Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effectiveness of Multidisciplinary Care Development in Geriatric Hip Fractures

ประสิทธิผลของการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก

Thamrongsak Kongmun (ธำรงค์ศักดิ์ คงมั่น ) 1




หลักการและวัตถุประสงค์ :  ผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักมักเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการสูญเสียชีวิตค่อนข้างสูง หากไม่มีแนวทางการดูแลอย่างเหมาะสม การพัฒนาแนวทางการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลต่อการรักษาผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักเข้ารับการรักษาในแผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2562 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ กลุ่มละ 124 ราย จับคู่กลุ่มทั้งสองให้มีความคล้ายกันในด้าน อายุ เพศ การหักของกระดูกและวิธีการรักษา  นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Chi-Square 

ผลการศึกษา :  กลุ่มหลังพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีระยะเวลาการรอคอยผ่าตัดเฉลี่ย 5.9±2 วัน(กลุ่มก่อนการพัฒนา 11.1±4 วัน) นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 14.5±4 วัน (กลุ่มก่อนการพัฒนา 21.2±5 วัน) ติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 9.6 (กลุ่มก่อนการพัฒนาร้อยละ 17.7) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  

สรุป : การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักแบบสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ

 

Background and Objectives: Geriatic patients with hip fracture is one of the common causes of injury-related complication, morbidity and mortality if inappropriate care. The development of multidisciplinary care were effectiveness for geriatric hip fracture  more securely. 

Methods: The research and development study was conducted in participants who had geriatric hip fracture and admitted to the orthopaedic department of Saraburi Hospital from February 2017 to January     2019. A purposive sampling of 124 patient for retrospective and 124 patient for prospective group were recruited for the study. Both groups were evaluated for age, gender, type of fracture , and treatment. Descriptive statistics, Independent t-test and Chi-Square were used to analyze data.                                       

Results: The results showed the prospective group had time from admission to surgery was 5.9±2 days (retrospective group 11.1±4), the length of stay in hospital was 14.5±4 days (retrospective group 21.2±5 ) then followed up of 1 year mortality rate was measured to be 9.6% (retrospective group 17.7% ) less than the retrospective group with statistic significantly. (p<0.05)

Conclusions: Multidisciplinary care development were effectiveness for decreased  morbidity and mortality rate in geriatric hip fracture.  

 

บทนำ

               กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสุขภาพทางสาธารณสุขที่สำคัญ1 เพราะภยันตรายนี้มักจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลค่อนข้างสูงร่วมกับพบอัตราการเสียชีวิตมากในปีแรก2,3  ร้อยละ14-58 โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่มีร่างกายเสื่อมตามวัยและมีโรคร่วมหลายอย่าง    แนวโน้มการฟื้นตัวช้าทำให้ต้องรับการดูแลระยะยาว   และอาจไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติในชุมชนได้ 4,5  ในประเทศที่กำลังพัฒนามักจะประสบปัญหาในการเข้าถึงการบริการและการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้มีความเนิ่นช้าในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้  จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักและได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงจะมีผลการรักษาที่ดี   สามารถลดภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียชีวิตลงได้ 6ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีเหตุการณ์ให้ต้องมีการชะลอการผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะส่งผลให้นอนโรงพยาบาลนานขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น 7,8การผ่าตัดแบบเร่งด่วนของภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานการดูแลของแพทย์ส่วนใหญ่ทั่วโลก 9 อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงว่าอัตราการเสียชีวิตสามารถลดลงได้ในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักโดยการจัดการโรคร่วมที่ดีและให้รับการผ่าตัดได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม10 การผ่าตัดเร็วเป็นข้อจำกัดของแผนกออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลสระบุรี  ทางทีมแพทย์ผู้รักษาจึงมุ่งเน้นการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ดีให้รับการผ่าตัดในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพขึ้น และนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา  การศึกษาวิจัยนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและอัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหัก  เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยต่อไปในอนาคต

 

วิธีการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (research and development) เก็บข้อมูลแบบเปรียบเทียบย้อนหลังและติดตามไปข้างหน้า (retrospective prospective before and after intervention design) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลสระบุรี (EC01/6319)   จึงได้เก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิงที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักจากจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง(Fragility fracture หมายถึงแรงกระทำจากการล้มในระดับที่น้อยกว่าหรือเทียบเท่าความสูงขณะยืนของผู้ป่วย)  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2562(นำการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมาใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เป็นต้นมา) และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดในโรงพยาบาลสระบุรี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการหาขนาดตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 118 รายต่อกลุ่ม และเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างไม่ครบถ้วน  ผู้วิจัยจึงเพิ่มกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้นและรวบรวมได้ในการศึกษานี้เป็นกลุ่มละ 124 ราย ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 248 ราย   กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มก่อนการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพจำนวน 124 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ถึง เดือนมกราคม 2561 และกลุ่มหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพจำนวน 124 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ถึง เดือนมกราคม 2562 จับคู่กลุ่มทั้งสองกลุ่มให้ข้อมูล อายุ เพศ  ชนิดการหักของกระดูกและการผ่าตัดรักษาใกล้เคียงกัน  เกณฑ์การยกเว้นได้แก่ ผู้ป่วยที่บาดเจ็บกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายรุนแรง ได้รับอุบัติเหตุมานานเกินกว่าสองสัปดาห์  และจากโรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ เช่นโรคไตเรื้อรังหรือเนื้องอกกระดูก(โดยแยกจากโรคกระดูกพรุนปฐมภูมิด้วยการตรวจภาพทางรังสีและการเจาะเลือดหาระดับ serum creatinine, calcium, phosphate, albumin, alkaline phosphatase) ขั้นตอนการดำเนินการการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งทีมดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพมีแพทย์ออร์โธปิดิกส์เป็นหัวหน้าทีมและประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์หรือวิสัญญีพยาบาล, อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อหรืออายุรแพทย์ทั่วไป, แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกายภาพบำบัด โภชนากร พยาบาลชุมชน และพยาบาลออร์โธปิดิกส์เป็นผู้ประสานงาน

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดแนวทางและบทบาทการดูแลที่เหมือนกันทุกรายด้วย Guideline และ Standing orderตั้งแต่เข้ามาที่ห้องฉุกเฉินจนจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อให้ทีมปฏิบัติตามแนวทางเดียวกันเช่น การดูแลระงับปวด,การส่งภาพถ่ายรังสี, การให้สารน้ำ,การปรับแก้ผลเลือดที่ผิดปกติ

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดให้มีการปรึกษาแพทย์อายุรกรรมและวิสัญญีแพทย์ทุกรายที่ตึกผู้ป่วย เพื่อดูแลโรคร่วมกัน ประเมินสภาพผู้ป่วยและการเตรียมพร้อมผู้ป่วยให้ได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมตัวผ่าตัด เครื่องมือผ่าตัด และการเตรียมห้องผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหากมีกรณีฉุกเฉิน

ขั้นตอนที่ 5 กระบวนการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยเร็วที่สุดตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษาในโรงพยาบาลจากนักกายภาพบำบัด  ประเมินภาวะทุพโภชนาการจากนักโภชนการบำบัด

ขั้นตอนสุดท้าย การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อต้องกลับไปอยู่ในชุมชน การให้คำแนะนำกับญาติ การเตรียมสภาพแวดล้อมที่บ้าน และการติดตามต่อเนื่องทั้งจากพยาบาลออร์โธปิดิกส์และจากพยาบาลชุมชน

ทีมสหสาขาวิชาชีพจะให้การดูแลรักษาตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยนอนอยู่ในโรงพยาบาลและกลับสู่ชุมชน โดยมีพยาบาลออร์โธปิดิกส์ (liason nurse) เป็นผู้ประสานงานทั้งหมด   เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางประชากร ระยะเวลารอคอยการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียชีวิต  นำข้อมูลมาศึกษาประสิทธิผลของการดูแลเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา   Independent t-test  และ Chi-Square กําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05                                                                                                     

