หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันมีการแนะนำให้ใช้การเพาะเชื้อในปัสสาวะเป็นการคัดกรองภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีอาการ (ABU) แต่การตรวจดังกล่าวไม่สามารถทำได้ทุกราย ดังนั้นการหากลุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้เพื่อเลือกส่งเพราะเชื้อในปัสสาวะจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี วัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีอาการ รูปแบบการศึกษา : A cross-sectional study สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : สตรีมีครรภ์ 774 ราย ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การวัดผล : ส่งปัสสาวะช่วงกลางสายของสตรีเหล่านี้เพื่อเพาะเชื้อ ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและสังคม ประวัติการตรวจครรภ์ และผลการเพาะเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีอาการ โดยใช้ univariate analysis และ multiple logistic regression analysis ผลการวิจัย :ความชุกของภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะของสตีมีครรภ์ที่ไม่มีอาการเท่ากับร้อยละ 11.2 ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ ABU ได้แก่ โลหิตจาง และระดับการศึกษาต่ำ โดยพบว่าสตรีมีครรภ์ที่มีโลหิตจางจะมีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีอาการเป็น 2.5 เท่าของ สตรีมีครรภ์ที่ไม่มีโลหิตจาง สตรีมีครรภ์ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมปีที่ 6 จะมีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีอาการเป็น 1.7 เท่า ของสตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษาสูงกว่าส่วนอายุอาชีพ รายได้ จำนวนการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ ประวัติการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไมสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ ABU สรุป : การเลือกส่งตรวจเพาะเชื้อในปัสสาวะในสตรีมีครรภ์ที่มีโลหิตจาง หรือระดับการศึกษาต่ำอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในสถานที่ที่ไม่สามารถส่งตรวจเพาะเชื้อในปัสสาวะ ในผู้มาฝากครรภ์ทุกรายได้ หรือาจทำการศึกษาหาวิธีตรวจคัดกรองที่มีความไวพอ และราคาไม่แพงมาใช้ในสตรีมีครรภ์ทุกราย
Background : Routine urine culture for all pregnant women is recommended as the screening test for asymptomatic bacteriuria (ABU). The is not readily available in many parts of the world including Thailand. Identification of the pregnant women at higher risk for ABU and performing urine culture to detect ABU may be the appropriate alternative management. Objective : To asses risk factors for asymptomatic bacteriuria (ABU) in pregnant women. Design: A cross-sectional study. Setting : A tertiary care (university) hospital in Thailand. Subjects : 774 pregnant women who attended their first antenatal care at Srinagarind hospital, Khon Kaen University were recruited for the study, Clean-catched mid stream urine were obtained from every subject for culture. Main outcome measures : Information regarding sociodemographic characteristics, obstetric history, history of previous urinary tract infection, the status of the present pregnancy and the result of urine culture were recorded. Risk factors for ABU were initially evaluated by univariate analysis. We used multiple logistic regression analysis for controlling confounding effect. Results : The prevalence of ABU in pregnant women was 11.2%. After univariate and multiple logistic regression analysis, anemia and low education were found to be significant risk factors for ABU in pregnant women. Anemic pregnant women had a 2.5 fold risk of having ABU compared with the non-anemic pregnant women. Low educated pregnant women had a 1.7 fold risk of ABU compared with educated subjects. Age, occupation, monthly income, gravidity, gestational age, previous history of urinary tract infection were not statistically associated with ABU. Conclustions : Selective urine culture for anemic or low educated pregnant women may be considered in situation in which routine urine culture for pregnant women is not feasible. A sensitive but inexpensive routine screening test is required to detect ABU in pregnant women.
|