วิธีการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในประชากร คือผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มารับบริการที่คลินิกล้างไต ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 160 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องทุกรายที่มารับบริการที่คลินิกล้างไต และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษา รายละเอียดดังรายงานก่อนหน้า6 (เกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับบริการที่คลินิกล้างไตที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และยินยอมเข้าร่วมการวิจัยด้วยความสมัครใจ ส่วนเกณฑ์การคัดออก ได้แก่ ผู้ที่เริ่มทำการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องได้ไม่เกิน 1 เดือน ผู้ที่มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ที่มี Advanced stage of disease ผู้ป่วยที่ไม่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ เช่น มีความบกพร่องทางภาษาหรือทางการพูด) โดยการศึกษานี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 010/M2561
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ใช้แบบสอบถามงานวิจัยซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน โดยแบบสอบถามส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และส่วนที่ 2 การประเมินความร่วมมือในการใช้ยา มีรายละเอียดดังรายงานก่อนหน้า6 สำหรับส่วนที่ 3 เป็นการประเมินภาวะซึมเศร้า โดยใช้ Thai version of the Beck depression inventory7 ที่ผ่านการปรับปรุงโดย Satra8 และมีการนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย มีค่าความสอดคล้องภายในโดยวิธี Cronbachs alpha 0.93 ความเที่ยงตรง 0.72 ความไว 0.83 และความจำเพาะ 0.84 แบบประเมินนี้ใช้สอบถามอาการที่มีในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งหมด 21 ข้อ แต่ละข้อมีคะแนน 0-3 คะแนน คะแนนรวมทั้งสิ้น 63 คะแนน แปลผลโดย ถ้าคะแนนรวม 0-9 คะแนน หมายถึง ไม่มีภาวะซึมเศร้าหรือมีน้อยมาก คะแนนรวม 10-18 คะแนน หมายถึง มีภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงปานกลาง คะแนนรวม 19-29 คะแนน หมายถึง มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และคะแนนรวม 30-63 คะแนน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงมาก โดยการศึกษานี้จะวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าโดยจำแนกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ผู้ที่มีคะแนนภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับอ่อนจนถึงปานกลาง ระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และระดับรุนแรงมาก และ 2) กลุ่มที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ผู้ที่มีคะแนนภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับไม่มีภาวะซึมเศร้าหรือมีน้อยมาก
สถิติที่ใช้ในการศึกษา
วิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS version 24 ทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วย Kolmogorov-Smirnov test โดยข้อมูลทั่วไป ความชุกของภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการใช้ยา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยา ใช้สถิติ Chi-square หรือ Fishers exact test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
ผลการศึกษา
มีผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 115 ราย รายละเอียดข้อมูลทั่วไป ดังรายงานก่อนหน้า6 พบผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 46 ราย (ร้อยละ 40.00) โดยส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงปานกลางจำนวน 32 ราย (ร้อยละ 27.83) และมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงมากจำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.87) เมื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยา พบความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำร้อยละ 41.74 ร้อยละ 41.74 และร้อยละ 16.52 ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะข้อมูล |
จำนวนคน (ร้อยละ) |
ภาวะซึมเศร้า |
|
ไม่มีภาวะซึมเศร้า |
69 (60.00) |
มีภาวะซึมเศร้า |
46 (40.00) |
- ระดับอ่อนจนถึงปานกลาง |
32 (27.83) |
- ระดับปานกลางจนถึงรุนแรง |
13 (11.30) |
- ระดับรุนแรงมาก |
1 (0.87) |
ความร่วมมือในการใช้ยา |
|
ระดับสูง |
48 (41.74) |
ระดับปานกลาง |
48 (41.74) |
ระดับต่ำ |
19 (16.52) |
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวนปีที่ล้างไต และระดับอัลบูมินในเลือด (p = 0.013, 0.024, 0.020 และ 0.024 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบว่ามีผลต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะข้อมูล |