 

ผลการศึกษา

รวบรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยสูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายไม่รุนแรง  248 รายแบ่งเป็นกลุ่มก่อนการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขา 124 รายและกลุ่มหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขา 124 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ป่วยกระดูกหักแบบปฐมภูมิ และได้รับอุบัติเหตุมาไม่เกินสองสัปดาห์ ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจากการทดสอบทางสถิติไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 84 และ เพศชายร้อยละ 16   อายุเฉลี่ยทั้งสองกลุ่ม 77.3 ปีและ 76.8 ปี  อายุสูงสุดและต่ำสุดคือ 97 และ 51 ปีตามลำดับ มีผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 80 ปี  ร้อยละ 43-45    โรคเรื้อรังที่พบร่วมมากที่สุดคือ  ความดันโลหิตสูงร้อยละ 62-65 เบาหวานร้อยละ 26-28  และไขมันในเลือดผิดปกติร้อยละ 19-23  ชนิดการหักของกระดูกสะโพกส่วนใหญ่เป็นการหักบริเวณ Intertrochanteric ร้อยละ 53-56 และการหักบริเวณ Neck of femur ร้อยละ 43-47 วิธีผ่าตัดรักษาทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) (ตารางที่ 1) 

ตารางที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ 

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มก่อนการพัฒนา

จำนวน (ร้อยละ)

กลุ่มหลังการพัฒนา

จำนวน (ร้อยละ)

เพศ

 

 

ชาย

26 (16)

26(16)

หญิง

98(84)

98(84)

อายุ

 

 

อายุเฉลี่ย(ปี)( Mean± S.D.)

77.3±6

76.8±8

อายุ 50-65 ปี

24(19)

25(20)

อายุ 66-80 ปี

45(36)

46(37)

อายุ > 80 ปี

55(45)

53(43)

โรคร่วม*

 

 

ไม่มีโรคร่วม

25 (20)

28(23)

ความดันโลหิตสูง

81(65)

77(62)

เบาหวาน

35(28)

32(26)

ไขมัน

24(19)

29(23)

โรคโลหิตจาง

14(11)

16(13)

โรคหัวใจ

12 (9)

14(11)

โรคหลอดเลือดสมอง

9 (7)

11(8)

โรคอื่นๆ

13 (10)

12(10)

ชนิดของการหัก

 

 

Neck of femur

58(47)

54(43)

Intertrochanteric

66(53)

70(56)

วิธีการผ่าตัดรักษา

 

 

Multiple screws

7(5)

4(3)

Sliding hip screw

11(8)

10(8)

Locking plate &Screw

2(1)

2(1)

Proximal femoral nail

53(44)

58(47)

Unipolar hemiarthroplasty

15(13)

12(10)

Bipolar hemiarthroplasty

36(29)

38(31)

*ผู้ป่วยหนึ่งคนอาจมีโรคร่วมหลายโรคได้   

 

ระยะเวลาตั้งแต่อุบัติเหตุจนมาถึงโรงพยาบาลในกลุ่มก่อนที่มีการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาเฉลี่ย 3.2±2 วัน และหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาเฉลี่ย 2.8±2 วัน  ระยะเวลารอผ่าตัดของกลุ่มก่อนการพัฒนา 11.1±4 วันและกลุ่มหลังการพัฒนาเฉลี่ย 5.9±2 วัน(ร้อยละ 46 ภายใน 72 ชั่วโมง) และระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย ของกลุ่มก่อนพัฒนาเฉลี่ย 21.2±5 วัน และหลังการพัฒนาเฉลี่ย 14.5±4 วัน(ร้อยละ 58 <2สัปดาห์) เมื่อได้ทดสอบความแตกต่างทางสถิติแล้วมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) (ตารางที่ 2)

 

ตารางที่ 2 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่อุบัติเหตุจนรับการผ่าตัด และเวลาที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล

ระยะเวลา (วัน)

กลุ่มก่อนการพัฒนา

Mean ±S.D.

