ด้านประสิทธิภาพ
ผลการศึกษาไม่พบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตหลังได้รับยา cisplatin รอบใด ๆ และรอบที่ 1 ความรุนแรงระดับ ≥ 3 สำหรับอุบัติการณ์เกิดพิษต่อไตของยา cisplatin หลังได้รับรอบใด ๆ ที่ความรุนแรงใด ๆ ในกลุ่มที่ได้รับสารน้ำแบบระยะสั้นเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารน้ำแบบต่อเนื่อง แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.26) และอุบัติการณ์เกิดพิษต่อไตของ cisplatin หลังได้รับยารอบที่ 1 ที่ความรุนแรงใด ๆ ในกลุ่มที่ได้รับสารน้ำแบบระยะสั้น เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารน้ำแบบต่อเนื่อง แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.57) (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตหลังได้รับยา cisplatin
|
กลุ่มที่ได้รับสารน้ำ |
P-value |
แบบระยะสั้น
(จำนวน 48 ราย) |
แบบต่อเนื่อง
(จำนวน 33 ราย) |
พิษต่อไตหลังได้รับยา cisplatin รอบใดๆ ความรุนแรงระดับ 1 2 |
|
|
|
ไม่เกิด |
33 |
17 |
0.12 |
เกิด |
15 |
16 |
|
พิษต่อไตหลังได้รับยา cisplatin รอบที่ 1 ความรุนแรงระดับ 1 2 |
|
|
0.95 |
ไม่เกิด |
42 |
29 |
|
เกิด |
6 |
4 |
|
วิจารณ์
อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญของยา cisplatin คือพิษต่อไต ปัจจุบันมีการแนะนำกลยุทธ์ต่างๆในการป้องกันพิษต่อไต อาทิ การให้สารน้ำก่อนและหลังบริหารยา cisplatin แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ทั้งปริมาณและระยะเวลาในการให้สารน้ำ มีการศึกษาจำนวนมากที่ศึกษาประสิทธิภาพของการให้สารน้ำด้วยวิธีการต่างๆ15
จากงานวิจัยนี้ พบว่าการให้สารน้ำแบบระยะสั้นและการให้สารน้ำแบบต่อเนื่องในการป้องกันการเกิด CIN มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อน ที่ได้รับยา cisplatin หรือสูตรผสมในแผนการรักษา ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้าของ Ouchi และคณะ9 ศึกษาประสิทธิภาพของการให้สารน้ำแบบระยะสั้น (0.9%NaCl 1,000 ml ร่วมกับ MgSO4 8 mEq บริหารใน 2 ชั่วโมงก่อนให้ยา cisplatin และ 0.9%NaCl 500 ml บริหารใน 1 ชั่วโมงหลังให้ยา cisplatin) เปรียบเทียบกับการให้สารน้ำแบบต่อเนื่อง (0.9%NaCl continuous over 24 hr) ในผู้ป่วยที่ได้รับยา cisplatin ≥ 60 mg/m2 พบว่าการป้องกันพิษต่อไตของการให้สารน้ำแบบระยะสั้นและการให้สารน้ำแบบต่อเนื่องไม่แตกต่างกัน การศึกษาของ Ashrafi F และคณะ8 ศึกษาประสิทธิภาพของการให้แบบระยะสั้น (0.9%NaCl 1,000 ml ร่วมกับ KCl 10 mEq ร่วมกับ MgSO4 1 gram บริหารใน 2 ชั่วโมง) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับยา cisplatin พบว่าการให้สารน้ำแบบระยะสั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิด CIN และการศึกษาของ Horinouchi และคณะ16 ศึกษาประสิทธิภาพของการให้สารน้ำแบบระยะสั้นในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดได้รับยา cisplatin ≥ 75 mg/m2 พบว่าการให้สารน้ำแบบระยะสั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิด CIN ได้เช่นกัน
ข้อจำกัดในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าที่คำนวณได้ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลมีจำนวนไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างได้เพียงพอและเป็นงานวิจัยที่ทำในโรงพยาบาลแห่งเดียว รูปแบบการศึกษาย้อนหลังทำให้ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาได้อย่างครบถ้วน แต่ทั้งนี้การศึกษาก่อนหน้าพบว่าการได้รับ potassium และ magnesium supplementation จะช่วยป้องกันพิษต่อไต17,18 ซึ่งข้อมูลทั่วไปของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษาในอนาคตควรพิจารณาสถานที่ทำการศึกษามากกว่า 1 แห่งเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามที่คำนวณได้ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดพิษต่อไตของกลุ่มตัวอย่าง
ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปถึงการป้องกันพิษต่อไตของยา cisplatin ในแง่ของระยะเวลาการบริหารสารน้ำดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้อาจเป็นแนวทางในการเลือกการป้องกันพิษต่อไตของผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยา cisplatin
สรุป
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการให้สารน้ำแบบระยะสั้นและการให้สารน้ำแบบต่อเนื่องในการป้องกันการเกิดพิษต่อไตของยา cisplatin มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับ cisplatin หรือสูตรผสมในแผนการรักษา
กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยมะเร็งวิทยา หน่วยเวชระเบียนและหน่วยสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเข้าเก็บข้อมูลและสืบค้นเวชระเบียนผู้ป่วย อีกทั้งขอขอบคุณคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำหรับทุนอุดหนุนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2562 ในการทำวิจัยนี้
เอกสารอ้างอิง
1. Aldossary SA. Review on pharmacology of cisplatin: clinical use, toxicity and mechanism of resistance of cisplatin. Biomed Pharmacol J 2019; 12(1): 715.
