ศึกษาผู้ป่วยปวดหลังส่วนเอวซ้ำซากที่ได้รับการรักษาโดยวิธี epipural steroid injection ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ ปี 2531 ถึง 2533 จำนวน 40 ราย เพื่อดูผลของการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด คือ 57.2 ปี (24-62 ปี) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาด้วยการฉีด methylprednisolone (depo-medrol 40 มก./มล.) จำนวน 2 มล. ร่วมกับ lidocaine 1% จำนวน 3 มล. ทุกสัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง ผู้ป่วยทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมีอาการปวดหลังน้อยกว่า 3 เดือน กลุ่มสองมากกว่า 3 เดือน มีผู้ป่วยที่รักษาในกลุ่มแรก 11 ราย และกลุ่มที่สอง 29 ราย ผลการรักษาในสัปดาห์แรกหลังการฉีดยาครบ 3 ครั้ง พบว่าได้ผลดีทั้งสองกลุ่ม (81.81%, 74.42%) ที่สัปดาห์ที่สามหลังฉีดยาครบ พบผลการรักษาดีในกลุ่มแรก 63.63% และกลุ่มที่สอง 58.62% ที่สัปดาห์ที่ 6 และที่ 3 เดือน ผลการรักษาดีในกลุ่มแรกและกลุ่มสอง < 36.36% ในการศึกษานี้สรุปผลว่าการรักษาด้วยวิธี epidural steroid injection ได้ผลดีในช่วงแรกของการรักษา (<6 สัปดาห์)
Abstract: Fourty patients with recalcitrant lumbosciatic pain were treated by epidural steroid injection at Srinagarind hospital, and a private hospital between January 1988 to April 1990, to study the efficacy of epidural steroid injection. the average age was 52.2 years (24.62 years). All patients were injected with 2 cc. Of methylprednisolone (depo-medrol 40 mg/cc.) plus 3 cc. Of 1% lidocaine at weekly interval for 3 weeks. The patients were devided into 2 groups; group I includes those patients who had lumbosciatic pain less than 3 mounths, group II more than 3 months. In this study there were 11 patients in group I and 29 in group II. The results at one week after completion of the injections were good in both groups (81.81%, 72.42%), at 3 weeks (after completion of the injection) were quite good 63.63% in group I and 58.62% in group II and at 6 weeks after completion of the injection the result were good < 36.36%. In this study, it appears that the lumbosciatic pain may receive temporary relief with steroid injection especially in short term (<6 weeks) but no value in long term treatment.
|