กลุ่มหลังการพัฒนา

Mean ±S.D.

ระยะเวลาตั้งแต่อุบัติเหตุจนถึง ร.พ.

3.2±2

2.8±2

ระยะเวลาตั้งแต่เข้ามา ร.พ.จนผ่าตัด

11.1±4

5.9±2*

ระยะเวลานอน ร.พ.

21.2±5

14.5±4*

*แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของทั้งสองกลุ่มแบบ local complication นั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) แต่แบบ systemic complication ในกลุ่มก่อนการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพจะพบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญเช่นเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ โลหิตจาง(ต้องให้เลือด) ปอดบวม การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และภาวะสับสนมากกว่ากลุ่มหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)   มีผู้ป่วยที่ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยปัญหาที่เกี่ยวกับโรคเดิมในกลุ่มก่อนการพัฒนาจำนวน 11 รายและสูญเสียชีวิตในระยะเวลา 1 ปีจำนวน 22 รายหรือร้อยละ 17 ซึ่งมากกว่ากลุ่มหลังการพัฒนาแล้ว ที่มานอนโรงพยาบาลซ้ำ 5 รายและเสียชีวิต 12 รายหรือร้อยละ 9.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  (ตารางที่ 3)

 

ตารางที่ 3 ภาวะแทรกซ้อนหลังติดตามผลการรักษาในระยะเวลา 1 ปี

ภาวะแทรกซ้อน*

กลุ่มก่อนการพัฒนา

จำนวน (ราย)

กลุ่มหลังการพัฒนา

จำนวน(ราย)

Local complication

 

 

แผลผ่าตัดติดเชื้อ

3

1

สกรูหลุด

1

1

ข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด

2

1

Systemic complication

 

 

ภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ

16

6**

ภาวะโลหิตจาง(ต้องให้เลือด)

13

5**

ปอดบวม

12

5**

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

12

4**

ภาวะสับสน

11

3**

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน

4

3

เส้นน้ำเหลืองอุดตัน

3

1

หลอดเลือดสมองตีบตัน

2

1

กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ

11

5**

เสียชีวิต

22

12**

*ผู้ป่วยหนึ่งคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นมากกว่า 1 อย่าง   **แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)

 

เมื่อติดตามผลการตรวจรักษาที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกในระยะเวลา 1 ปีพบว่าในกลุ่มหลังการพัฒนามีผู้ป่วย 97 ราย(ร้อยละ 78) สามารถเดินได้โดยอิสระ (69 รายเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุง และ 28 รายเดินได้ด้วยตนเอง) ไม่สามารถเดินได้ต้องนั่งรถเข็นตลอดเวลา 19 รายและเป็นผู้ป่วยติดเตียง 8 ราย ซึ่งผลลัพธ์ดีกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาที่พบมีผู้ป่วย 64 ราย (ร้อยละ 51) สามารถเดินได้โดยอิสระ(50 รายเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงและ 14 รายเดินได้ด้วยตนเอง) ไม่สามารถเดินได้ต้องนั่งรถเข็นตลอดเวลา 37 รายและเป็นผู้ป่วยติดเตียง 23 ราย และเมื่อนำข้อมูลทั้งสองกลุ่มมาทดสอบค่าทางสถิติแล้วพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) (ตารางที่ 4)                                                             

ตารางที่ 4  สถานะของผู้ป่วยเมื่อมาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก

Ambulatory status

กลุ่มก่อนการพัฒนา

จำนวน(ราย)(ร้อยละ)

กลุ่มหลังการพัฒนา

จำนวน(ราย)(ร้อยละ)

เดินได้โดยอิสระ

64(51)

97(78) *

ไม่สามารถเดินได้

37(30)

19(15) *

เป็นผู้ป่วยติดเตียง

23(19)

8(7) *

 *แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)

 

