วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV), cervical intraepithelial neoplasia (CIN) และมะเร็งปากมดลูกจากการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกเป็น atypical squamous cells of undetermined significance (ASCUS) ชนิดของการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณา สถานที่ทำวิจัย : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยทุกคนที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกเป็น ASCUS ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยมีเกณฑ์การคัดออกคือ ผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CIN หรือมะเร็งปากมดลูก วิธีการวิจัย : ค้นข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย เพื่อเก็บรวบรวมผลจากการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ซึ่งได้ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ผลการตรวจด้วยกล้องขยาย (คอลโปสโคป) และการตรวจติดตามด้วยเซลล์วิทยา ตัววัดที่สำคัญ : ความชุกของการติดเชื้อ HPV, CIN และมะเร็งปากมดลูก จาการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ผลการวิจัย : มีผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกเป็น ASCUS รายใหม่ 273 คน จาการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกและช่องคลอดทั้งหมด 33,744 แผ่น คิดเป็นร้อยละ 0.8 ผู้ป่วย 95 คน ไม่มาติดตามการรักษา คิดเป็นร้อยละ 34.8 ผู้ป่วยที่เหลือ 178 คนได้รับการดูแลรักษาแตกต่างกันดังนี้ ผู้ป่วย 27 คน ได้ตรวจติดตามด้วยการตรวจเซลล์วิทยาเพียงอย่างเดียว พบว่ามีผลการตรวจปกติ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 เป็น ASCUS ซ้ำ 2 คน มีผลการตรวจที่รุนแรงขึ้นเป็น high grade squamous intraepithelial lesion 1 คน และผู้ป่วย 3 คน นี้ไม่ได้มาติดตามผลการตรวจ 138 คนได้รับการตรวจด้วยกล้องขยายและได้รับการตัดชิ้นเนื้อเมื่อมีข้อบ่งชี้ ผู้ป่วย 5 คน ได้รับการตัดชิ้นเนื้อโดยไม่ได้ตรวจด้วยกล้องขยายมาก่อน ผู้ป่วย 8 คน ได้รับการตัดมดลูกด้วยข้อบ่งชิ้อื่นโดยไม่ได้ตรวจด้วยกล้องขยายหรือติดตามด้วยการตรวจเซลล์วิทยาก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยร้อยละ 64.6 จากจำนวนที่เหลือ 178 คน ได้รับการตรวจทางพยาธิวทยาของปากมดลูกพบว่า มีผลลบ 72 คน คิดเป็นร้อยละ 40.7 มีการติดเชื้อ HPV 16 คน คิดเป็นร้อยละ 9.0 เป็น CIN 26 คน ในจำนวนนี้พบเป็นขั้นที่ 1 ร้อยละ 3.4 ขั้นที่ 2 ร้อยละ 3.4 ขั้นที่ 3 ร้อยละ 7.8 และเป็นมะเร็งปากมดลูก 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 สรุปผลการวิจัย: การวิจัยนี้พบว่า จากผลการวินิจฉัยขึ้นสุดท้ายของผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกเป็น ASCUS มีความชุกของการติดเชื้อ HPV, CIN และมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 24.2 ดังนั้นผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูกเป็น ASCUS ควรได้รับการตรวจด้วยกล้องขยาย
Objective: To estimate the prevalence of human papillomavirus (HPV) infection, cervical intraepithelial neoplasia (CIN) and cervical carcinoma in patients with atypical squamous cells of undetermined significance (V) from cervical Pap smear. Study design: Descriptive study Setting: Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Subjects: Two hundred and seventy-three women with a new cervical cytology diagnosis of ASCUS, without prior dysphasia or cervical carcinoma between July 1st, 1999 and June 30th, 2001 Method: We reviewed 273 records to collect follow-up Pap smear results, colposcopic results and histological reports Main out come measures: Prevalence of HPV infection, CIN and cervical carcinoma. Results: The 273 new reported ASCUS cervical smears represented 0.8% of all cervicovaginal smears diagnosed in our center during the same time period (33,744 smears). Ninety five patients (34/8%) were lost to follow-up. Of the remaining 178 patients, 27 cases had cytological follow-up; 24 cases (13.5%) reverted to normal or benign cellular changes, 2 cases (1.1%) persisted as ASCUS and then lost to follow-up, 1 case progressed to high grade squamous intraepithelial lesion, then lost to follow-up; 138 cases underwent colposcopy with or without biopsy as indicated; 5 cases had biopsy without colposcopy; 8 cases had hysterectomy without colposcopy or Pap smear follow-up. The majority of patients (64.5%) underwent histological examination; 72 cases (40.7%) were negative (without HPV and CIN); 16 cases (9.0%) showed HPV infection, 26 cases showed CIN, of which 6 cases (3.4%) were CIN I, 6 cases (3.4%) were CIN II and 14 cases (7.8%) were CIN III and 1 case (0.6%) was invasive lesion. Conclusion: This study showed that 24.2% of ASCUS cervical Pap smears finally had HPV, CIN and invasive cervical carcinoma. Thus, ASCUS should be assessed colposcopically.
|