2. Pabla N, Dong Z. Cisplatin nephrotoxicity: Mechanisms and renoprotective strategies. Kidney Int 2008; 73(9): 994-1007.
3. Yamamoto Y, Watanabe K, Matsushita H, Tsukiyama I, Matsuura K, Wakatsuki A. Multivariate analysis of risk factors for cisplatin-induced nephrotoxicity in gynecological cancer. J Obstet Gynaecol Res 2017; 43(12): 1880-1886.
4. Hayati F, Hossainzadeh M, Shayanpour S, Abedi-Gheshlaghi Z, Beladi Mousavi SS. Prevention of cisplatin nephrotoxicity. J Nephropharmacol 2015; 5(1): 57-60.
5. Kobayashi R, Suzuki A, Matsuura K, Yamada N, Nakano M, Deguchi T, et al. Risk analysis for cisplatin-induced nephrotoxicity during first cycle of chemotherapy. Int J Clin Exp Med 2016; 9: 3635-3641.
6. Kidera Y, Kawakami H, Sakiyama T, Okamoto K, Tanaka K, Takeda M, et al. Risk factors for cisplatin-induced nephrotoxicity and potential of magnesium supplementation for renal protection. PloS One 2014; 9(7): e101902.
7. Crona DJ, Faso A, Nishijima TF, Mcgraw KA, Galsky MD, Milowsky MI. A systematic review of Strategies to prevent cisplatin-induced nephrotoxicity. Oncologist 2017; 22(5): 609-619.
8. Ashrafi F, Ebrahimi Z, Nematbakhsh M. Effect of short hydration on cisplatin-induced nephrotoxicity in cancer patients: A retrospective study. Int J Hematol Oncol Stem Cell Res 2017; 11(4): 262-267.
9. Ouchi A, Asano M, Aono K, Watanabe T, Kato T. Comparison of short and continuous hydration regimen in chemotherapy containing intermediate to high dose cisplatin. J Oncol 2014; 2014: 767652.
10. Willox JC, McAllister EJ, Sangster G, Kaye SB. Effects of magnesium supplementation in testicular cancer patients receiving cisplatin: a randomised trial. Br J Cancer. 1986; 54(1): 19-23.
11. Yamamoto Y, Tsukiyama I, Matsuura K, Watanabe K, Yabushita H, Wakatsuki A. Hydration with 15 meq magnesium is effective at reducing the risk for cisplatin-induced nephrotoxicity in patients receiving cisplatin (50 mg/m2) combination chemotherapy. Anticancer Res 2016; 36(4): 1873-1877.
12. Al-Sarraf M, Fletcher W, Oishi N, Pugh R, Hewlett JS, Balducci L, et al. Cisplatin hydration with and without mannitol diuresis in refractory disseminated malignant melanoma: A southwest oncology group study. Cancer Treat Rep 1982; 66: 3135.
13. Santoso JT, Lucci JA 3rd, Coleman RL, Schafer I, Hannigan EV. Saline, mannitol, and furosemide hydration in acute cisplatin nephrotoxicity: A randomized trial. Cancer Chemother Pharmacol 2003; 52(1): 13-18.
14. National cancer institute; Division of cancer treatment and diagnosis. [Internet]. Maryland. Common Terminology Criteria for Adverse Events (CTCAE) Version 5.0 November 27,2017; [cited Jan 19,2019]. Available from: https://ctep.cancer.gov/protocolDevelopment/ electronic_applications/docs/CTCAE_v5_ Quick_Reference_5x7.pdf.
15. Launay-Vacher V, Rey JB, Isnard-Bagnis C, Deray G, Daouphars M; European Society of Clinical Pharmacy Special Interest Group on Cancer Care. Prevention of cisplatin nephrotoxicity: state of the art and recommendations from the European Society of Clinical Pharmacy Special Interest Group on Cancer Care. Cancer Chemother Pharmacol 2008; 61(6): 903-909.
16. Horinouchi H, Kubota K, Itani H, Taniyama TK, Nakamichi S, Wakui H, et al. Short hydration in chemotherapy containing cisplatin (≥75 mg/m2) for patients with lung cancer: a prospective study. Jpn J Clin Oncol 2013; 43(11): 1105-1109.
17. Danwilai K, Lohitnavy O, Sakunrag I, Dilokthornsakul P. The effect of magnesium supplementation on cisplatin induced nephrotoxicity: A systematic review and meta-analysis. Pharm Sci Asia 2021; 48(1): 25-36.
18. Saito Y, Kobayashi M, Yamada T, Kasashi K, Honma R, Takeuchi S, et al. Premedication with intravenous magnesium has a protective effect against cisplatin-induced nephrotoxicity. Support Care Cancer 2017; 25(2): 481-487.