วิจารณ์

                  การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาของ Daniachi และคณะ11, Guerra และคณ12 และ Choi และคณะ13ที่รายงานว่าระยะเวลารอคอยในการผ่าตัดไม่ได้ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักเพิ่มขึ้น พวกเขาเน้นความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล comorbidities ในช่วงเวลาก่อนและหลังผ่าตัดและสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตอิสระที่บ้าน Lefaivre และคณะ16 ในการวิเคราะห์การถดถอยของพวกเขายังแสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดล่าช้าไม่มีผลต่อการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเมื่อผลของ Confounders อื่นถูกปรับ     ภายใน 24 ชั่วโมง     แสดงว่าอัตราการเสียชีวิตสามารถลดลงได้ในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักด้วยการจัดการโรคร่วมที่ดีและให้ผู้ป่วยรับการผ่าตัดในระยะเวลาที่เหมาะสม  ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าในกลุ่มที่ดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างลดลงเช่น เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และโลหิตจางที่ต้องให้เลือดนั้น เพราะเกิดจากการเตรียมผู้ป่วยที่ดี ได้รับการแก้ไขแต่เนิ่นๆและประเมินภาวะทุพโภชนาการจากนักโภชนาการก่อนและหลังผ่าตัดเสมอ  ส่วนภาวะปอดติดเชื้อและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะก็ลดลงเช่นกัน เป็นผลจากการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยเร็ว ให้มีอาการปวดน้อยที่สุดตั้งแต่วันแรกที่เข้ามานอนโรงพยาบาล จนหลังผ่าตัด จากทีมสหสาขาวิชาชีพ และส่งผลให้ภาวะสับสนในผู้ป่วยลดลงด้วย ทำให้ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลลดลงและเมื่อกลับสู่ชุมชนก็ได้รับการติดตามการดูแลรักษาจาก liason nurse และพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้อย่างอิสระถึงร้อยละ 78 จึงทำให้การกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำและเสียชีวิตน้อยลงกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยในต่างประเทศที่มีอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยใกล้เคียงกัน มีภาวะสุขภาพพื้นฐานที่ประเมินหรือ comorbidity ที่คล้ายคลีงกันเช่นมีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในหลอดเลือดผิดปกติ    ต่างกันที่การศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ภายใน 24 ชั่วโมง  (ตารางที่ 5)

 

ตารางที่ 5 เปรียบเทียบอัตราเสียชีวิตของวรรณกรรมอื่นๆ

การศึกษา

ชนิดงานวิจัย

อัตราการเสียชีวิต                       (ร้อยละ)

จำนวนประชากร

ระยะเวลาติดตาม

อายุเฉลี่ย                   (ปี)

LOS (วัน)

 Schnell, et al. (2010)3

Prospective database study

21.2

758

NA

84.8

4.3

Guerra, et.al. (2016)12

Retrospective study

23.6

199

NA

NA

NA

Choi, et al. (2014)13

Multicentric retrospective study

12.5

874

NA

77.1

24

Wang, et al. (2017)14

Historical cohort study

1.5

410 mo

1 mo

80.32

NA

Daniachi, et al. (2015)11

Prospective observational study

8

113

NA

79

13.5

Jain, et al. (2015)15

Prospective observational study

10.9

119

24 mo

70.7

10.4

This study  

Retrospective cohort study

9.6

124

12 mo

76.8

14.5

NA=Not available, mo=month, yr=year, LOS=length of stay

 

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตกับงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าการศึกษาครั้งนี้มีการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพนั้นมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 9.6 ซึ่งจะใกล้เคียงกับการรักษาแบบผ่าตัดเร็วในการศึกษาของต่างประเทศดังนั้นการนำแนวทางพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลที่ไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเร็วได้  น่าจะเป็นทางเลือกทางหนึ่งของการดูแลรักษาผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักให้เกิดความพิการและสูญเสียชีวิตน้อยที่สุด 

