ผลการศึกษา
จากผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการใช้ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้ากับสื่อความเป็นจริงเสริม (หรือสื่อ AR) ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอนและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 ราย โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ แล้วนำมาวิเคราะห์ และประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัย โดยแบ่งการนำเสนอผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1) ข้อมูลด้านคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง
2) ผลการประเมินความพึงพอใจของชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR
1. ข้อมูลด้านคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์ พบว่ามีนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ตอบแบบประเมินจำนวน 24 ราย มีเพศชาย 7 ราย เพศหญิง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.2 และ 70.8 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่านักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีจำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.8 รองลงมาคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีจำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.5 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 1 มีจำนวนเท่ากันคือ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง (n = 24)
คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง |
จำนวน (ร้อยละ) |
เพศ |
|
ชาย |
7 (29.2) |
หญิง |
17 (70.8) |
ระดับชั้น |
|
ชั้นปีที่ 1 |
2 (8.3) |
ชั้นปีที่ 2 |
2 (8.3) |
ชั้นปีที่ 3 |
3 (12.5) |
ชั้นปีที่ 4 |
17 (70.8) |
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของชุดหุ่นจำลองฟันหน้ามา พร้อมสื่อ AR
2.1 ความพึงพอใจด้านหุ่นจำลองฟันหน้าม้า
ผลการประเมินความพึงพอใจด้านหุ่นจำลองฟันหน้าม้า เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่านักศึกษาตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ หัวข้อ ให้ความเข้าใจได้จากการสัมผัส โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.88 คิดเป็นร้อยละ 97.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 รองลงมาคือหัวข้อ เป็นตัวแทนของจริงที่ให้ความรู้ในด้าน รูปร่าง ขนาด และสี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 คิดเป็นร้อยละ 98.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41 หัวข้อสะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 คิดเป็นร้อยละ 95.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 หัวข้อสร้างการจดจำได้ดี ขนาดเหมาะสมกับการใช้เป็นสื่อประกอบการสอน และ มีอายุการใช้งานสูง ทนทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 คิดเป็นร้อยละ 94.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 หัวข้อให้ความเข้าใจจากนามธรรมสู่รูปธรรม และ เข้าใจได้ง่ายต่อการเรียนรู้ และลดความสับสนในเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 คิดเป็นร้อยละ 93.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 และ สามารถศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการบอกช่วงอายุของฟันม้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 คิดเป็นร้อยละ 92.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 ตามลำดับ ส่วนการตอบแบบประเมินความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ หุ่นจำลองเร้าความสนใจของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 คิดเป็นร้อยละ 92.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 โดยผลรวมค่าเฉลี่ยการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า มีค่าเท่ากับ 4.69 คิดเป็นร้อยละ 93.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อหุ่นจำลองฟันหน้าม้า
หัวข้อประเมิน |
ค่าเฉลี่ย
|
ร้อยละ |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) |
ผลการ
ประเมิน |
1. หุ่นจำลองเร้าความสนใจของผู้เรียน |
4.38 |
87.60 |
0.58 |
มาก |
2. สามารถศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง การบอกช่วงอายุของฟันม้า |
4.63 |
92.60 |
0.49 |
มากที่สุด |
3. เป็นตัวแทนของจริงที่ให้ความรู้ในด้าน รูปร่าง ขนาด และสี |
4.79 |
95.80 |
0.41 |
มากที่สุด |
4. เข้าใจได้ง่ายต่อการเรียนรู้ และลดความสับสนในเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อน |
4.67 |
93.40 |
0.48 |
มากที่สุด |
5. สร้างการจดจำได้ดี |
4.71 |
94.20 |
0.46 |
มากที่สุด |
6. ให้ความเข้าใจจากนามธรรมสู่รูปธรรม |
4.67 |
93.40 |
0.48 |
มากที่สุด |
7. ให้ความเข้าใจได้จากการสัมผัส |
4.88 |
97.60 |
0.34 |
มากที่สุด |
8. สะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน |
4.75 |
95.00 |
0.44 |
มากที่สุด |
9. ขนาดเหมาะสมกับการใช้เป็นสื่อประกอบการสอน |
4.71 |
94.20 |
0.46 |
มากที่สุด |
10. มีอายุการใช้งานสูง ทนทาน |
4.71 |
94.70 |
0.46 |
มากที่สุด |
รวม |
4.69 |
93.85 |
0.46 |
มากที่สุด |
2.2 ความพึงพอใจด้านสื่อ AR ที่ใช้ร่วมกับชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า
ผลการประเมินสื่อ AR ที่ใช้ร่วมกับชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่านักศึกษาตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือหัวข้อ เข้าใจได้ง่ายต่อการเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.88 คิดเป็นร้อยละ 97.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 รองลงมาเป็นหัวข้อ สามารถศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง การบอกช่วงอายุของฟันม้า มีค่าเฉลี่ย 4.75 คิดเป็นร้อยละ 95.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 หัวข้อขนาด สี ตัวอักษร ชัดเจน, สะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน และหัวข้อ รูปแบบเหมาะสมในการใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 คิดเป็นร้อยละ 94.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 หัวข้อ สื่อ AR สื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 คิดเป็นร้อยละ 92.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ตามลำดับ ส่วนผลการตอบแบบประเมินที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ รูปแบบสื่อเหมาะสม ง่ายต่อการใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 โดยผลรวมค่าเฉลี่ยการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ AR ที่ใช้ร่วมกับชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า มีค่าเท่ากับ 4.72 คิดเป็นร้อยละ 94.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อ AR ที่ใช้ร่วมกับชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า
หัวข้อประเมิน |
ค่าเฉลี่ย |
ร้อยละ |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. |
ผลการ
ประเมิน |
1. รูปแบบสื่อเหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน |
4.58 |
91.60 |
0.50 |
มากที่สุด |
2. สามารถศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง การบอกช่วงอายุของฟันม้า |
4.75 |
95.00 |
0.44 |
มากที่สุด |
3. สื่อ AR สื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของเนื้อหา |
4.67 |
92.00 |
0.48 |
มากที่สุด |
4. ขนาด สี ตัวอักษร ชัดเจน |
4.71 |
94.20 |
0.46 |
มากที่สุด |
5. เข้าใจได้ง่ายต่อการเรียนรู้ |
4.88 |
97.60 |
0.34 |
มากที่สุด |
6. สะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน |
4.71 |
94.20 |
0.46 |
มากที่สุด |
7. รูปแบบเหมาะสมในการใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ |
4.71 |
94.20 |
0.46 |
มากที่สุด |
รวม |
4.72 |
94.11 |
0.45 |
มากที่สุด |
วิจารณ์
หุ่นจำลองฟันหน้าม้าเป็นสื่อการสอนที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน สื่อมีความน่าสนใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย เนื่องจากหุ่นจำลองสามารถแสดงลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของฟันม้าได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านตำแหน่งของฟัน รูปทรง ขนาดสัดส่วน และสีสัน ในการนำหุ่นจำลองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องใช้หลักการการประเมินคุณภาพของหุ่นจำลองตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพสื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรม โดยได้กำหนดประเด็นที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของหุ่นจำลอง ดังนี้ 1) มีลักษณะเป็นสื่อสามมิติ 2) มีชิ้นส่วนโดยรวมที่บอกรายละเอียด หรือแยกออกจากกัน หรือประกอบเข้าด้วยกัน หรือเคลื่อนไหวได้ 3) มีขนาด น้ำหนักเหมาะสมกับการใช้งาน 4) ใช้วัสดุท้องถิ่นหรือในประเทศ 5) มีขนาดรูปร่างสามารถเห็นได้ชัดตามสภาพการเรียนรู้ 6) มีกระบวนการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 7) ใช้นำเสนอหรือสาธิตให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย 8) สีสันเหมือนหรือคล้ายของจริง หรือมีการเน้นสีเพื่อแยกให้ง่ายต่อความเข้าใจ 9) มีความน่าสนใจ 10) สามารถตรวจปรับความเข้าใจกับของจริงได้ และ 11) มีความคงทนถาวร4 สอดคล้องกับการศึกษาของ ปรียสลิล ไชยวุฒิ และเยาวลักษณ์ คุมขวัญ7 ได้ทำการศึกษาเรื่อง หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ : นวัตกรรมสื่อการสอนทางการพยาบาล พบว่า ทักษะทางการพยาบาลแต่ละทักษะมีความยากง่าย แตกต่างกัน การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการพยาบาล ให้แก่นักศึกษาพยาบาล นอกจากจะทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลจริงบนหอผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดในการให้การพยาบาลผู้ป่วย ป้องกันการสูญเสีย รวมไปถึงป้องกันการถูกฟ้องร้องจากการปฏิบัติงาน การใช้สื่อนวัตกรรมที่เสมือนจริงในการเรียนการสอนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะจึงเหมาะที่จะใช้เป็นสื่อการสอนแก่นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป7
