วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการประเมินการสอนโดยนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาทันตแพทย์และอาจารย์ผู้สอน เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนวิชาวิสัญญีวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา วิธีการศึกษา: ศึกษานักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2547 ในครึ่งปีการศึกษาแรก และนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2546 เป็นกลุ่มก่อนปรับปรุงการสอน และ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2547 ในครึ่งปีการศึกษาหลัง และนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2547 เป็นกลุ่มหลังปรับปรุงการสอน รวบรวมข้อมูลผลประเมินการสอนแบบบรรยาย การสอนแบบปฏิบัติการ การสอนขณะปฏิบัติงาน การสอนแบบสัมมนากลุ่ม โดยนักศึกษาและอาจารย์ในภาควิชา ให้ค่าคะแนนเป็น 1-4 (1= ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง, 2 = ควรปรับปรุง, 3 = เหมาะสม, 4 = เหมาะสมอย่างยิ่ง) จากนั้นนำผลประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการสอนแล้วทำการประเมินผลซ้ำ รวมทั้งประเมินแบบวัดผลที่ใช้ในการประเมินนักศึกษา (MCQ, MEQ, OSCE, anesthesia report) ผลการศึกษา: วิชาวิสัญญีวิทยามีหัวข้อบรรยาย 13 หัวข้อ (ค่าเฉลี่ยก่อนและหลังปรับปรุงตามลำดับ 3.81-3.91 และ 3.80-3.91) การสอนแบบปฏิบัติการ 3 หัวข้อ (ค่าเฉลี่ยก่อนและหลังปรับปรุงตามลำดับ 3.89-3.94 และ 3.88-3.95) การสอนขณะปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด (ค่าเฉลี่ยก่อนและหลังปรับปรุงตามลำดับ 3.94-4.00 และ 3.90-3.98) ผลการประเมินก่อนและหลังปรับปรุงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแบบให้คะแนนข้อสอบ OSCE และการเขียนรายงานยังมีข้อบกพร่องทั้งในตัวแบบประเมินและผู้ใช้แบบประเมิน ส่วนผลการประเมินของนักศึกษาทันตแพทย์ภาคบรรยายและภาคปฎิบัติพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้น สรุป: การปรับปรุงการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิชาวิสัญญีวิทยาด้านการเรียนการสอนและการวัดผลพบว่าอยู่ในระดับดีทั้งในระยะก่อนและหลังการปรับปรุง อย่างไรก็ตามพบโอกาสในการปรับปรุงแบบประเมินการสอบ OSCE และการเขียนรายงานเพื่อให้มีความเที่ยงในการประเมินนักศึกษามากขึ้น รวมทั้งการสอนแบบบรรยายของนักศึกษาทันตแพทย์
Objective: To improve the instruction of integrated anesthesiology to medical and dentistry students using the evaluations of both students and lecturers as a basis for changes. Design: Descriptive study Methods: We included 161 and 87 fifth-year medical and dentistry students (academic year 2003-2004), respectively. We collected evaluation forms before and after improvement. The data evaluated comprised lectures, skills-teaching, practice teaching, and discussions by students and lecturers. The scoring range was: 1 (very poor), 2 (poor), 3 (good) and 4 (excellent). We also evaluated MCQ, MEQ, OSCE, and anesthesia reporting using reliability testing, and difficulty and discrimination indices. Results: The before and after improvement testing of 13 lecture topics, 3 skills-teachings and practice teaching were not significantly different (i.e. 3.81-3.91 and 3.80-3.91, 3.89-3.94 and 3.88-3.95, 3.94-4.00 and 3.90-3.98, respectively). The OSCE and anesthesia reporting checklist had poor reliability because of ambiguity in some of the checklist items and standardization. Ultimately, the dentistry student's evaluation had a higher post-improvement score. Conclusion: Both before and after improvement, both students and lecturers had a high level of satisfaction vis-?-vis the integrated anesthesiology course. We had chance to an improvement in the OSCE checklist, anesthesia reporting, and the instruction of this subject to dentistry students.
. . .
Full text.
|