เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัว โรคประจำตัว/โรคร่วม จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวนปีที่ล้างไต จำนวนครั้งที่ล้างไต จำนวนชนิดยาที่รับประทาน จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฮีมาโตคริต (hematocrit; Hct) ฮีโมโกลบิน (hemoglobin; Hb) ระดับโพแทสเซียมในเลือด ระดับฟอสฟอรัสในเลือด และระดับอัลบูมินในเลือด
2) แบบสอบถามความเครียด ใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข1 ซึ่งผ่านการทดสอบในคนไทยแล้ว มีค่า internal consistency โดยวิธี Cronbachalpha เท่ากับ 0.86 มีความไวร้อยละ 70.4 และมีค่าความจำเพาะร้อยละ 64.6 แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งสิ้น 20 ข้อ โดยเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับอาการ พฤติกรรม และความรู้สึกในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหาการนอนหลับ ความรู้สึกไม่มีความสุข ความรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย หรือกลัวผิดพลาด เป็นต้น แต่ละข้อคำถามมีคะแนน 0-3 คะแนน คะแนนรวมทั้งสิ้น 60 คะแนน แปลผลโดย ถ้าคะแนนรวม 0-5 คะแนน หมายถึงมีความเครียดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คะแนนรวม 6-17 คะแนน หมายถึงมีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ คะแนนรวม 18-25 คะแนน หมายถึงมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย คะแนนรวม 26-29 คะแนน หมายถึงมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง และคะแนนรวม 30-60 คะแนน หมายถึงมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก
โดยการศึกษานี้ จะวิเคราะห์ระดับความเครียด โดยจำแนกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีความเครียด ได้แก่ ผู้ที่มีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ และระดับเกณฑ์ปกติ และ 2) กลุ่มที่มีความเครียด ได้แก่ ผู้ที่มีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ระดับสูงกว่าปกติปานกลาง และระดับสูงกว่าปกติมาก
3) แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา ใช้แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาในคนไทย Medication taking behavior tool in Thai patient (MTB-Thai)8 ซึ่งผ่านการทดสอบในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคเรื้อรังจำนวน 1,156 คน พบว่ามีค่า internal consistency โดยวิธี Cronbachs alpha เท่ากับ 0.76 และมีค่าความไวร้อยละ 76 แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น การลืมใช้ยา การใช้ยาไม่ตรงเวลาหรือไม่ตรงมื้อ การหยุดใช้ยาเอง การเพิ่ม/ลดปริมาณยาเอง เป็นต้น แต่ละข้อมีคะแนน 1-4 คะแนน คะแนนรวมทั้งสิ้น 24 คะแนน ถ้าคะแนนรวม <21 คะแนน หมายถึงมีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำคะแนนรวม 22-23 คะแนน หมายถึงมีความร่วมมือในการใช้ยาระดับปานกลาง และคะแนนรวม 24 คะแนน หมายถึงมีความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูง
สถิติที่ใช้ในการศึกษา
