วิจารณ์
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเกิด Seroma ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัด MRM ร้อยละ 22.77 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาต่าง ๆ ก่อนหน้า ที่มีอุบัติการณ์ร้อยละ 3-85 นอกจากนี้ความรุนแรงของ Seroma ที่พบ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2 และได้รับการรักษาด้วยวิธีการทำ Simple aspiration เท่านั้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด Seroma จากการศึกษาก่อนหน้านี้ ได้แก่ Body weight, Extend of radical mastectomy และ Total drainage volume ระหว่าง 3 วัน แรกหลังการผ่าตัด ส่วนปัจจัยที่อาจมีผล ได้แก่ Skin incision (Diagonal vs Vertical), Hypertension, Drain holes (Multiple holes vs Multiple channels), No drainage, Obesity, Operative time (longer), Day of drain removal (5th vs 8th postoperative day), การใช้ Electrocautery ในการเลาะ skin flap (vs Cold scalpel)
ในการศึกษานี้ พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด Seroma อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับ Neoadjuvant chemotherapy, การได้รับ Preoperative antibiotic, After 48 hrs. total drainage volume, การได้รับ Postoperative antibiotic, จำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการตัด (dissected lymph nodes) และ After 48 hrs. total drainage volume (การศึกษานี้เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มที่ใส่สายระบายกลับบ้าน นอนรักษาในโรงพยาบาลหลังจากการผ่าตัดน้อยกว่า 72 ชั่วโมง จึงใช้ปริมาณ Total drainage volume ที่ 48 ชั่วโมงเป็นเกณฑ์ แต่ก็ยังพบว่าปริมาณของเหลวที่ออก หากหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง ออกมากกว่า 200 ml พบว่ามีโอกาสเกิดภาวะ seroma สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ) แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สอดคล้องกับการศึกษาก่อน ได้แก่ Obesity (ในการศึกษานี้ใช้ BMI), Hypertension, Operative time, Day of drain removal
เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรพหุ ในการศึกษานี้จะพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิด Seroma อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงปัจจัยเดียว คือ After 48 hrs. total drainage volume ซึ่งอาจใช้ในการคาดการณ์การเกิดภาวะ Seroma ในผู้ป่วยซึ่งปริมาณของเหลวที่ออกหากเกิน 200 ml ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับคำแนะนำถึงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว รวมทั้งแผนการรักษาเมื่อเกิดภาวะ Seroma ขึ้น โดยอาจพิจารณาใส่สายระบายนานขึ้น หรือหากได้รับการถอดสายระบายแล้วเริ่มเกิดภาวะ Seroma ให้ผู้ป่วยกลับมารับการรักษาก่อนที่ปริมาณ Seroma จะมีมาก ซึ่งอาจเริ่มการรักษาด้วยการทำ simple aspiration ตั้งแต่ภาวะ Seroma grade 1 เพื่อให้ภาวะดังกล่าวหายได้เร็วขึ้น
สรุป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ Seroma ในการศึกษานี้คือ ปริมาณของเหลวที่ออกหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง ที่มากกว่า 200 ml ดังนั้นควรนำไปเป็นข้อพิจารณาวางแผนดูแลรักษา และป้องกันการเกิด Seroma ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด MRM ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. Kumar S, Lal B, Misra MC. Post-mastectomy seroma: a new look into the aetiology of an old problem. J R Coll Surg Edinb 1995; 40: 292-294.
2. Srivastava V, Basu S, Shukla VK. Seroma formation after breast cancer surgery: What we have learned in the last two decades. J of Breast Cancer 2012; Available from http://dx.doi.org/10.4048/jbc.2012.15.4.373. [Accessed November 24, 2017].
3. Say C, Donegan W. A biostatistical evaluation of complications from mastectomy. Surg Gynecol Obstet 1974;138: 370-376.
4. Aitken DR, Minton JP. Complications associated with mastectomy. Surg Clin North Am 1983; 63(6): 1331-1352.
5. Pogson CJ, Adwani A, Ebbs SR. Seroma following breast cancer surgery. Eur J Surg Oncol 2003; 29(9): 711-717.
6. Murphey DR Jr. The use of atmospheric pressure in obliterating axillary dead space following radical mastectomy. South Surg 1947;13(6): 372-375.
7. Kuroi K, Shimosuma K, Taguchi T, Lmai H, Yamashiro H, Ohsumi S, et al. Evidence-Based Risk Factors for Seroma Formation in Breast Surgery. Jpn J Clin Oncol 2006; 36(4): 197-206.
8. Burak WE Jr, Goodman PS, Young DC, Farrar WB. Seroma formation following axillary dissection for breast cancer: Risk factors and lack of influence of bovine thrombin. J Surg Oncol 1997; 64: 27-31.