ในยุคที่เทคโนโลยีการเรียนการสอนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการเรียนการสอนต้องสอบรับกับแนวคิด คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้กับการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น Media + Methods หรือ สื่อร่วมกับวิธีการ เพื่อเปิดโอกาสได้ลงมือกระทำอย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง8 ดังนั้นนอกจากหุ่นจำลองฟันหน้าม้าที่เป็นสื่อการสอนหลักมีประโยชน์และมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว สื่อ AR ก็มีส่วนช่วยเสริมการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้นด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ อรชลิดา พรหมปั้น ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาหนังสือเสริมบทเรียนสามมิติด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่าหนังสือเสริมบทเรียนสามมิติด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ มีประสิทธิภาพต่อการนำไปใช้สำหรับนิสิตกายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 3 สาขากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร9 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิวัฒน์ มีสุวรรณ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริงพบว่า การนำ AR มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ทางด้านสื่อการศึกษาผู้เรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้น สร้างผลิตผลที่มีความหมายกับตนเอง เกิดปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าสู่ห้องเรียน นำเอาประสบการณ์เข้าสู่สถานการณ์จริงที่ผสมผสานกับสถานการณ์เสมือนจริงได้เรียนรู้เรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเอง10
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หุ่นจำลองฟันหน้าม้าพร้อมสื่อ AR ที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสื่อการสอนที่มีความน่าสนใจและทันสมัย มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง
สรุป
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการใช้ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้ากับสื่อความเป็นจริงเสริม (หรือสื่อ AR) ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ จำนวน 24 ราย ผู้วิจัยมีความตั้งใจในการนำหุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR ชุดนี้ เพื่อเป็นสื่อการสอนที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการศึกษาความพึงพอใจชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ทำให้ทราบว่าในการวิจัยในครั้งนี้ ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR มีคุณภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้
ข้อเสนอแนะ
- เพิ่มรูปแบบของระบบแสกน AR ให้สามารถใช้อุปกรณ์ส่องดูได้ในระดับชั้นในของฟันม้าเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและละเอียดยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 .กรุงเทพฯ:
บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด, 2542.
2. ธีระศักดิ์ ตรัยมงคลกุล. เอกสารการสอน รายวิชา 502421 อายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ม้า. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. [สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564]สืบค้นจาก http://www.las.vet.kps.ku.ac.th/resource.html, 2563.
3. เรืองวิทย์ นนทะภา. เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551.
4. สุสัณหา ยิ้มแย้ม. การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พยาบาลสาร 2559; 2: 142-151.
5. ศิริรัตน์ พริกสี. นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนเคมี. นิตยสาร สสวท. 2556; 181: 17-18.
6. รักษพล ธนานุวงศ์. สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality)
ชุดการจมและการลอย. นิตยสาร สสวท 2556; 181: 28-31.
7. ปรียสลิล ไชยวุฒิ, เยาวลักษณ์ คุมขวัญ. หุ่นจำลองฝึกทักษะการดูดเสมหะ : นวัตกรรมสื่อการสอนทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 2: 47-59.
8. สุมาลี ชัยเจริญ. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสอน. ใน : สุมาลี ชัยเจริญ. เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา, 2554: 31-48.
9. อรชลิดา พรหมปั้น. การพัฒนาหนังสือเสริมบทเรียนสามมิติด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2556; 15(1): 24.
10. วิวัฒน์ มีสุวรรณ. การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร 2554; 13(2): 119-127.