ทดสอบค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for windows version 24 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ความชุกของความเครียด และความร่วมมือในการใช้ยา แสดงผลเป็นจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (stardard deviation; SD) ทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วย Kolmogorov-Smirnov test วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยา ใช้สถิติ Chi-square หรือ Fishers exact test โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา
มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 115 ราย อายุเฉลี่ย 59.75 ± 15.15 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.17) อายุ ≥60 ปี (ร้อยละ 49.57) มีดัชนีมวลกาย อยู่ในช่วง 18.5-22.9 (ร้อยละ 44.35) มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 61.74) และไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 63.48) จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรังเฉลี่ยคือ 6.69± 6.49 ปี จำนวนปีที่ล้างไตทางช่องท้องเฉลี่ย 4.25 ± 5.48 ปี จำนวนครั้งที่ล้างไตเฉลี่ย 3.48 ± 0.84 ครั้งต่อวัน จำนวนชนิดยาที่รับประทานเฉลี่ย 9.17 ± 3.25 ชนิดต่อวัน และจำนวนเม็ดยาที่รับประทานเฉลี่ย 17.84 ± 8.48 เม็ดต่อวัน (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมการวิจัย (n=115)
ข้อมูลพื้นฐาน |
จำนวน (ร้อยละ) |
เพศ |
|
- หญิง |
60 (52.17) |
- ชาย |
55 (47.83) |
อายุ (ปี) |
|
- 20-39 |
12 (10.43) |
- 40-59 |
46 (40.00) |
- ≥60 |
57 (49.57) |
- อายุเฉลี่ย ± SD (ปี) |
59.75 ± 15.15 |
ดัชนีมวลกาย (kg/m2) |
|
- <18.5 |
6 (5.22) |
- 18.5-22.9 |
51 (44.35) |
- 23-24.9 |
22 (19.13) |
- 25-29.9 |
29 (25.22) |
- >30 |
7 (6.09) |
- เฉลี่ย ± SD (kg/m2) |
23.35 ± 3.94 |
สภานภาพสมรส |
|
- แต่งงาน |
75 (65.22) |
- โสด |
19 (16.52) |
- หย่าร้าง/หม้าย |
21 (18.26) |
ระดับการศึกษา |
|
- ประถมศึกษา |
71 (61.74) |
- มัธยมศึกษาตอนต้น |
24 (20.87) |
- มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. |
10 (8.70) |
- ปริญญาตรี |
9 (7.83) |
- สูงกว่าปริญญาตรี |
1 (0.87) |
อาชีพ |
|
- เกษตรกร |
11 (9.57) |
- ค้าขาย |
9 (7.83) |
- รับจ้าง |
5 (4.35) |
- ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย |
73 (63.48) |
- ไม่ประกอบอาชีพ |
13 (11.30) |
- อื่นๆ* |
4 (3.48) |
รายได้ครอบครัว (บาท/เดือน) |
|
- <10,001 |
61 (53.04) |
- 10,001-30,000 |
34 (29.57) |
- 30,001-50,000 |
5 (4.35) |
- >50,000 |
15 (13.04) |
- เฉลี่ย ± SD |
25,550.43 ± 50,024.99 |
โรคประจำตัว/โรคร่วม |
|
- โรคเบาหวาน |
60 (52.17) |
- โรคความดันโลหิตสูง |
100 (86.96) |
- โรคหัวใจและหลอดเลือด |
42 (36.52) |
- อื่น ๆ** |
6 (5.22) |
จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (ปี) |
|
- 1-5 |
76 (66.09) |
- >5 |
39 (33.91) |
- เฉลี่ย ± SD (ปี) |
6.69± 6.49 |
จำนวนปีที่ล้างไต (ปี) |
|
- 1-5 |
93 (80.87) |
- >5 |
