Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

“Sleeve Awl’’ For Femoral Intramedullary Guide Rod Insertion

เครื่องมือนำเจาะนำร่องกระดูกต้นขาแบบท่อ สำหรับช่วยแกนนำในการผ่าตัดดามกระดูกต้นขา

Taweechok Wisanuyotin (ทวีโชค วิษณุโยธิน) 1, Weerachai Kosuwon (วีระชัย โควสุวรรณ) 2, Winai Sirichatvapee (วินัย ศิริชาติวาปี) 3, Polasak Jeeravipoovarn (พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรณ) 4




หลักการและเหตุผล : โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าในแต่ละภูมิภาคของโลกมีอุบัติการณ์การเกิดโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะแตกต่างกันอันเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาของประชาชนในแต่ละท้องที่พฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบว่าอุบัติการณ์โรคนี้สูงขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษา
วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ และปัจจัยต่างๆ ที่อาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งวิเคราะห์สารที่เป็นองค์ประกอบของนิ่ว
รูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษา prospective วิจัยเชิงพรรณา
สถานที่ทำการศึกษา : งานห้องผ่าตัด กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และวิเคราะห์นิ่วที่ศูนย์โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี
กลุ่มตัวอย่าง  : ศึกษาในผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ช่วงสิงหาคมถึงธันวาคม 2543 จำนวน 230 ราย
วิธีการ : เก็บข้อมูล ได้แก่ อายุ เพศ ชนิดของน้ำดื่ม อาหารที่บริโภคเป็นประจำ ภูมิลำเนา อาการและอาการแสดง การวินิจฉัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัย intravenous pyelography (IVP) ทุกราย เพื่อทราบตำแหน่งนิ่วและการทำงานของไต การผ่าตัด และส่งตรวจหาชนิดองค์ประกอบของนิ่วด้วยวิธี IR spectroscopy
ผลการวิจัย : พบว่าผู้ป่วยเป็นชายมากกว่าหญิงอัตราส่วน 1.8 : 1 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี จบชั้นประถมศึกษา อาชีพทำนา ดื่มน้ำบ่อ บริโภคเนื้อสัตว์และผักผลไม้ในท้องถิ่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีภูมิลำเนาในอำเภอยางตลาด และอำเภอกุฉินารายณ์ อาการสำคัญที่พบคือ ปวดเอว พบนิ่วไตสูงสุด นิ่วมีองค์ประกิอบหลายชนิดอยู่ในก้อนเดียวกัน แต่มี calcium oxalate  เป็นตัวหลักมากที่สุด องค์ประกอบของนิ่ว พบว่า นิ่วไตโดยมากเป็น calcium stone และ magnesium ammonium stone นิ่วท่อไตส่วนมากเป็น calcium stone, นิ่วในประเพาะปัสสาวะและนิ่วในท่อปัสสาวะส่วนมากเป็น uric acid stone รักษาด้วยการผ่าตัดแบบ nephrolithotomy มากที่สุด
สรุป : ผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ มีคุณลักษณะและความเป็นอยู่คล้ายกับการศึกษาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ วุฒิการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเป็นนิ่วไตมากที่สุดองค์ประกอบหลักของนิ่วเป็น calcium oxalate มากที่สุด การรักษาเป็นการผ่าตัดเอานิ่วออกจากบริเวณที่เป็น

Background : Urinary tract stone disease is endemic in North and Northeast Thailand. Kalasin, one of the poorer provinces of the Northeast, has one of the highest incidences of the disease. The frequency of the types of stones is unknown but such information is necessary for prevention programming.
Objectives : To study the incidence of urinary stone disease and stone composition in Kalasin Province.
Design : Prospective and descriptive study.
Setting : Kalasin Hospital, Kalasin Province, and Rathviti Hospital, Bangkok.
Subjects : Patients (n = 230) with urinary tract stones admitted to kalasin Hospital between August and December, 2000.
Method : Collected signs and symptoms at presentation, routine lab results, IVP surgical procedures used for treatment and results of infrared stone analysis.
Results : Men outnumbered woman 1.8 to 1. The age range among the men was 41 to 50 years. Most were farmers who had completed elementary school. Patients came mostly from either Yangtalad or Kuchinarai District and side pain was the most common presentation. Renal calculi, the most stones, comprised calcium oxalate, calcium phosphate and magnesium ammonium phosphate. Nephrolithotomy was most common treatment.
Conclusion : Urinary tract stone disease occurred primarily in patients of low socioeconomic standing (64%). Calcium oxalate was the most common mineral composition of the stones whether they were found in the lower or upper tract. All cases were treated Surgically.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0