มีภาวะซึมเศร้า |
ไม่มีภาวะซึมเศร้า |
p-value$ |
จำนวน (ร้อยละ) |
จำนวน (ร้อยละ) |
เพศ |
|
|
|
หญิง |
22 (19.1) |
38 (33.0) |
|
ชาย |
24 (20.9) |
31 (27.0) |
0.446 |
อายุ (ปี) |
|
|
|
- 20-39 |
6 (5.2) |
6 (5.2) |
|
- 40-59 |
17 (14.8) |
29 (25.2) |
0.712 |
- ≥60 |
23 (20.0) |
34 (29.6) |
|
ดัชนีมวลกาย (kg/m2) |
|
|
|
<18.5 |
2 (1.7) |
4 (3.5) |
|
18.5-22.9 |
25 (21.7) |
26 (22.6) |
|
23-24.9 |
7 (6.1) |
15 (13.0) |
0.492 |
25-29.9 |
9 (7.8) |
20 (17.4) |
|
>30 |
3 (2.6) |
4 (3.5) |
|
สภานภาพสมรส |
|
|
|
แต่งงาน |
32 (27.8) |
43 (37.4) |
|
โสด |
8 (7.0) |
11 (9.6) |
0.726 |
หย่าร้าง/หม้าย |
6 (5.2) |
15 (13.1) |
|
ระดับการศึกษา |
|
|
|
ประถมศึกษา |
34 (29.6) |
37 (32.2) |
|
มัธยมศึกษาตอนต้น |
9 (7.8) |
15 (13) |
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. |
2 (1.7) |
8 (7) |
0.013* |
ปริญญาตรี |
0 |
9 (7.8) |
|
สูงกว่าปริญญาตรี |
1 (0.9) |
0 |
|
อาชีพ |
|
|
|
เกษตรกรรม |
7 (6.1) |
4 (3.5) |
|
ค้าขาย |
3 (2.6) |
6 (5.2) |
|
รับจ้าง |
2 (1.7) |
3 (2.6) |
0.234 |
ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย |
31 (27.0) |
42 (36.5) |
|
ไม่ประกอบอาชีพ |
3 (2.6) |
10 (8.7) |
|
อื่นๆ |
0 |
4 (3.5) |
|
รายได้ครอบครัว (บาท/เดือน) |
|
|
|
<10,001 |
27 (23.5) |
34 (29.6) |
|
10,001-30,000 |
12 (10.4) |
22 (19.1) |
0.693 |
30,001-50,000 |
1 (0.9) |
4 (3.5) |
|
>50,000 |
6 (5.2) |
9 (7.8) |
|
โรคประจำตัว/โรคร่วม |
|
|
|
โรคเบาหวาน |
29 (25.2) |
31 (27.0) |
0.122 |
โรคความดันโลหิตสูง |
43 (37.4) |
57 (49.6) |
0.555 |
โรคหัวใจและหลอดเลือด |
19 (16.5) |
23 (20.0) |
0.384 |
จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (ปี) |
|
|
|
1-5 |
36 (31.3) |
40 (34.8) |
0.024* |
>5 |
10 (8.7) |
29 (25.2) |
|
จำนวนปีที่ล้างไต (ปี) |
|
|
|
1-5 |
42 (36.5) |
51 (44.3) |
0.020* |
>5 |
4 (3.5) |
18 (15.7) |
|
จำนวนครั้งที่ล้างไต (ครั้ง/วัน) |
|
|
|
1 |
4 (3.5) |
2 (1.7) |
|
2 |
3 (2.6) |
6 (5.2) |
0.538 |
3 |
8 (7.0) |
15 (13.0) |
|
4 |
31 (27.0) |
46 (40.0) |
|
จำนวนชนิดยาที่รับประทาน (ชนิดต่อวัน) |
|
|
|
1-4 |
1 (0.9) |
3 (2.6) |
|
5-9 |
27 (23.5) |
39 (33.9) |
0.945 |
>10 |
18 (15.7) |
27 (23.5) |
|
จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน (เม็ดต่อวัน) |
|
|
|
1-10 |
4 (3.5) |
15 (13.0) |
|
11-20 |
27 (23.5) |
35 (30.4) |
0.182 |
>20 |
15 (13.0) |
19 (16.5) |
|
ฮีมาโตคริต (Hematocrit; Hct) (%) |
|
|
|
ต่ำกว่าปกติ (< 36) |
43 (37.4) |
64 (55.7) |
1.000 |
ปกติ (ชาย 42-52, หญิง 36-48) |
3 (2.6) |
5 (4.3) |
|
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin; Hb) (g/dL) |
|
|
|
ต่ำกว่าปกติ (< 12) |
40 (34.8) |
58 (50.4) |
0.110 |
ปกติ (ชาย 14-18, หญิง 12-16) |
6 (5.2) |
11 (9.6) |
|
ระดับโพแทสเซียมในเลือด (mEq/L) |
|
|
|
ต่ำกว่าปกติ (< 3.5) |
7 (6.1) |
20 (17.4) |
|
ปกติ (3.5-5) |
34 (29.6) |
41 (35.7) |
0.196 |
สูงกว่าปกติ (> 5) |
6 (5.2) |
7 (6.1) |
|
ระดับฟอสเฟตในเลือด (mg/dL) |
|
|
|
ต่ำกว่าปกติ (< 3) |
4 (3.5) |
7 (6.1) |
|
ปกติ (3-4.5) |
22 (19.1) |
36 (31.3) |
0.754 |
สูงกว่าปกติ (> 4.5) |
21 (18.3) |
25 (21.7) |
|
ระดับอัลบูมินในเลือด (g/dL) |
|
|
|
ปกติ (3.5-5.5) |
19 (16.5) |
15 (13.0) |
0.024* |
ต่ำกว่าปกติ (< 3.5) |
27 (23.5) |
54 (47.0) |
|
$ วิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ Chi-square test หรือ Fishers exact test
*แสดงระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.034) (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ความร่วมมือในการใช้ยา |
มีภาวะซึมเศร้า |
ไม่มีภาวะซึมเศร้า |
p-value$ |
จำนวน (ร้อยละ) |
จำนวน (ร้อยละ) |
ระดับสูง |
14 (12.17) |
34 (29.57) |
|
ระดับปานกลาง |
21 (18.26) |
27 (23.48) |
0.034* |
ระดับต่ำ |
11 (9.56) |
8 (6.96) |
|
$ วิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ Chi-square test
*แสดงระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
วิจารณ์
จากการศึกษาพบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) -Vารางที่ 5ะห์ร้อยละ 40.00 สอดคล้องกับการศึกษาแบบ Meta-analysis9 ซึ่งรวบรวมผลการศึกษาแบบ observational study จำนวน 170 การศึกษา โดยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องทำการล้างไตแบบ peritoneal dialysis และ hemodialysis จำนวนทั้งสิ้น 43,650 ราย พบความชุกของภาวะซึมเศร้าอยู่ที่ร้อยละ 39.30 ส่วนการศึกษาของ Noree และคณะ10 ซึ่งทำในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 81 ราย (peritoneal dialysis 41 ราย และ hemodialysis 40 ราย) พบความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 34.10 ในขณะที่การศึกษาของ Thokaew11 ซึ่งทำในผู้ป่วย hemodialysis จำนวน 117 ราย พบความชุกของภาวะซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 69.20 ความแตกต่างของความชุกที่พบอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น วิธีการล้างไต โดยการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือกด้วยเครื่องไตเทียมหรือ hemodialysis นั้นมีข้อจำกัดเรื่องความไม่สะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยๆ และมีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมทั้งไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านเส้นเลือด และผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการดึงน้ำในปริมาณมากได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าได้12 นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนบุคคล โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวนปีที่ล้างไต และระดับอัลบูมินในเลือด สอดคล้องกับการศึกษาของ Thokaew11 ที่พบว่า ระดับการศึกษา และระดับอัลบูมินในเลือดมีผลต่อภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีจำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง หรือจำนวนปีที่ล้างไตอยู่ในช่วง 1-5 ปีแรก มีแนวโน้มจะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมานานมากกว่า 5 ปี หรือมีจำนวนปีที่ล้างไตมานานมากกว่า 5 ปี ซึ่งผลนี้สอดคล้องกับทฤษฎีภาวะสูญเสียของ Kubler-Ross13-14 โดยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ ก่อนที่ผู้ป่วยจะผ่านไปถึงช่วงของการยอมรับจะต้องใช้เวลา ดังนั้นในช่วงแรก ผู้ป่วยจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มาก อาจกล่าวได้ว่าผู้ป่วยล้างไต ในกรณีที่ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยสามารถเกิดความหดหู่ วิตกกังวล ท้อแท้ และสูญเสียความมั่นใจ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัดคือไม่ได้ทำการประเมินภาวะซึมเศร้าก่อนเข้ารับการล้างไต ทำให้ไม่สามารถประเมินสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซึมเศร้าได้
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยา พบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้ามีความร่วมมือในการใช้ยาที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Kutner และคณะ15 ที่พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามีผลทำให้ความร่วมมือในการใช้ยาลดลง และสอดคล้องกับทฤษฎี16-17 ที่กล่าวว่าภาวะซึมเศร้านั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่อหน่ายหดหู่ ท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง หรือเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และทำให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาแย่ลง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตและเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลแห่งเดียว ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรูปแบบเชิงทดลองและมีกลุ่มควบคุม และขยายขอบเขตไปหลายโรงพยาบาลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
สรุป
ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับบริการที่คลินิกล้างไต ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 40.00 โดยปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวนปีที่ล้างไต และระดับอัลบูมินในเลือด และพบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มล้างไตในช่วง 5 ปีแรกจึงมีความสำคัญ เพื่อคัดกรองและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า และลดผลกระทบต่อความร่วมมือในการใช้ยา
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน รวมทั้งผู้ป่วยล้างไตทุกราย ที่คลินิกล้างไต ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ความเอื้อเฟื้อ สนับสนุน และอนุเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ทำให้งานวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. The Thai Medical Womens Association Under The Royal Patronage of Her Majesty The Queen. Chronic Kidney Disease: CKD [Internet]. 2015 [cited 13 Dec 2017]. Available from: http://1.www.tmwa.or.th/new/lib/file/2017 0111202558.pdf.