22 (19.13) |
เฉลี่ย ± SD (ปี) |
4.25 ± 5.48 |
จำนวนครั้งที่ล้างไต (ครั้ง/วัน) |
|
- 1 |
6 (5.22) |
- 2 |
9 (7.83) |
- 3 |
23 (20.00) |
- 4 |
77 (66.96) |
- เฉลี่ย ± SD |
3.48 ± 0.84 |
จำนวนชนิดยาที่รับประทาน (ชนิด/วัน) |
|
- 1-4 |
4 (3.48) |
- 5-9 |
66 (57.39) |
- >10 |
45 (39.13) |
เฉลี่ย ± SD |
9.17 ± 3.25 |
จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน (เม็ด/วัน) |
|
- 1-10 |
19 (16.52) |
- 11-20 |
62 (53.91) |
- >20 |
34 (29.57) |
เฉลี่ย ± SD |
17.84 ± 8.48 |
ฮีมาโตคริต (Hematocrit; Hct) (%) |
|
- ต่ำกว่าปกติ |
107 (93.04) |
- ปกติ (ชาย 42-52, หญิง 36-48) |
8 (6.96) |
เฉลี่ย ± SD (%) |
29.68 ± 5.91 |
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin; Hb) (g/dL) |
|
- ต่ำกว่าปกติ |
98 (85.22) |
- ปกติ (ชาย 14-18, หญิง 12-16) |
17 (14.78) |
- เฉลี่ย ± SD |
10.07 ± 2.04 |
ระดับโพแทสเซียมในเลือด (mEq/L) |
|
- ต่ำกว่าปกติ (<3.5) |
27 (23.48) |
- ปกติ (3.5-5) |
75 (65.22) |
- สูงกว่าปกติ (>5) |
13 (11.30) |
- เฉลี่ย ± SD |
4.29 ± 3.53 |
ระดับฟอสเฟตในเลือด (mg/dL) |
|
- ต่ำกว่าปกติ (<3) |
11 (9.57) |
- ปกติ (3-4.5) |
58 (50.43) |
- สูงกว่าปกติ (>4.5) |
46 (40.00) |
- เฉลี่ย ± SD |
4.47 ± 1.72 |
ระดับอัลบูมินในเลือด (g/dL) |
|
- ต่ำกว่าปกติ (<3.5) |
81 (70.43) |
- ปกติ (3.5-5.5) |
34 (29.57) |
- เฉลี่ย ± SD (g/dL) |
3.15 ± 0.76 |
* อาชีพอื่นๆ ได้แก่ รัฐวิสาหกิจ
** โรคประจำตัว/โรคร่วมอื่นๆ ได้แก่ เก๊าท์ ไทรอยด์
ความชุกของความเครียดในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.04) ไม่มีความเครียด และมี 8 รายที่มีความเครียด โดยมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย 6 ราย (ร้อยละ 5.22) และระดับสูงกว่าปกติมาก 2 ราย (ร้อยละ 1.74) (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ความชุกของความเครียดในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (n=115)
ความเครียด |
จำนวน (ร้อยละ) |
ไม่มีความเครียด |
107 (93.04) |
- ระดับต่ำกว่าปกติ (0-5 คะแนน) |
7 (6.09) |
- ระดับปกติ (6-17 คะแนน) |
100 (86.95) |
มีความเครียด |
8 (6.96) |
- ระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย (18-25 คะแนน) |
6 (5.22) |
- ระดับสูงกว่าปกติปานกลาง (26-29 คะแนน) |
- |
- ระดับสูงกว่าปกติมาก (30-60 คะแนน) |
2 (1.74) |
ความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการประเมินความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้แบบประเมิน MTB-Thai พบว่าผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูง 48 ราย (ร้อยละ 41.74) ระดับปานกลาง 48 ราย (ร้อยละ 41.74) และระดับต่ำ 19 ราย (ร้อยละ 16.52) (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 ความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (n=115)
ความร่วมมือในการใช้ยา |
จำนวนคน (ร้อยละ) |
ระดับสูง (24 คะแนน) |
48 (41.74) |
ระดับปานกลาง (22-23 คะแนน) |
48 (41.74) |
