วิจารณ์
แนวทางปฎิบัติใหม่ที่เพิ่มเกณฑ์การประเมิน P/F ratio โดยกำหนดให้ถอดท่อช่วยหายใจหลังผ่าตัดทันทีถ้าผู้ป่วยมีค่า P/F ratio > 300 มม.ปรอท พบว่าจากจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 47 ราย ต้องคาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัด 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.0 แต่ถ้าเราพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย supracostal ที่ตามแนวทางปฎิบัติเดิม ต้องคาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัดทุกราย คิดเป็นร้อยละ 1005 พบว่าจากจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 20 ราย มีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องคาท่อช่วยหายใจลดลงเหลือ 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท มี 2 รายที่วิสัญญีแพทย์ให้การดูแลพิจารณาว่ามีอาการทางคลินิกปกติดี จึงตัดสินใจถอดท่อช่วยหายใจทันทีในห้องผ่าตัดและส่งไป PACU ต่อมาพบว่าผู้ป่วย 1 ใน 2 รายดังกล่าว (มีค่า P/F ratio = 268 มม.ปรอท) มีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก จึงต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ (re-intubate) จากเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการให้การรักษาตามแนวทางปฎิบัติใหม่โดยเคร่งครัด น่าจะเกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากกว่า อย่างไรก็ดี ถ้านับรวมผู้ป่วยที่มีค่า P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท จำนวน 2 รายให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องคาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัด จำนวนผู้ป่วยจะเป็น 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 45 ส่วนกลุ่มผู้ป่วย infracostal ซึ่งตามแนวทางปฎิบัติเดิมให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ทั้งหมดถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน5 พบ 1 รายที่มีค่า P/F ratio > 300 มม.ปรอท ที่ต้องคาท่อช่วยหายใจเนื่องจากมีภาวะ sepsis ขณะที่กลุ่มที่มีค่า P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้โดยไม่เกิดอาการแทรกซ้อน แสดงให้เห็นว่า แนวทางปฎิบัติใหม่สามารถลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่ม supracostal ที่ต้องคาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัดได้ร้อยละ 55 โดยไม่พบอาการแทรกซ้อน
จากการศึกษาภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด พบว่า ผู้ป่วยกลุ่ม supracostal และต้องคาท่อช่วยหายใจ พบภาวะ hydrothorax จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 4.3) ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ He และคณะฯ7 ที่พบว่า การผ่าตัดแบบ supracostal มีประสิทธิภาพมากกว่า infracostal แต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า โดยเฉพาะภาวะ hydrothorax
การศึกษาครั้งนี้พบภาวะ sepsis จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.4 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Bansal และคณะฯ8 ที่รายงานว่าภาวะไข้และ sepsis พบได้บ่อยหลังการผ่าตัด PCNL โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ขนาดของนิ่วที่ใหญ่กว่า 25 มม. การเสียเลือดจำนวนมากระหว่างผ่าตัด และการผ่าตัดที่ใช้เวลานานกว่า 120 นาที
ผู้ป่วยหลังได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่ห้องพักฟื้นและพร้อมส่งกลับหอผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.6) สามารถกลับหอผู้ป่วยโดยหายใจเองด้วย room air มีส่วนน้อยที่ต้องได้รับ oxygen mask (ร้อยละ 19.2) และ oxygen T-piece (ร้อยละ 2.1) เนื่องจากมีค่า P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท โดยมีผู้ป่วยเพียง 1 รายที่ต้องใช้ ventilator เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะ hydrothorax มากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Sourial และคณะฯ9 ที่พบว่า หลังการผ่าตัด PCNL แบบ supracostal มีการให้ออกซิเจนหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางช่องอก เช่นการเกิดภาวะ hydrothorax ที่ไม่รุนแรง ส่วนรายที่รุนแรงจำเป็นต้องให้ ventilator
ไม่พบภาวะ postoperative respiratory complication ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยหลังจากถอดท่อช่วยหายใจในกลุ่ม supracostal ที่มี P/F ratio > 300 มม.ปรอท
สรุป
การใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการถอดท่อหายใจหลังผ่าตัดทันที โดยการพิจารณาตามค่า P/F ratio > 300 มม.ปรอท ร่วมกับอาการทางคลินิก ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด PCNL ที่ได้รับการแทง trocar ระดับ supracostal สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องคาท่อช่วยหายใจออกจากห้องผ่าตัดลงได้ร้อยละ 55 โดยไม่เกิดอันตรายต่อผู่ป่วย พบภาวะ hydrothorax 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.3
เอกสารอ้างอิง
1. Lee WJ, Smith AD, Cubelli V, Badlani GH, Lewin B, Vernace F, et al. Complications of percutaneous nephrolithotomy. AJR Am J Roentgenol 1987; 148: 177-180.
2. Mousavi-Bahar SH, Mehrabi S, Moslemi MK. The safety and efficacy of PCNL with supracostal approach in the treatment of renal stones. Int Urol Nephrol 2011; 43: 983-987.
3. วิลาวัลย สมดี, เทพกรสาธิตการมณี, กชกรพลาชีวะ, วินิตาจีรา ระรื่นศักดิ์, สุธันนีสิมะจารึก, วิริยาถิ่นชีลอง, และคณะ. การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือhemothoraxระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28: 178-183.
4. Kim HC, Kim E, Jeon YT, Hwang JW, Lim YJ, Seo JH, et al. Postanaesthetic emergence agitation in adult patients after general anaesthesia for urological surgery. J Int Med Res 2015; 43: 226-235.
5. วิลาวัลย สมดี, เทพกร สาธิตการมณี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, ขจิตร์ พาชีรัตน์, กชกร พลาชีวะ, สุธันนี สิมะจารึก, และคณะ. การประเมินแนวปฏิบัติสำหรับภาวะ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30: 333-338.
6. Bilan N, Dastranji A, Ghalehgolab Behbahani A. Comparison of the spo2/fio2 ratio and the pao2/fio2 ratio in patients with acute lung injury or acute respiratory distress syndrome. J Cardiovasc Thorac Res 2015; 7: 28-31.
7. He Z, Tang F, Lu Z, He Y, Wei G, Zhong F, et al. Comparison of Supracostal and Infracostal Access For Percutaneous Nephrolithotomy: A Systematic Review and Meta-Analysis. Urol J 2019; 16: 107-114.
8. Bansal SS, Pawar PW, Sawant AS, Tamhankar AS, Patil SR, Kasat GV. Predictive factors for fever and sepsis following percutaneous nephrolithotomy: A review of 580 patients. Urol Ann 2017; 9: 230-233.
9. Sourial MW, Francois N, Box GN, Knudsen BE. Supracostal access tubeless percutaneous nephrolithotomy: minimizing complications. World J Urol 2019; 37: 1429-1433.