข้อ เป็นข้อสอบกลางจากคณะแพทยศาสตร์ส่วนภูมิภาค ที่ใช้ในการสอบรวบยอดวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสำหรับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2548
วิธีการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อสอบ 300 ข้อ เป็นค่าทางสถิติดังต่อไปนี้ คะแนนสูงสุดและคะแนนต่ำสุด คะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงของแบบทดสอบ และความความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด ความยากง่ายของข้อสอบ และอำนาจจำแนกของข้อสอบ นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ข้อสอบแยกเป็นรายวิชาและหาค่าสถิติเช่นเดียวกับข้างต้น
ผลการศึกษา ข้อสอบส่วนใหญ่อยู่ในระดับความยากง่ายปานกลาง ถึงง่าย ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอบรวบยอด คือมีความรู้ในระดับที่จำเป็น เพื่อให้สำเร็จการศึกษา ค่าวความเที่ยงของข้อสอบฉบับที่ 1= 0.51 และฉบับที่ 2= 0.60 ค่าความเที่ยงของข้อสอบโดยรวมของแต่ละชุดจะต่ำกว่าค่ามาตรฐานสำหรับการประเมินผลแบบ summative evaluation นั่นคือ มากกว่า 0.7 สำหรับข้อสอบที่ผู้สอนเป็นผู้ออก และมากกว่า 0.9 สำหรับข้อสอบที่ปรับให้ได้มาตรฐานแล้ว
สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษานี้จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการออกข้อสอบแบบรวบยอด เพื่อปรับปรุงคุณภาพของข้อสอบในอนาคต นอกจากนั้น เนื่องจากว่าเราได้วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในภาควิชาต่างๆ ข้อมูลพื้นฐานนี้ยังสามารถเป็นข้อมูลตอบกลับไปยังภาควิชาต่างๆ ในกรณีที่จะปรับปรุงหลักสูตร การตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และปรับปรุงกระบวนการเรียนด้วย
Background : The content in the comprehensive examination which is the graduation exam for the KKU medical students has to be the minimal essential knowledge. The post-test item analysis will be able to reflect this qualification of the test examination for further development.
Objective :To assess the overall reliabilityas well as the difficulty index and discrimination power for all the questionsof two MCQ exam papers (150 items/paper) used as comprehensive examinations for 6th-year clinical sciences by medical students at Khon Kaen University, Thailand.
Design : Descriptive study
Subjects : 300 MCQ items of the comprehensive examination for the 6th-year Khon Kaen Medical students
Results : Most of the questions were of a moderate to an easy degree of difficulty, corresponding to the objective of the comprehensive exam, which is to assess the minimal but essential knowledge of medical students before they can graduate. Notwithstanding, the overall reliability of each paper was low compared to the recommended values for summative evaluations (i.e. >0.7 for a teacher prepared test and 0.9 for a standardized test).
Conclusion : This assessment will be used as a guideline by the Comprehensive Examination Committee to improve the quality of future tests. Additionally, since we analysed the achievement of the students in different disciplines, this baseline data can also be used as a feedback for each Department when reviewing the curriculum, setting teaching objectives and improving the learning context. . . .
Full text.
|