สรุป

           ผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักและไม่สามารถทำการผ่าตัดเร็วได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอันเนื่องจากความไม่พร้อมของสภาพผู้ป่วยและศักยภาพของสถานพยาบาล  อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการตลอดจนการสูญเสียชีวิตในปีแรกในอัตราค่อนข้างสูง  ในการศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักให้ได้รับการผ่าตัดในสภาพที่พร้อมและระยะเวลาที่เหมาะสม มีประสิทธิผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุเท่าเทียมกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเร็ว

กิตติกรรมประกาศ

                    ผู้วิจัยขอขอบคุณแผนกออร์โธปิดิกส์และทีมสหสาขาวิชาชีพทุกท่านที่ร่วมกันพัฒนาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหัก คณะกรรมการจริยธรรมและการวิจัยในมนุษย์ที่ช่วยตรวจสอบข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมถึงทุกท่านที่มีส่วนร่วมให้งานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

เอกสารอ้างอิง

1.    Kanis JA, Oden A, McCloskey EV. A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporos Int 2012; 23: 2239–2256.

2.    Colum Downey, Martin Kelly, John F Quinlan. Changing trends in the mortality rate at 1-year post hip fracture - a systematic review. World J Orthop 2019; 10(3): 166–175.

3.    Schnell S, Friedman SM, Mendelson DA, Bingham KW, Kates SL.The 1-year mortality of patients treated in a hip fracture program for elders. Geriatr Orthop Surg Rehabil 2010; 1(1): 6–14.

4.    Wolinsky FD, Fitzgerald JF, Stump TE. The effect of hip fracture on mortality, hospitalization, and functional status: a prospective study. Am J Public Health 1997; 87(3): 398–403.

5.    Johnell O, Kanis JA. An estimate of the worldwide prevalence, mortality and disability associated with hip fracture. Osteoporos Int 2004; 15(11): 897–902.

6.    Uzoigwe CE, Burnand HG, Cheesman CL, Aghedo DO, Faizi M, Middleton RG. Early and ultra-early surgery in hip fracture patients improves survival. Injury 2013; 44(6): 726–729.

7.    Kovel KJ,  Zuckerman JD. Hip fracture management. New York: Spinger-Verlag; 2000.

8.    Lewis CB,  Knortz. Orthopedic assessment of the geriatric. St. Louis: Mosby-Year Book; 1993.

9.    Thomas Klestil, Christoph Röder, Christoph Stotter. Impact of timing of surgery in elderly hip fracture patients: a systematic review and meta-analysis. Scientific Reports 2018; (8): 1-14.

10. Anna H K Riemen, Jame D Hutchison. The multidisciplinary management of hip fractures in older patients. Orthopaedics and Trauma 2016; 30(2): 117-122

11. Daniachi D, Netto Ados S, Ono NK, Guimaraes RP, Polesello GC, Honda EK. Epidemiology of fractures of the proximal third of the femur in elderly patients. Rev Bras Ortop 2015; 50(4): 371–377.

12. Guerra MT, Viana RD, Feil L, Feron ET, Maboni J, Vargas AS. One-year mortality of elderly patients with hip fracture surgically treated at a hospital in Southern Brazil. Rev Bras Ortop 2016; 52(1): 17–23.

13. Choi HJ, Kim E, Shin YJ, Choi BY, Kim YH, Lim TH. The timing of surgery and mortality in elderly hip fractures: a retrospective, multicenteric cohort study. Indian J Orthop 2014; 48(6): 599–604.

14. Wang X, Zhao BJ, Su Y. Can we predict postoperative complications in elderly Chinese patients with hip fractures using the surgical risk calculator? Clin Interv Aging 2017; 12: 1515–1520.

15. Jain D, Sidhu GS, Selhi HS. Early results of a geriatric hip fracture program in India for femoral neck fracture. Geriatr Orthop Surg Rehabil 2015; 6(1): 42–46.

16.  Lefaivre KA, Macadam SA, Davidson DJ, Gandhi R, Chan H, Broekhuyse HM. Length of stay, mortality, morbidity and delay to surgery in hip fractures. J Bone Joint Surg Br 2009; 91(7): 922–927

                                                                     

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0