ระดับต่ำ (< 21 คะแนน) |
19 (16.52) |
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด ไม่พบว่ามีปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลพื้นฐาน |
มีความเครียด
จำนวน (ร้อยละ) |
ไม่มีความเครียดจำนวน (ร้อยละ) |
p-value$ |
เพศ |
|
|
|
- หญิง |
6 (5.22) |
54 (46.96) |
0.275 |
- ชาย |
2 (1.74) |
53 (46.09) |
|
อายุ (ปี) |
|
|
|
- 20-39 |
1 (0.87) |
11 (9.57) |
|
- 40-59 |
3 (2.61) |
43 (37.39) |
1.000 |
- ≥60 |
4 (3.48) |
53 (46.09) |
|
ดัชนีมวลกาย (kg/m2) |
|
|
|
- <18.5 |
1 (0.87) |
5 (4.35) |
|
- 18.5-22.9 |
5 (4.35) |
46 (40.00) |
0.573 |
- 23-24.9 |
1 (0.87) |
21 (18.26) |
|
- 25-29.9 |
1 (0.87) |
28 (24.35) |
|
- >30 |
0 (0.00) |
7 (6.09) |
|
สถานภาพสมรส |
|
|
|
- แต่งงาน |
9 (7.83) |
69 (60.00) |
|
- โสด |
1 (0.87) |
18 (15.65) |
1.000 |
- หย่าร้าง/หม้าย |
1 (0.87) |
20 (17.39) |
|
ระดับการศึกษา |
|
|
|
- ประถมศึกษา |
7 (6.09) |
64 (55.65) |
|
- มัธยมศึกษาตอนต้น |
1 (0.87) |
23 (20.00) |
|
- มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. |
0 (0.00) |
10 (8.70) |
0.119 |
- ปริญญาตรี |
0 (0.00) |
9 (7.83) |
|
- สูงกว่าปริญญาตรี |
0 (0.00) |
1 (0.87) |
|
อาชีพ |
|
|
|
- เกษตรกร |
1 (0.87) |
10 (8.70) |
|
- ค้าขาย |
0 (0.00) |
9 (7.83) |
|
- รับจ้าง |
1 (0.87) |
12 (10.43) |
1.000 |
- ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย |
0 (0.00) |
5 (4.35) |
|
- ไม่ประกอบอาชีพ |
6 (5.22) |
67 (58.26) |
|
- อื่นๆ |
0 (0.00) |
4 (3.48) |
|
รายได้ครอบครัว (บาท/เดือน) |
|
|
|
- <10001 |
4 (3.48) |
57 (49.57) |
|
- 10001-30000 |
2 (1.74) |
32 (27.83) |
0.693 |
- 30001-50000 |
0 (0.00) |
5 (4.35) |
|
- >50000 |
2 (1.74) |
13 (11.30) |
|
โรคประจำตัว/โรคร่วม |
|
|
|
- โรคเบาหวาน |
6 (5.22) |
55 (47.83) |
0.279 |
- โรคความดันโลหิตสูง |
8 (6.96) |
92 (80.00) |
0.594 |
- โรคหัวใจและหลอดเลือด |
3 (2.61) |
39 (33.91) |
1.000 |
จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (ปี) |
|
|
|
- 1-5 |
5 (4.35) |
71 (61.74) |
|
- >5 |
3 (2.61) |
36 (31.30) |
1.000 |
จำนวนปีที่ล้างไต (ปี) |
|
|
|
- 1-5 |
7 (6.09) |
86 (74.78) |
|
- >5 |
1 (0.87) |
21 (18.26) |
1.000 |
จำนวนครั้งที่ล้างไต (ครั้ง/วัน) |
|
|
|
- 1 |
1 (0.87) |
5 (4.35) |
|
- 2 |
2 (1.74) |
7 (6.09) |
|
- 3 |
5 (4.35) |
23 (20.00) |
0.538 |
- 4 |
8 (6.96) |
72 (62.61) |
|
จำนวนชนิดยาที่รับประทาน (ชนิด/วัน) |
|
|
|
- 1-4 |
0 (0.00) |
4 (3.48) |
|
- 5-9 |
4 (3.48) |
62 (53.91) |
0.786 |
- >10 |
4 (3.48) |
41 (35.65) |
|
จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน (เม็ด/วัน) |
|
|
|
- 1-10 |
0 (0.00) |
19 (16.52) |
|
- 11-20 |
4 (3.48) |
58 (50.43) |
0.309 |
- >20 |
4 (3.48) |
30 (26.09) |
|
ฮีมาโตคริต (Hematocrit; Hct) (%) |
|
|
|
- ปกติ (ชาย 42-52, หญิง 36-48) |
5 (4.35) |