2. Bautovich A, Katz I, Smith M, Loo C, Harvey S. Depression and chronic kidney disease: a review for clinicians. Aust N Z J Psychiatry 2014; 48(6): 530-541.
3. Ministry of Public Health. Prevention and improvement of depression. World health day 2017: depression
..lets talk [Internet]. 2017 [cited 13 Dec 2017]. Available from: http://www.thaidepression.com/.
4. Shirazian S, Grant C, Aina O, Mattana J, Khorassani F, Ricardo A. depression in chronic kidney disease and end-stage renal disease: similarities and differences in diagnosis, epidemiology, and management. Kidney Int 2017; 2(1): 94-107.
5. Rosenthal D, Jindal R, Brown C, Kimmel P. Depression is an important contributor to low medication adherence in hemodialyzed patients and transplant recipients. Kidney Int 2019: 75(11): 1223-1229.
6. Puanglai K, Jarupaktranonth C, Changsirikulchai S, Janma J, Chuemongkon W. Stress and medication adherence among continuous ambulatory peritoneal dialysis patients. Srinagarind Med J 2020; 35(3) : 287-295.
7. Beck AT, Ward CH, Mendelson M. An inventory for measuring depression. Arch Gen Psychiatry 1961; 4(6): 561-571.
8. Satra K. Depression in old age: the study of the old age from Home of the Age Banthamapagon, Nakornratchasima province. Bangkok: Mahidol University; 1988.
9. Palmer S, Vecchio M, Craig JC, Tonelli M, Johnson DW, Nicolucci A, et al. Prevalence of depression in chronic kidney disease: systematic review and meta-analysis of observational studies. Kidney Int 2013; 84: 179191.
10. Noree S, Bowolthumpiti A, Nochaiwong S, Koyratkoson K, Chaisai C, Panyathong S, et al. Prevalence and the correlation between depression and health related quality of life among hemodialysis and peritoneal dialysis patients. Songkla Med J 2017; 35(4): 301-312.
11. Thokaew S. Depression in hemodialysis patients in Nakhon Pathom province [Master of Science in Mental Health]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2003.
12. Sinnakirouchenan R, Holley JL. Peritoneal dialysis versus hemodialysis: risks, benefits, and access issues. Adv Chronic Kidney Dis 2011; 18(6): 428-432.
13. Kübler-Ross E, Kessler D. On grief and grieving: finding the meaning of grief through the five stages of loss. New York: Scribner; 2014.
14. Sumneangsanor T. Coping with loss and grief. Thai Sci Technol J 2013; 21(7): 658-6067.
15. Kutner NG, Zhang R, McClellan WM, Cole SA. Psychosocial predictors of non-compliance in haemodialysis and peritoneal dialysis patients. Nephrol Dial Transpl 2002; 17: 93-99.
16. Kasantikul D. Major affective disorders. In: Tantiphlachiva K, editor. Textbook of psychiatry, The Psychiatric Association of Thailand. Bangkok: Thammasat Printing house; 1993: 384-410.
17. Ruangtrakul S. Psychiatric manual. Bangkok: Aksornsampan press; 1990: 92-99.