Study groups of mother or relatives whose level of education are higher
Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar
Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children.
It was believed that more highly educated mothers could take care of their children better than less educated mothers. Other factors involved the growth development of children during infant and preschool years. Two villages in Khon Kaen provinces were studied and compared. The target groups were children below five years and their mothers. Only mothers in a studied village were given health education. The result showed that children in a studied village were slightly more developed and healthier than children in a controlled village. However, when the mothers education levels were compared, data showed that mothers with lower education could look after their children better than those in a higher education group. This happened in both villages. It might be that lower educated mothers had more time for their children and tended to follow the local health workers teaching. In contrast the mothers in the higher educated group had more chance to work outside and left children with their cousins. There fore, this might effect childrens growth development and health. การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สุขศึกษาแก่มารดา และศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กของมารดาที่มีระดับการศึกษาต่างกันรวมถึงอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียนในชนบท ประชากรเป้าหมายสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ มารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยใช้หมู่บ้าน 2 หมู่บ้านในเขตจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมใกล้เคียงกันเป็นหมู่บ้านศึกษาและเปรียบเทียบกัน ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านที่ให้สุขศึกษามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถเลี้ยงดูเด็กได้ค่อนข้างดีกว่าหมู่บ้านที่ไม่ได้ให้สุขศึกษาและมารดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของทั้งสองหมู่บ้านมีแนวโน้มว่า เลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่ามารดาที่มีการศึกษาสูงกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมารดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นส่วนใหญ่เป็นผู้ดูแลบุตรด้วยตนเองมีโอกาสได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่อนามัย มีความเชื่อถือและนำมาปฏิบัติมากกว่า ส่วนผู้ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่อนามัยน้อยกว่า เนื่องจากต้องออกไปทำมาหากินนอกบ้าน ไม่มีเวลาดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด ปล่อยให้ญาติพี่น้องเป็นผู้ดูแลแทนมากกว่า . . .
Full text.