Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand.

ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น

Sukree Soontrapa (สุกรี สุนทราภา) 1, Suppasin Soontrapa (ศุภศิลป์ สุนทราภา) 2, La-Or Chailurkit (ละออ ชัยลือกิจ) 3, Chuanchom Sakondhavat (ชวนชม สกนธวัฒน์) 4, Srinaree Kaewrudee (ศรีนารี แก้วฤดี) 5, Woraluk Somboonporn (วรลักษณ์ สมบุรณ์พร) 6, Kesorn Loa-unka (เกษร เหล่าอรรคะ) 7




หลักการและเหตุผล:

วิตามินดีมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมากคือส่งเสริมให้มีการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ส่งเสริมให้มีการสะสมแคลเซียมเข้าในกระดูก และช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น หากขาดวิตามินดีจะทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดลดลงและกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ เกิดภาวะ secondary hyperparathyroidism ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) และนำไปสู่ภาวะของโรคกระดูกพรุนในที่สุด กระดูกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือคอกระดูกต้นขา (femoral neck)

จากการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับความชุกของภาวะขาดวิตามินดีของสตรีสูงอายุในเขต เทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่าระดับของ calcidiol ที่ <35 ng/ml เป็นระดับของการขาดวิตามินดี และพบว่าความชุกของการขาดวิตามินดีของสตรีสูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดขอนแก่นมีสูงถึงมากกว่าร้อยละ 60 ในขณะที่ความชุกของการขาดวิตามินดีของสตรีสูงอายุในเขตชนบทกลับพบต่ำกว่าอย่างมาก คือพบได้น้อยกว่าร้อยละ 20 จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับระดับของวิตามินดีและความชุกของการขาดวิตามินดีในสตรีภายหลังการหมดประจำเดือนหรือสตรีวัยทอง

วัตถุประสงค์:

วัตถุประสงค์หลัก – หาความชุกของการขาดวิตามินดีในสตรีวัยทอง

วัตถุประสงค์รอง 1. หาค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดี (calcidiol) ในสตรีวัยทอง

    1. หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า calcidiol และ parathyroid hormone ของข้อมูลรวม
    2. หาระดับของ calcidiol ที่ถือว่ามีการขาดวิตามินดีของข้อมูลรวม

รูปแบบการศึกษา: Cross-sectional descriptive study

สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกวัยหมดประจำเดือน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

การวัดผล: วัดระดับ calcidiol, PTH และ alkaline phosphatase ใน serum

ผลการศึกษา: สตรีวัยทองที่เข้าร่วมโครงการและเข้าเกณฑ์มีจำนวนทั้งสิ้น 98 ราย ในขณะที่ข้อมูลเดิมของสตรีสูงอายุในเขตเมืองมีจำนวน 104 ราย และสตรีสูงอายุในเขตชนบทมีจำนวน 130 ราย รวมทั้งสิ้น 332 ราย พบว่าค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)ของระดับ calcidiol ในสตรีวัยทองเท่ากับ 32.58 (8.93) ng/ml และความสัมพันธ์ระหว่างค่า calcidiol และ PTH มีความสัมพันธ์ในเชิงเส้นตรงชนิดผกผัน (p-value<0.001) โดยมีค่า correlation coefficient (r) = -0.265 และพบว่าค่า calcidiol ที่ <35 ng/ml ยังคงเป็นระดับที่ทำให้ PTH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งถือเป็นระดับของ vitamin D deficiency และพบว่าความชุกของ vitamin D deficiency ในสตรีวัยทองเท่ากับร้อยละ 60.2

สรุป:

สตรีวัยทองมีความชุกของภาวะขาดวิตามินดีสูง ร่วมกับมีค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดีที่ต่ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ดังนั้นการออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อรับแสงแดด หรือรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง หรือรับประทานยาเสริมวิตามินดีให้ได้ตามความต้องการในแต่ละวันอาจเป็นสิ่งจำเป็น

Background

Vitamin D is essential for bone strength and development. It enhances intestinal absorption of calcium and its apposition to bone. It also increases muscle strength. In vitamin D deficiency condition, blood calcium is depressed, parathyroid hormone production is stimulated resulting in secondary hyperparathyroidism which promotes bone turnover. Cortical bone is the primary site affected, particularly at the femoral neck.

In previous studies, we documented an average calcidiol level of £  35 ng/ml as vitamin D deficiency. A very high (> 60%) prevalence of vitamin D deficiency was found among urban elderly women in Khon Kaen, in contrast to less than 20% among their rural counterparts. Until now, only limited data has been available on the average level of calcidiol and prevalence of vitamin D deficiency among postmenopausal women in Thailand.

Objectives

Primary: Ascertain the prevalence of vitamin D deficiency among postmenopausal women

Secondary: 1. Find out the average vitamin D (calcidiol) level in postmenopausal women

                   2. Find out the correlation between calcidiol and PTH in the pooled data

                 3. Find out the calcidiol level which indicates the level of vitamin D deficiency in the pooled data

Design Cross-sectional, descriptive study

Setting Postmenopausal Clinic, Srinagarind Hospital, Khon Kaen, Thailand

Outcome measurement Serum calcidiol, PTH, and alkaline phosphatase

Results The pooled data set comprised 332 cases including 98 cases of postmenopausal women, 104 cases of previously cited urban elderly women, and 130 cases of rural elderly women. The mean (SD) calcidiol level among the postmenopausal women was 32.58 (8.93) ng/ml, and calcidiol and PTH had reverse relation with the correlation coefficient (r) = -0.265 (p-value < 0.001). Calcidiol at £  35 ng/ml was associated with a significant increase in PTH, which indicated the level of vitamin D deficiency. The prevalence of vitamin D deficiency in postmenopausal women was 60.2 percent.

Conclusion

The high prevalence of vitamin D deficiency with low average level of calcidiol among postmenopausal women suggests a risk for developing osteoporosis. Outdoor exercise with sunlight exposure, high vitamin D diet intake, or, if necessary, supplementation with vitamin D is advised.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
Interesting case anaphylaxis after intra-articular steroid injection in out patient department : Reivew literature (ผู้ป่วยน่าสนใจ: การแพ้อย่างรุนแรงจากการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อในแผนกผู้ป่วยนอกและทบทวนวรรณกรรม)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
Obstetric and Gynecology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0