หลักการและเหตุผล:
โดยทั่วไปการให้ยาระงับความรู้สึกชนิด general anesthesia มักนิยมใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ที่สำคัญในการช่วยใส่ท่อช่วยหายใจคือ laryngoscope blade จากการศึกษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ในปี พ.ศ.25451 มีการตรวจพบเชื้อก่อนการใช้งานสูงและเนื่องจากการใช้ laryngoscope blade มีโอกาสสัมผัสเยื่อบุสารคัดหลั่ง อาจทำให้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคต่างๆซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ ดังนั้นวิธีการดูแลรักษาความสะอาดของ laryngoscope blade ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ปราศจากเชื้อตลอดการเก็บรักษา ลดการปนเปื้อนหลังการใช้งานและก่อนการนำไปใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัย
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอัตราการปนเปื้อนของ laryngoscope blade ภายหลังการทำความสะอาดด้วยฮีบีสครับ (Hibiscrub) ความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกที่สะอาดหุ้ม
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา
กลุ่มตัวอย่าง: ศึกษา laryngoscope blade แบบโค้ง เบอร์ 3 ก่อนการใช้งาน จำนวน 99 ตัวอย่าง
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษา laryngoscope blade แบบโค้ง เบอร์ 3 ที่ใช้งานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ มิถุนายน 2547 ถึง มกราคม 2548 โดย laryngoscope blade ที่ได้รับการทำความสะอาดด้วยฮีบีสครับความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกที่สะอาดหุ้มเตรียมไว้ก่อนใช้งาน และได้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อเพาะเชื้อโดยการใช้ไม้พันสำลีจุ่ม sterile water ป้ายที่ laryngoscope blade จากบริเวณกระเปาะของหลอดไฟลงมาถึงปลายสุด ป้ายโดยรอบขนาด 1 ตร.นิ้ว แล้วนำมาบรรจุใน transporting media โดยไม้พันสำลี 1 อันจะใช้สำหรับ laryngoscope blade 1 อัน แล้วนำส่งเพาะเชื้อ
การวัดผล: ผลการเพาะเชื้อที่ได้นำมาวิเคราะห์ การตรวจสอบพบเชื้อคิดเป็นร้อยละและจำแนกชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
ผลการศึกษา: ศึกษา laryngoscope blade แบบโค้ง เบอร์ 3 จำนวน 99 ตัวอย่าง ผลการเพาะเชื้อพบมีอัตราการปนเปื้อนเชื้อร้อยละ 2.02 (95%CI 0.25, 7.11) (2 ตัวอย่าง) เชื้อที่พบคือ Staphylococcus coagulase negative และ Streptococcus spp. โดยห้องผ่าตัดที่ตรวจพบเชื้อคือ ห้องผ่าตัดโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ และห้องผ่าตัดนรีเวช
สรุป: การทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธี chemical sterilization ของ laryngoscope blade ด้วยฮีบีสครับความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกที่สะอาดหุ้ม พบว่ามีอัตราการตรวจพบเชื้อร้อยละ 2.02 ซึ่งมีอัตราการตรวจพบเชื้อต่ำ และอยู่ในอัตราตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยทั่วไปได้อย่างปลอดภัยในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำควรมีการทำความสะอาดเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
คำสำคัญ: การปนเปื้อน , laryngoscope blade , การทำให้ปราศจากเชื้อ
Abstract
Background:
Contaminated laryngoscope blades may be the cause of respiratory tract infection in patients intubated under general anesthesia. In a previous study done at Srinagarind Hospital (2002)1, a high incidence of contaminated laryngoscope blades was found. Methods for effective cleaning of laryngoscope blades are needed to improve patient safety.
Objective: To determine the incidence of microbial contamination of laryngoscope blades after decontamination with 4% hibiscrub and 70% alcohol with a plastic bag covering.
Design: Descriptive study
Methods: We collected curved laryngoscope blades (number 3) after use in the surgery at Srinagarind Hospital between June 2004 and January 2005. All of the blades were sterilized with 4% hibiscrub followed by a wiping with 70% alcohol while covered with a plastic bag. Swabs samples were then taken by wiping a cotton bud along the base to the tip of blade then cultured. The results were recorded as positive or negative findings.
Results: Ninety-nine samples from laryngoscope blades were collected. The incidence of positive findings among the sterilized laryngoscope blades after using the chemical method was 2.02 % (95%CI 0.25, 7.11) (2 samples). The organisms were Staphylococcus coagulase negative and Streptococcus spp. Contamination of laryngoscope blades used in the ENT operation room and the Gynecological operation room.
Conclusion: Our technique for laryngoscope blade sterilization resulted in a low incidence of contamination (2.02%) . Consideration should be given this approach to sterilization, especially for patients with compromised immunity.
Keywords: Contamination, laryngoscope blade, sterilization