70 (60.87) |
|
- ต่ำกว่าปกติ |
3 (2.61) |
37 (32.17) |
0.449 |
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin; Hb) (g/dL) |
|
|
|
- ปกติ (ชาย 14-18, หญิง 12-16) |
1 (0.87) |
7 (6.09) |
|
- ต่ำกว่าปกติ |
7 (6.09) |
100 (86.95) |
1.000 |
ระดับโพแทสเซียมในเลือด (mEq/L) |
|
|
|
- ต่ำกว่าปกติ |
2 (1.74) |
12 (10.43) |
|
- ปกติ (3.5-5) |
5 (4.35) |
70 (60.87) |
1.000 |
- สูงกว่าปกติ |
1 (0.87) |
25 (21.74) |
|
ระดับฟอสเฟตในเลือด (mg/dL) |
|
|
|
- ต่ำกว่าปกติ |
1 (0.87) |
10 (8.70) |
|
- ปกติ (3-4.5) |
4 (3.48) |
54 (46.96) |
1.000 |
- สูงกว่าปกติ |
3 (2.61) |
43 (37.39) |
|
ระดับอัลบูมินในเลือด (g/dL) |
|
|
|
- ปกติ (3.5-5.5) |
4 (3.48) |
30 (26.09) |
|
- ต่ำกว่าปกติ |
4 (3.48) |
77 (66.96) |
0.233 |
$ วิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ Chi-square test หรือ Fishers exact test
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา ได้แก่ อายุ และการเป็นโรคความดันโลหิตสูง (p= 0.022 และ 0.024 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลพื้นฐาน |
ความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ
จำนวน (ร้อยละ) |
ความร่วมมือในการใช้ยาระดับปานกลาง
จำนวน (ร้อยละ) |
ความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูง
จำนวน (ร้อยละ) |
p-value$ |
เพศ |
|
|
|
|
- หญิง |
10 (8.70) |
27 (23.48) |
23 (20.00) |
|
- ชาย |
9 (7.83) |
21 (18.26) |
25 (21.74) |
0.750 |
อายุ (ปี) |
|
|
|
|
- 20-39 |
1 (0.87) |
10 (8.70) |
1 (0.87) |
|
- 40-59 |
8 (6.96) |
20 (17.39) |
18 (15.65) |
0.022* |
- ≥60 |
10 (8.70) |
18 (15.65) |
29 (25.22) |
|
ดัชนีมวลกาย (kg/m2) |
|
|
|
|
- <18.5 |
1 (0.87) |
3 (2.61) |
2 (1.74) |
|
- 18.5-22.9 |
11 (9.57) |
22 (19.13) |
18 (15.65) |
|
- 23-24.9 |
4 (3.48) |
9 (7.83) |
9 (7.83) |
0.275 |
- 25-29.9 |
2 (1.74) |
9 (7.83) |
18 (15.65) |
|
- >30 |
1 (0.87) |
5 (4.35) |
1 (0.87) |
|
สภานภาพสมรส |
|
|
|
|
- แต่งงาน |
11 (9.57) |
30 (26.09) |
34 (29.57) |
|
- โสด |
4 (3.48) |
9 (7.83) |
6 (5.22) |
0.726 |
- หย่าร้าง/หม้าย |
4 (3.48) |
9 (7.83) |
8 (6.96) |
|
ระดับการศึกษา |
|
|
|
|
- ประถมศึกษา |
13 (11.30) |
27 (23.48) |
31 (26.96) |
|
- มัธยมศึกษาตอนต้น |
2 (1.74) |
15 (13.04) |
7 (6.09) |
|
- มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. |
2 (1.74) |
2 (1.74) |
6 (5.22) |
0.321 |
- ปริญญาตรี |
2 (1.74) |
4 (3.48) |
3 (2.61) |
|
- สูงกว่าปริญญาตรี |
0 (0.00) |
0 (0.00) |
1 (0.87) |
|
อาชีพ |
|
|
|
|
- เกษตรกร |
2 (1.74) |
3 (2.61) |
6 (5.22) |
|
- ค้าขาย |
1 (0.87) |
3 (2.61) |
5 (4.35) |
|
- รับจ้าง |
3 (2.61) |
8 (6.96) |
2 (1.74) |
0.643 |
- ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย |
1 (0.87) |
2 (1.74) |
2 (1.74) |
|
- ไม่ประกอบอาชีพ |
12 (10.43) |
29 (25.22) |
32 (27.83) |
|
- อื่นๆ |
0 (0.00) |
