บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกและค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการศึกษา : Descriptive study, prospective study
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยของราชวิทยาลัยวิสัญญีวิทยาแห่งประเทศไทย การศึกษานี้ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวางยาระงับความรู้สึกทั้งในและนอกห้องผ่าตัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเมื่อเกิดอุบัติการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอุบัติการณ์ วิธีการแก้ไข ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขในแบบบันทึกข้อมูลการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก จากนั้นนำผลการศึกษาวิเคราะห์หาอุบัติการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวางยาระงับความรู้สึกทั้งสิ้น 10,607 ราย พบอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก 20 ราย คิดเป็น 18.86 ต่อ 10,000 ราย (95%CI 11.52, 29.11) โดยพบอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจลำบากแบบคาดการณ์ล่วงหน้า 8 ราย และแบบคาดไม่ถึง 12 ราย วิธีการแก้ไขประกอบด้วยการใช้ stylet การใช้ blade ตรง และการใช้ intubating laryngeal mask airway ภายหลังอุบัติการณ์ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อผู้ป่วย โดยที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ บุคลากรขาดความรู้ ประสบการณ์และความระมัดระวัง เครื่องมือไม่เพียงพอ
สรุป : ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลำบากในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบ 18.86 ในผู้ป่วย 10,000 ราย โดยที่ผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลตามมาตรฐานทำให้ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ลักษณะผู้ป่วย บุคลากร ความรู้ และเครื่องมือ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาคือ การฝึกอบรม การพัฒนาบุคลากรเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และการจัดหาเครื่องมือให้เพียงพอ
Abstract
Objective: To identify the incidence of, and risk factors for, difficult intubation during anesthesia at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand.
Design: Descriptive, prospective study.
Methods: Our study was part of a multi-center study conducted in 2003 by the Thai Royal College of Anesthesiologists aimed at surveillance of anesthetic-related complications in Thailand. We collected the data from all of the cases receiving anesthesia service at Srinagarind Hospital between January 1 and December 31, 2003, to document cases of difficult intubation during anesthesia and to determine the cause(s), that the quality of service might be improved. Patient data, corrective method, contributing factors, factors minimizing incidence and suggested corrective strategies were recorded on the Difficult Intubation Record Form.
Results: A total of 10 607 patients were included. The incidence of difficult intubations during anesthesia was 20 (18.86 per 10 000; 95%CI 11.52, 29.11). Corrective methods included: stylet use, straight laryngoscope blade and intubation laryngeal mask airway. Only minor physiological disturbances occurred in most patients. The common contributing factors were: insufficient knowledge, inexperience and insufficient equipment. Suggested corrective strategies could include: additional training, quality assurance activity, and purchase of equipment.
Conclusion: The incidence of difficult intubation was 18.86 per 10 000. None of the patients experienced any major complications, perhaps because of standard anesthesia care. The causes and corrective strategies comprised: patient character, personnel-associated, knowledge and equipment. Additional equipment and training as well as quality assurance activity would probably help to reduce the incidence of difficult intubation.
. . .
Full text.
|