หลักการและเหตุผล : อุบัติเหตุของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ยังไม่มีการศึกษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการคลอดทารก ที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และลักษณะทางคลินิกของผู้คลอดทารกที่มีความผิดปกติชนิดนี้ระหว่าง พ.ศ. 2533 2542 รูปแบบการวิจัย : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา สถานที่วิจัย : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง : การคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่จำนวน 56 ราย จากการคลอดมีชีพทั้งหมด 51,386 ระหว่าง พ.ศ.2533 2542 การวัด : อุบัติการณ์ของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ ผลการวิจัย : จากการศึกษาทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ทั้งหมด 56 ราย พบภาวะปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่ 28 ราย ปากแหว่งอย่างเดียว 20 ราย และเพดานโหว่อย่างเดียว 8 ราย อุบัติการณ์ของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่เท่ากับ 1.14 ต่อการคลอดมีชีพ 1,000 ราย โดยไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง อุบัติการณ์ของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่ ปากแหว่งอย่างเดียว และเพดานโหว่อย่างเดียว เท่ากับ 0.5, 0.4 และ 0.2 ต่อการคลอดมีชีพ 1,000 ราย ตามลำดับ ความผิดปกติอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย พบได้ร้อยละ 17.9 และสามารถวินิจฉัยภาวะนี้ก่อนคลอดได้เพียงร้อยละ 1.8 สรุป : อุบัติการณ์ของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ค่อนข้างพบได้คงที่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยก่อนคลอดของภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ในสตรีตั้งครรภ์ที่มารับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษา การดูแลก่อนคลอดและเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดชนิดนี้
Background : Incidence of births with cleft lip and palate varies geographically. There is no information about this issue at Srinagarind Hospital. Objective : To determine trends in birth incidence of cleft lip and palate at Srinagarind Hospital during 1900-1999 and clinical characteristics of affected pregnancies. Design : A retrospective descriptive study. Setting : Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Subjects: All 56 births affected by cleft lip and palate from 51,386 live births during 1900-1999. Main outcome Measures: Birth incidence of cleft lip and palate. Results : Among 50 cases of cleft lip and palate, there were 28 cases of cleft lip with cleft palate, 20 cases of isolated cleft lip and 8 case of isolated cleft palate. Birth incidence of cleft lip and palate was 1.1/1,000 live births with no upward and downward trend. Birth incidence of cleft lip with cleft palate, isolated cleft lip and isolated cleft palate were 0.5,0.4,0.2/1,000 live births respectively. Associated malformations were 17.95% and only 1.8% could be prenatally diagnosed. Conclusion: Birth incidence of cleft lip and palate at Srinagarind Hospital remained relatively stable. The increase of effectiveness in prenatal diagnosis of cleft lip and palate by ultrasound would be useful in counseling, prenatal care and preparation for neonatal care of these congenital anomalies.
|