Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Patient satisfaction with postoperative pain management at recovery room in Srinagarind Hospital

ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 1, Wattana Tantanatewin (วัฒนา ตันทนะเทวินทร์) 2




หลักการและเหตุผล: การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริการทางวิสัญญี โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการบริการระงับปวดหลังผ่าตัด ทีมผู้ให้บริการะงับปวดได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น จึงได้ทำการศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น

รูปแบบการศึกษา: การศึกษาไปข้างหน้า เชิงพรรณนา

สถานศึกษา: หอผู้ป่วย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา: สุ่มตัวอย่างศึกษาในผู้ป่วย 200 ราย ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ที่หอผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ในเดือน กันยายน 2546 โดยวิธีการตอบแบบสอบถามชนิดให้ผู้ป่วยตอบเองหรือใช้วิธีสัมภาษณ์กรณีที่ ผู้ป่วยไม่สามารถตอบเองได้ โดยวัดระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดหลังผ่าตัด 5 ระดับ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความปวด ได้แก่ ระดับคะแนนความปวด และการบรรเทาอาการปวดหลังได้รับการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยประเมินระดับความพึงพอใจต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น อยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก ร้อยละ 36 และ 35 ตามลำดับ ผู้ป่วยร้อยละ 46 มีอาการปวดหลังผ่าตัดขณะอยู่ในห้องพักฟื้น โดยมีระดับความปวดปานกลางและระดับมาก ร้อยละ 36.96 และ 29.35 ตามลำดับ การบรรเทาอาการปวดภายหลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยหายปวดปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 52.94 และหายปวดเล็กน้อยรองลงมา ร้อยละ 23.53

สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 71 มีความพึงพอใจต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น อย่างไรก็ตามมีความยากในการศึกษาความพึงพอใจต่อการระงับปวดขณะที่อยู่ในห้องพักฟื้น เนื่องจากอาจมีผลของยาสลบหลงเหลืออยู่และผู้ป่วยอาจจำเหตุการณ์ที่อยู่ในห้องพักฟื้นไม่ได้ ทำให้ยากที่จะได้ผลการศึกษาที่แท้จริงและจากการศึกษานี้ทีมผู้ให้บริการระงับปวดพบปัจจัยที่จะนำมาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการระงับปวดต่อไป

Background: The assessment of patient satisfaction is one of the most significant indicators for the improvement of anesthetic service, especially postoperative pain relieving service. We fully realized its importance. In order to improve its performance and health service, this survey on patient satisfaction has been conducted.

Objective: To study patient satisfaction with postoperative pain management and also other additional outcomes relating to patient’s pain in recovery room.

Design: Both prospective and descriptive studies

Setting: Surgical ward at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Materials & methods: A total of 200 patients have been self-administered questionnaire and interviewed in the survey within 24 hrs after surgery in surgical ward at Srinagarind Hospital. The level of patient satisfaction (5 scales) was assessed. Other pain related outcomes such as pain scores (NRS; 0-10) and pain relief were also assessed.

Results: The level of patient satisfaction with pain management was rated as fair and satisfied about 36% and 35% respectively. Forty–six percent of the patients reported pain after surgery. Among these patients, moderate and severe pain were reported as 36.96% and 29.35% respectively. Regarding the level of pain relief after treatment, we found that 52.94% had moderate pain relief and 23.53% had mild pain relief.

Conclusion: The satisfaction level in terms of pain management was rated as fair and satisfied in 71% of the patients; however it was quite difficult to survey on patient satisfaction at recovery room. As some residual effects from anesthesia and patients impaired memory in recovery room, we found it very difficult to get the exact results. After this study, we found a number of possible ways to improve our pain service.

Key words: Satisfaction, postoperative pain management, recovery room

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
Statistics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0