3 (2.61) |
1 (0.87) |
|
รายได้ครอบครัว (บาท/เดือน) |
|
|
|
|
- <10,001 |
11 (9.57) |
17 (23.48) |
31 (26.96) |
|
- 10,001-30,000 |
5 (4.35) |
10 (8.70) |
14 (12.17) |
0.861 |
- 30,001-50,000 |
1 (0.87) |
3 (2.61) |
5 (4.35) |
|
>50,000 |
2 (1.74) |
6 (5.22) |
10 (8.70) |
|
โรคประจำตัว/โรคร่วม |
|
|
|
|
โรคเบาหวาน |
12 (10.43) |
20 (17.39) |
29 (25.22) |
0.126 |
- โรคความดันโลหิตสูง |
17 (14.78) |
37 (32.17) |
46 (40.00) |
0.024* |
- โรคหัวใจและหลอดเลือด |
7 (6.09) |
17 (14.78) |
18 (15.65) |
1.000 |
จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (ปี) |
|
|
|
|
- 1-5 |
12 (10.43) |
31 (26.96) |
36 (31.30) |
0.898 |
- >5 |
7 (6.09) |
17 (14.78) |
12 (10.43) |
|
จำนวนปีที่ล้างไต (ปี) |
|
|
|
|
- 1-5 |
15 (13.04) |
38 (33.04) |
40 (34.78) |
0.857 |
- >5 |
4 (3.48) |
10 (8.70) |
8 (6.96) |
|
จำนวนครั้งที่ล้างไต (ครั้ง/วัน) |
|
|
|
|
- 1 |
0 (0.00) |
4 (3.48) |
2 (1.74) |
|
- 2 |
3 (2.61) |
1 (0.87) |
5 (4.35) |
0.362 |
- 3 |
4 (3.48) |
11 (9.57) |
8 (6.96) |
|
- 4 |
12 (10.43) |
32 (27.83) |
33 (28.69) |
|
จำนวนชนิดยาที่รับประทาน (ชนิด/วัน) |
|
|
|
|
- 1-4 |
1 (0.87) |
0 (0.00) |
3 (2.61) |
|
- 5-9 |
11 (9.57) |
28 (24.35) |
27 (23.48) |
0.497 |
- >10 |
7 (6.09) |
20 (17.39) |
18 (15.65) |
|
จำนวนเม็ดยาที่รับประทาน (เม็ด/วัน) |
|
|
|
|
- 1-10 |
1 (0.87) |
9 (7.83) |
9 (7.83) |
|
- 11-20 |
12 (10.43) |
25 (21.74) |
25 (21.74) |
0.723 |
- >20 |
6 (5.22) |
14 (12.17) |
14 (12.17) |
|
ฮีมาโตคริต (Hematocrit; Hct) (%) |
|
|
|
|
- ปกติ (ชาย 42-52, หญิง 36-48) |
14 (12.17) |
32 (27.83) |
29 (25.22) |
0.609 |
- ต่ำกว่าปกติ |
5 (4.35) |
16 (13.91) |
19 (16.52) |
|
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin; Hb) (g/dL) |
|
|
|
|
- ปกติ (ชาย 14-18, หญิง 12-16) |
0 (0.00) |
5 (4.35) |
3 (2.61) |
0.382 |
- ต่ำกว่าปกติ |
19 (16.52) |
43 (37.39) |
45 (39.13) |
|
ระดับโพแทสเซียมในเลือด (mEq/L) |
|
|
|
|
- ต่ำกว่าปกติ |
3 (2.61) |
7 (6.09) |
17 (14.78) |
|
- ปกติ (3.5-5) |
14 (12.17) |
32 (27.83) |
29 (25.22) |
0.382 |
- สูงกว่าปกติ |
2 (1.74) |
6 (5.22) |
5 (4.35) |
|
ระดับฟอสเฟตในเลือด (mg/dL) |
|
|
|
|
- ต่ำกว่าปกติ |
0 (0.00) |
6 (5.22) |
5 (4.35) |
|
- ปกติ (3-4.5) |
7 (6.09) |
24 (20.87) |
27 (23.48) |
0.192 |
- สูงกว่าปกติ |
12 (10.43) |
18 (15.65) |
16 (13.91) |
|
ระดับอัลบูมินในเลือด (g/dL) |
|
|
|
|
- ปกติ (3.5-5.5) |
6 (5.22) |
11 (9.57) |
17 (14.78) |
0.415 |
- ต่ำกว่าปกติ |
13 (11.30) |
37 (32.17) |
31 (26.96) |
|
$ วิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ Chi-square test หรือ Fishers exact test
*แสดงระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
จากการวิเคราะห์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 1.000) (ตารางที่ 6)