หลักการและเหตุผล : มารดาหลังการผ่าตัดคลอดจำเป็นต้องลุกเร็วขึ้นเพื่อให้การดูแลบุตร ดังนั้นหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงไปแล้วแพทย์จึงมักไม่กล้าให้ยาระงับปวดที่ออกฤทธิ์แรง อีกทั้งกลัวว่ายาจะผ่านน้ำนมไปยังลูกด้วย แต่การให้รับประทานยาระงับปวดที่มีฤทธิ์อ่อนอย่าง acetaminophen จะเพียงพอในการระงับปวดหรือไม่นั้น ยังไม่มีการศึกษามาก่อนในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วัตถุประสงค์ : เพื่อหาอุบัติการณ์และระดับอาการปวดหลังผ่าตัดในวันที่ สองหลังการผ่าตัดคลอด
รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบพรรณนา
สถานที่ : มารดาหลังการผ่าตัดคลอดทุกรายในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2547 ได้รับการสัมภาษณ์ในวันที่ สองหลังการผ่าตัดคลอด
การวัดผล : ประเมินความปวด ความทุกข์ทรมาน ในวันที่ สองหลังการผ่าตัดคลอดทั้งขณะพักและขณะ ลุกนั่ง(ใช้ numeric rating scale 0-10, คะแนน > 5 ถือว่าปวดระดับปานกลางถึงปวดมาก) ระดับความปวด, การบรรเทาปวดก่อนและหลังได้รับยารับประทาน จำนวนครั้งที่ได้รับยาระงับปวดใน 24 ชม. แรกหลังผ่าตัด ระยะเวลาที่หยุดยาฉีดถึงได้รับยารับประทานครั้งแรก ความต้องการยาฉีดในวันที่ 2 และความพึงพอใจในการระงับปวด
ผลการศึกษา : สัมภาษณ์มารดา 100 ราย พบว่าร้อยละ 78 (95% CI 69 86%) มีอาการปวดปานกลางถึงปวดมากและร้อยละ 66 รู้สึกทุกข์ทรมานจากการที่ต้อง ลุกนั่ง ร้อยละ 96 มีอาการปวดและร้อยละ 94 มีความทุกข์ทรมานในระดับปานกลางถึงมากก่อนได้ยาระงับปวดรับประทานครั้งแรก โดยระดับความปวดลดลงเหลือร้อยละ 43 ความทุกข์ทรมานลดลงเหลือร้อยละ 55 หลังได้ยา ร้อยละ 39 รู้สึกว่ายารับประทานช่วยบรรเทาอาการปวดได้เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 20 ยังมีความต้องการยาฉีดระงับปวดในวันที่ สอง มารดาทุกรายมีความพอใจในการระงับปวด
สรุป : ในวันที่สองหลังการผ่าตัดคลอดมารดาร้อยละ 78 มีอาการปวดและร้อยละ 66 มีความทุกข์ทรมานในระดับปานกลางถึงมากในขณะมีการ ลุกนั่ง ร้อยละ 39 บอกว่ายารับประทานช่วยระงับปวดได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าทุกรายจะพอใจในการระงับปวดที่ได้รับ แต่การหาวิธีระงับปวดที่ดีกว่านี้น่าจะช่วยลดอาการปวดและความทุกข์ทรมานลงได้
Blackground : A mother should have contact with, and take care of, her newborn as early as possible. For this reason, after a cesarean section, care providers are reluctant to give a strong analgesic after the first postoperative day, except oral acetaminophen: as some analgesics are contraindicated for breastfeeding mothers. Pain mothers are experiencing the second postoperative day at our hospital has not been graded.
Objective: To determine the incidence and magnitude of pain the second day after cesarean section.
Design: Descriptive study.
Setting: Postpartum Ward at Srinagarind Hospital between August 1 and October 31, 2004.
Method: Interview mothers in the second day after cesarean section.
Measurement: Pain and suffering scores were evaluated both at rest and during
ambulation (both using a numeric rating scale 0-10, scores > 5 defined moderate to severe pain). We recorded pain intensity and relief before and after taking oral acetaminophen, numbers of analgesic injection(s) during the 24 hours after surgery, the time between the last analgesic injection and the first oral acetaminophen, the need for analgesic injection(s) the second day, and mothers' satisfaction with pain relief.
Results: One-hundred mothers were interviewed: 78% (95% CI 69 86%) had moderate to severe pain and 66% suffering while ambulating. Before receiving the first oral acetaminophen, 96% had moderate to severe pain and 94% suffering; afterward the pain and suffering were reduced to 43 and 55%, respectively. Thirty-nine percent of the participants felt that oral acetaminophen provided modest pain relief, while 20% needed more parenteral analgesic in the second day. All of the mothers were satisfied with the pain relief given even though they still experienced pain.
Conclusion: The second day after a cesarean section, 78% of women had moderate to severe pain and 66% suffering while ambulating: 39% reported oral acetaminophen produced modest pain relief. Although all of the mothers were satisfied with the received treatment, alternative methods should be used for greater reduction of pain and suffering.
Key words: Pain, suffering, cesarean section, ambulation. . . .
Full text.
|